Bromo Tengger Semeru National park
หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติยอดนิยมของประเทศอินโดนีเซียก็คือ Bromo Tengger Semeru National park ในเขตชวาตะวันออก East Java แต่ข้าพเจ้ามองว่า Highlights ของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติใน Bromo Tengger Semeru National park อยู่ที่สองบริเวณได้แก่ จุดชมวิวภูเขาไฟโบรโม่ Gunung Bromo และจุดชมวิวภูเขาพานันจากัน Mount Pananjakan ที่เป็นจุดชมวิวภูเขาไฟโบรโม่ Bromo และ ภูเขาไฟบาต็อก Batok ที่อยู่ติดกัน โดยมีภูเขาไฟ Semeru ยืนตระหง่านอยู่ด้านหลัง และอีกบริเวณได้แก่ น้ำตก Madakaripura waterfall
Highlight แรกที่อยากจะกล่าวถึงคือ กลุ่มภูเขาไฟเก่าขนาดใหญ่มากอันหนึ่งที่มีความซับซ้อน และ ระเบิดปะทุซ้อนกันไปมาหลายครั้ง จนในปัจจุบันจะเห็นเค้าโครงของแอ่งภูเขาไฟที่เป็นเกือบรูปวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-16 กิโลเมตร โดยที่ขอบๆของวงกลมนี้เป็นสันเขาสูงรอบด้าน ก็คือ Pananjakan mountain และภายในมีลักษณะเป็นแอ่งยุบตัว ทั้งหมดนี้โดยรวมๆเรียกว่า Tengger caldera แต่บางความเห็นอ้างว่าส่วนที่ยุบลงไปเป็นแอ่งนี้ น่าจะเกิดจากการที่หินที่อยู่ด้านในถูกดันระเบิดออกจากพลังงานใต้โลก ทิ้งร่องรอยเป็นหลุมยุบขนาดใหญ่ เช่นเดียวกันกับภูเขาไฟกรากาตั้วอันโด่งดัง ที่ระเบิดออกจนภูเขาไฟทั้งลูกหายไป และต่อมา มีการปะทุของภูเขาไปลูกย่อยๆอีกหลายครั้ง ในบริเวณเดิม แต่ที่มีขนาดใหญ่สุดได้แก่ ภูเขาไฟบาต็อค Batok ที่ดับสนิทไปนานแล้ว และภูเขาไฟ Bromo ซึ่งยังนับว่ายัง Active อยู่ และตั้งอยู่แทบจะชิดกันกับ Batok
จากการที่ไปเดินขึ้นปากปล่อง Bromo Crater ก็เห็นได้ทันทีว่า สิ่งที่พ่นออกมานั้นส่วนใหญ่เป็น ผงหินเนื้อแก้ว ก็เป็น Pyroclastic แบบหนึ่ง บางทีก็มีขนาดใหญ่ เป็นหินเนื้อแก้วที่มีรูพรุนมาก มีน้ำหนักเบา สามารถลอยน้ำได้ และเท่าที่เห็นจะไม่มีร่องรอยของลาวา Lava flow
ส่วนที่ราบในแอ่งนั้น ปัจจุบันถูกทับถมไปด้วยทราย ที่เกิดจากการชะล้างเอา Pyroclastic ที่ถูกพ่นออกมาจาก Bromo Crater แล้วถูกพัดพาเคลื่อนย้ายไปมาโดยลม หรือ Eolian transportation เกิดการสะสมตัวแบบเนินทะเลทราย หรือ Sand dunes ดังจะเห็นเป็น Sand dunes สวยๆในบางบริเวณ
ในวันที่ข้าพเจ้าไปเยือน Bromo นั้น อยู่ดีๆ ในขณะที่ข้าพเจ้าและเพื่อน กำลังสนุกในการชมบรรยากาศ นั้น Gunung Semeru หรือภูเขาไฟพระสุเมรุ ที่สูงที่สุดในประเทศ ก็เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมฝุ่นพวยพุ่งขึ้นไปในอากาศ ตื่นเต้นดีครับ แต่เนื่องจากอยู่ไกล ก็เลยไม่ได้ยินเสียงหรือกลิ่นอะไรครับ
