Waiyapot EP. 069 Pre Cambrian-Rocks of Thailand
Fig. 69.1 Distribution of Pre Cambrian-Rocks of Northern Thailand.
EP. 69 Pre Cambrian-Rocks of Thailand หินยุคพรีแคมเบรียน ของประเทศไทย
หินที่จัดว่าเป็นหินหินยุคพรีแคมเบรียน ของประเทศไทย ประกอบด้วยหินแปรได้แก่หิน ortho gneiss หิน para gneiss, migmatite, anatextite, หิน calc silicate, marble, quartzite ที่ปรากฏทางด้านตะวันตกของไทย จากแม่ฮ่องสอนถึงประจวบคีรีขันธ์ และบางส่วนของภาคตะวันออก ประกอบด้วย หินชุดต่าง ๆ ได้แก่ Bo Sali formation (Chiang Mai), Huai Mae Tho gneiss (Tak),Khanom gneissic complex (Nakhon Si Thammarat),Khao Tao formation (Prachuab Khiri Khan), Khlong Khlung gneiss (Kamphaeng Phet) Khlong Suen Mark gneiss (Kamphaeng Phet), Khlong Wang Chao gneiss (Tak), Lan Sang gneissic complex (Tak), Lansang gneiss (Tak), Lansang Gneiss complex (Tak), Orb Luang gneiss (Chiang Mai and Mae Hong Son), Phanom Sarakham schist (Prachin Buri), Pranburi formation (Prachuap Khiri Khan), Pranburi-Hua Hin Metamorphic Complex (Prachuab Khiri Khan), Thabsila Gneiss (Suphan Buri), Uthai Thani complex (Uthai Thani).
หิน basement crystalline-rocks ของประเทศไทยส่วนใหญ่จะถูกวางทับอยู่ใต้ชุดชั้นหินตะกอนที่มีอายุอ่อนกว่าโดยมี รอยชั้นไม่ต่อเนื่อง (unconformity) ขั้นอยู่ตรงกลาง หิน basement นี้ส่วนใหญ่เป็นหิน metamorphic rocks มีเกรดตั้งแต่ medium-high grade แสดง band of segregation อย่างไรก็ตามหินเหล่านี้ถูก overprint โดย granitization และ anatexis ในยุค early Carboniferous และบางครั้งถูก overprint โดย tectonic forces เป็นแนวรอยเลื่อนขนาดใหญ่จนเกิด dynamo thermo metamorphism ในยุคหลัง จากการศึกษา U-Pb radiometric dating พบว่าหินแปรเหล่านี้ถูก metamorphose ในช่วงอายุ 212-200 Ma.
Protolith of basement crystalline rocks ได้มีการศึกษาอายุหินดั้งเดิม 7 ตัวอย่างในหิน para gneiss บริเวณ จังหวัดตาก ที่มีการศึกษาโดย U-Pb radiometric dating, ได้มีการศึกษาเพิ่มเติมโดยวิธี Sm-Nd หรือ Nd model age (TDM) พบว่ามีอายุ 2,000-1,100 Ma. (Meso Proterozoic) แต่การศึกษาเพิ่มเติมในช่วงเวลาต่อมาโดยนักธรณีวิทยา หลายกลุ่ม หลายวิธีการให้อายุ เช่นวิธี , Rb-Sr dating, K-Ar dating พบว่า Protolith ของหินหลายบริเวณมีอายุในช่วง Permian, Triassic, Cretaceous, Oligocene, Miocene เท่านั้น ดังนั้นนักธรณีหลายกลุ่ม มีความเห็นว่าไม่มีหิน Pre Cambrian ในประเทศไทย
Fig. 69.2 Age Determination of Pre Cambrian-Rocks of Northern Thailand.
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------------------------------
บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย-------------------------------------------------