Waiyapot ep059 Rossing Namibia Uranium deposits แหล่งแร่ ยูเรเนียมของเหมือง Rossing Namibia
Fig. 59.1 Satellite Image showing Mine’s location
แหล่งแร่ที่เกิดในบริเวณ anorogenic intra craton intrusive อีกแบบหนึ่งคือ แหล่งแร่ยูเรเนียมของเหมือง Rossing Namibia ถือว่าเป็นเหมืองแร่ยูเรเนียมขนาดใหญ่ที่สุดเหมืองหนึ่งของโลก ปริมาณสำรองแร่คำนวณจากผลการสำรวจปัจจุบันมีแร่เริ่มต้นอยู่ถึง 200,000 ตัน U3O8 โดยมีความสมบูรณ์ระหว่าง 350-480 ppm. ซึ่งน่าจะมีปริมาณมากกว่านี้แต่ยังไม่มีผลการสำรวจ
แหล่งแร่เกิดในหิน alaskite ที่เป็นหิน quartz-orthoclase leuco-granite with or without biotite and trace fluorite ที่แทรกตัวแบบ migmatitic ในหิน gneiss ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ mafic gneiss, pyroxene-hornblende and pyroxene-garnet gneisses หิน schists และ marble
สายแร่ มีตั้งแต่เป็น veins, veinlets, aplitic, pegmatitic, และเป็นจุดประในหิน alaskite มีทั้งแบบ concordant และ discordant กับหินบริเวณ หินบริเวณมีการวางตัวในแนว ENE-WSW ที่เป็นแนวแกนของ dome รูปวงรี migmatisation และ early deformation เกิดในยุค NeoProterozoic เมื่อ 665 Ma, และ การประทุเข้ามาของหิน alaskite และสายแร่ยูเรเนียม เกิดขึ้นเมื่อ 470 Ma.
แร่ที่พบส่วนใหญ่เป็นแร่ uraninite (U3O8) และส่วนน้อยเป็นแร่ betafite (Ca,U) 2(Ti,Nb,Ta) 2O 6(OH) ขนาด 0.05-0.1 mm. เกิดร่วมกับแร่ Monazite, zircon, apatite และ sphene มีแร่ pyrite, chalcopyrite, bornite, molybdenite, arsenopyrite, Fe oxides และ fluorite เกิดร่วมในบางส่วน
.
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------------------------------
บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย-------------------------------------------------
Fig 59.2 Mine’s view looking East
Fig. 59.3 Rossing Mine resource and reserves