ส่วนอีก Highlight หนึ่งคือ บริเวณน้ำตก Madakaripura waterfall และ ที่ซึ่งสูงเป็นอันดับสองของประเทศอินโดนีเซีย โดยมีความสูงประมาณสองร้อยเมตรที่ไหลตกลงมาเกือบตั้งฉากกับพื้น แล้วยังมีน้ำตกเล็กๆ อีกหลายสายที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน ที่ไหลตกลงมาจากหน้าผาและชะง่อนหิน ให้บรรยากาศเหมือนยามฝนตก สวยแปลกตาทีเดียว เชียวน่ะขอรับ
ตั้งแต่ก่อนเสนอ UNESCO ให้เป็น Geopark นั้น รัฐบาลท้องถิ่น และรัฐบาลกลางได้ร่วมกันส่งเสริม และอนุรักษ์ทรัพยากรอันมีค่า ด้วยการให้ความรู้ชุมชน และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยวในเชิงธรรมชาติแห่งนี้
นอกจากโรงแรมและร้านอาหารแล้ว ชุมชนยังมีส่วนร่วมในการจัดให้มีบริการรถ 4WD ราวๆ 1200 คัน และ มอเตอร์ไซด์นับพันคัน รับส่งนักท่องเที่ยวในจุดที่มีความเหมาะสม และยังส่งเสริมให้ชาวบ้านนำม้าที่เลี้ยงไว้นับร้อยๆตัว มาให้บริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย
ตัวอย่างของการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนรอบๆ Geopark และ ป่าไม้ภูเขาน้ำตกและธรรมชาติอื่นๆ ใน Bromo Tengger Semeru Geopark จึงเป็นตัวอย่างที่น่าชื่นชม และอาจนำมาดัดแปลงใช้ในประเทศไทยได้ดีน่ะขอรับ
ภายในปล่องภูเขาไฟ Bromo นั้น ทั้งลึก ทั้งชัน ตกลงไปก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว ภายในปล่องเองลึกมากมองไม่เห็นก้นบ่อ ยังมีควัน ก๊าซ และไอน้ำพุ่งออกมาและส่งเสียงดังคำรามตลอด วันดีคืนดีก็พ่นเอาก๊าซไข่เน่า H2S ออกมาด้วย
สีขาวๆด้านซ้ายมือของภาพ เป็น Pyroclastic ที่ไหลเอ่อท่วมมาจาก Bromo Crater จนบางส่วนไหลไปทับเชิงเขาของภูเขาไฟ Batok ทั้งนี้ จากรูปร่างสันฐานของภูเขาไฟทั้งสองลูก ที่ดูแตกต่างกัน โดย Batok มีรูปร่างเป็นกรวยคว่ำ มีปากปล่องแคบ จึงสันนิษฐานว่าลาวาคงไหลท่วมออกมาเฉยๆ ซึ่งต่างจาก Bromo ที่มีการระเบิดเอาผงเศษหิน ก๊าซ ไอร้อน ดันทะลักออกมาอย่างรุนแรง
เชิงทางลาดของ Bromo ได้นางแบบกิตติมศักดิ์ มาเป็นสเกลเปรียบเทียบให้ดู
มองจากตีนเขา ขึ้นไปส่วนบนของ Bromo Crater จะเห็นว่า Pyroclastic ที่อาจจะหนักเนื่องจากมีส่วนประกอบของไอน้ำ และก๊าซ ไม่มาก ก็จะปลิวไปไม่ไกล จะตกตะกอนแถวๆ ปากปล่อง แต่เนื่องจากยังไม่ทันแข็งตัว พอมีฝนตก ก็จะเกิดการชะล้างออกมาเป็นร่องน้ำเล็กๆ
สวมวิญญานคาวบอย ควบม้าบน SEA of Sands
เขาด้านหลัง ที่มีปากปล่องกว้างๆ นั่นคือ Bromo Crater
ลงมาเดินดู Sand dunes กับทรายที่ประกอบเป็น Sand dunes สรุปก็คือ เป็นผงเนื้อแก้ว เศษหินเม็ดเล็กๆ ที่มีประกายวิบวับ ที่พ่นออกมาจาก Bromo Crater นั่นแหล่ะครับ แต่เม็ดทรายพวกนี้ ถูกทำให้เคลื่อนที่โดยแรงลม