Waiyapot EP. 070 Cambrian Rocks of Thailand หินยุคแคมเบรียน ของประเทศไทย
Fig. 69.1 Distribution of Pre Cambrian-Rocks of Northern Thailand.
EP. 70 Cambrian Rocks of Thailand หินยุคแคมเบรียน ของประเทศไทย
ในยุค Cambrian พื้นที่ที่ปัจจุบันเรียกว่า Shan-Thai (เป็นส่วนหนึ่งของ microplate Sibumasu) เป็นทะเลตื้น ขอบของมหาทวีป Gondwana ด้านตะวันออก ตั้งอยู่ประมาณ latitute15oN Longitude 100oE ใกล้เคียงกับที่อยู่ปัจจุบัน อากาศร้อน สัตว์ทะเลสามารถอาศัยอยู่ได้ มีการสะสมตะกอน แบบ molasse type sediments ในขอบทะเลตื้นได้แก่ หินดินดาน หินทราย บางส่วนมีหินกรวด พบซากดึกดำบรรพ์ ของ trilobite, brachiopod บางส่วนถูก metamorphose เป็น low grade metamorphic rocks ได้แก่ หิน quartzite, slaty shales, phyllitic shale and sandstones
หิน Cambrian ในประเทศไทยได้แก่ หินชุด Ban Rang Khe formation (Kanchanaburi) Huai Wai quartzite (Uthai Thani), Khao Um Yom formation (Tak), Khun Nam Rin formation (Mae Hong Son), Ko Lan quartzite (Chon Buri), Mae Phae Luang formation (Mae Hong Son), Pang A formation (Tak), Pha Bong group (Mae Hong Son), Pha Bong quartzite (Mae Hong Son), Tarutao quartzite (Satun), Thong Tanot formation (Nakhon Si Thammarat), Thung Ma San formation (Mae Hong Son),
หิน Cambo – Ordovician ได้แก่ หินชุด Ban Huai Plu formation (Uthai Thani), Chao Nen group (Kanchanaburi), Chao Nen quartzite (Kanchanaburi), Doi Ko formation (Lamphun), Dong Luang formation (Mae Hong Son), Khao Phu Nam Sai formation (Uthai Thani), Khao Taphan formation (Kanchanaburi), Khao Taptim formation (Prachuab Khiri Khan), Khlong Wang Chao group (Tak), Kong La formation (Mae Hong Son), Phubon marbles (Uthai Thani), Phuket series (Phuket), Pong Nam Ron quartzite (Chanthaburi), Tarutao formation (Satun), Tarutao Group (Satun), U-Thong marbles (Suphan Buri).
หิน Cambrian ในประเทศไทยถูกจัดเป็นกลุ่มหินตะรุเตา (TaruTao Group), Lee (1983) พบว่าหินกลุ่มนี้มีความหนาประมาณ 3,000 เมตร และสามารถแบ่งออกเป็น 3 หน่วยคือ
1. Upper Unit ประกอบด้วยหินทรายเนื้อละเอียด หินทรายแป้ง และหินดินดาน fining upward บางส่วนแทรกสลับด้วยหินปูน พบ ทรากดึกดำบรรพ์ ของ trilobite และ brachiopod หนาประมาณ 575 เมตร
2. Middle Unit เป็น estuarine channel lag deposits ที่ตัดแนว shoreline ประกอบด้วย หิน conglomerate สลับกับ cross bedded sandstone และ tuffaceous shale มีความหนาประมาณ 1,950 เมตร พบเศษซากของ trilobite และ brachiopod
3. Lower Unit แสดงชั้นหินแบบ coarsening upward ของชั้นหินจาก mudstone siltstone เป็น argillaceous sandstone ที่แสดง ripple mark, load cast และ slumping bed เป็นการสะสมตัวของตะกอนนอกฝั่งทะเล (offshore) ที่บางครั้งมีคลื่นลมแปรปรวน หนาประมาณ 450 เมตร ไม่พบส่วนฐานสุดของชั้นหิน
Fig. 70.1 Cambo Ordovician Tectonic position of Eastern Gondwana super continent.
Fig. 70.2 Lower Paleozoic Rocks of Thailand.
Fig. 70.3 Lower Paleozoic Rocks of SW Thailand.
Fig. 70.4 Stratigraphy of Paleozoic Rocks of Thailand.
Fig. 70.5 Pictures of Tarutao rocks
ที่มา
- https://www.facebook.com/weerasak.phomthong
รวบรวมข้อมูลและภาพ
-------------------------------------------------
บทความ ไวยพจน์ วรกนก (Waiyapot Worakanok) รวมข้อมูล
รวมบทความที่น่าสนใจจากนักธรณีวิทยาของไทย-------------------------------------------------