iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

Nares ไทย กาฬสินธุ์ เขาว่าไดโนเสาร์เมืองไทยไปแสดงหนัง จูแรสสิกพาร์ค กันเกือบหมด

 

รูปที่ 1 ประเภทของระบบการแบ่งลำดับชั้นหิน ที่สำคัญในบทความนี้คือ การแบ่งตามอายุกาล (cronostratigraphic unit) ตามธรณีกาลวิทยา (geochronologic unit) และตามลำดับขั้นหิน (stratigraphic unit)

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ประเทศไทยของเราแบ่งและเรียกชื่อหินตะกอนออกตามอายุกาล (chronostratigraphic unit) (รูปที่1) เช่น หินที่ตกสะสมตัวในมหายุคมีโซโซอิก จะเรียกว่า หินชุดโคราช (Khorat Series) จนในปีพ.ศ. 2507 Ward and Bunnag, 1964 จึงได้เผยแพร่รายงานการจัดตั้งกลุ่มหินโคราช (Khorat Group) ขึ้นตามหน่วยลำดับชั้นหิน (stratigraphic unit) ตามข้อมูลการสำรวจธรณีวิทยาพื้นผิวที่พวกเขาเดินสำรวจในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และแบ่งย่อยออกเป็น 7 หมวดหิน(รูปที่2) เนื่องจากซากบรรพชีวินที่พบระหว่างการสำรวจมีไม่มากนัก ทำให้การระบุอายุและสภาพการสะสมตัวยังไม่ถูกต้องมากนัก เช่น อ้างว่าพบเขี้ยวของ plesiosaur และ ichthyosaur ที่เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ในทะเลในหมวดหินภูกระดึง กับพระวิหารและเสาขัว ตามลำดับ (รูปที่ 2) แต่ปัจจุบันมีรายงานที่ถูกต้องกว่ายืนยันว่า ฟอสซิลดังกล่าวนั้น เป็นเขี้ยวของจระเข้ และไดโนเสาร์ ตามลำดับ ต่อมา หมวดหินบนสุดที่พวกเขาไม่ได้ตั้งชื่อ (Unnamed Formation) ได้ถูกตั้งให้เป็น หมวดหินมหาสารคาม และหมวดหินภูทอก ยิ่งไปกว่านั้น ในปัจจุบันนี้ นักธรณีหลายฝ่ายได้ถอดทั้งสองหมวดหินบนสุดนี้ออกจากกลุ่มหินโคราชไปจ้อย

ต่อมาได้มีการเสนออายุใหม่ของกลุ่มหินโคราช และแต่ละหมวดหินภายใน (รูปที่ 3) คอลัมน์ทางซ้ายมือเป็นของนักธรณีวิทยาไทย ที่กำหนดให้กลุ่มหินโคราชมีอายุตั้งแต่ยุคไทรแอสสิกตอนปลาย จนถึงเกือบสิ้นยุคครีเตเชียส แต่ในปีพ.ศ. 2539 Racey et. al, 1996 ได้เข้ามาศึกษาเรณูวิทยา(palynologic study)ในกลุ่มหินโคราชและรายงานว่า ไม่พบซากตัวอย่างที่มีอายุจูแรสสิกเลย (คอลัมน์ขวาของรูปที่ 3 ) จึงระบุว่ากลุ่มหินโคราชล้วนแต่ตกสะสมตัวในยุคครีเตเชียส แต่มีความเป็นไปได้ว่า ส่วนล่างสุดของหมวดหินภูกระดึง อาจกำเนิดขึ้นแล้วตั้งแต่ยุคจูแรสสิกตอนปลาย

ในปี 2554 Booth and Sattayarak, 2011 จึงได้แสดงลำดับชั้นหินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกำหนดให้ตอนบนของหมวดหินน้ำพอง กับหมวดหินภูกระดึงเกือบทั้งหมดมีอายุเป็นตอนปลายของยุคจูแรสสิก (รูปที่ 4) แต่นักธรณีฯ ไทยส่วนใหญ่ก็บ่นกะปอดกะแปด ไม่พอใจที่ไม่มีใครเขียนรายงานว่าพบไดโนเสาร์ยุคจูแรสสิกเลย ผู้สันทัดกรณีท่านหนึ่งถึงกับประกาศสมมุติฐานว่า ไดโนเสาร์ยุคจูแรสสิกในไทยได้เดินทางไปคัดตัว และ/หรือแสดงภาพยนตร์เรื่อง จูแรสสิก พาร์ค กันหมด ความเชื่อนี้สร้างความเศร้าเสียใจให้แก่ข้าพเจ้าเป็นอันมาก

แต่ มีข่าวดีมาบอก !!! มีการค้นพบแหล่งของซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ซึ่งก็รวมทั้งไดโนเสาร์ด้วยที่เขาลูกล็กๆ ที่ชื่อ ภูน้อย ในเขตอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ว่ากันว่า นี่คือแหล่งฟอสซิลของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียอาคเณย์ และเมื่อปีที่แล้ว Manitkoon et.al, 2023 ก็ได้ตีพิมพ์บทความยืนยันว่า เขากับคณะ ได้ค้นพบฟอสซิลจำนวนมากมายมากกว่า 5,000 ชิ้น (รูปที่ 5) ที่พิสูจน์ได้ว่า สัตว์เหล่านี้อาศัยอยู่บนพื้นดินอีสานโบราณ ในยุคจูแรสสิกตอนปลาย มีผู้หวังดีแต่ไม่ประสงค์ออกนามท่านหนึ่งบอกข้าพเจ้าว่า การวัดอายุที่แน่นอนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์กำลังดำเนินการอยู่ อีกไม่นานเราจะทราบอายุของฟอสซิลเหล่านี้ว่า เก่าแก่กี่ล้านปีเลยแหละครับ ท่านสารวัตร

ข้าพเจ้าเล่าเรื่องนี้ให้ป้าเมี้ยนแม่ค้ากล้วยแขกปากซอยลาดปลาดุก แกพูดว่า “ดีแล้วค่ะที่บอก อิฉัน จะได้เลิกเก็บตังค์ ที่ตั้งใจจะบินไปฟ้องสตีเฟ่น สปีลเบิร์ก ที่ฮอลลีวูด ในข้อหาลักพาตัวไดโนเสาร์ยุคจูแรสสิกไทย”

รูปที่ 2 ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินโคราช ตามการนำเสนอของ Ward and Bunnag, 1964

รูปที่ 3 ผังแสดงการเปรียบอายุของหมวดหินต่างๆ ของกลุ่มหินโคราช จากความเชื่อของนักธรณีวิทยาไทยในอดีต กับผลงานการศึกษาเรณูวิทยาของ Raecy et. al, 1996 ตามที่แสดงในคอลัมน์ด้านขวา

รูปที่ 4 ลำดับชั้นหินของหินตะกอนที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ของ Booth and Sattayarak, 2011

รูปที่ 5 ภาพประกอบในรายงานของ Manitkoon et. al, 2023 เกี่ยวกับการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ อายุจูแรสสิกตอนปลายอย่างมากมายที่ภูน้อย อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

.

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward