เที่ยวนครปฐม พุทธมณฑล พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย (Thai Film Museum)
พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย อำเภอศาลายา จังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่ที่ ถนนพุทธมณฑล สาย 5 จังหวัดนครปฐม ใกล้มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์ไทยแห่งเดียวในประเทศที่รวบรวมข้อมูลและข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ของวงการภาพยนตร์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาและเพลิดเพลินไปกับเรื่องราวอันน่าตื่นตาตื่นใจของ ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ในประเทศไทย
พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย ขึ้นอยู่ในความดูแลของหน่วยงาน หอภาพยนตร์ (Thai Film Archive) องค์การมหาชน ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาพยนตร์และวีดิทัศน์และทุกสิ่งที่เกี่ยวกับภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาและมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติไทย จัดตั้งขึ้นตาม พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2552 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เป็นการโอนกิจการ ในส่วนของงานหอภาพยนตร์แห่งชาติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มาจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน และ ในปี พ.ศ. 2540 หอภาพยนตร์แห่งชาติได้ย้ายสถานที่ตั้งจากอาคารเก่าในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เขตพระนคร กรุงเทพฯ มาอยู่ที่ศาลายา นครปฐม
พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย
จัดแสดงในรูปแบบเมืองจำลองประวัติศาสตร์มีชื่อว่า เมืองมายา จัดเป็นนิทรรศการกลางแจ้ง ที่รวมฉากสถานที่ที่ถือเป็นหลักฐานหรือจุดเด่นที่สำคัญในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์โลก เช่น มงคลบริษัท สถานีรถไฟศินิมา ร้านถ้ำมอง คิเนโตสโคป กร็องด์ คาเฟ่ เป็นต้น
อาคารมงคลบริษัท
อาคารไม้สีแดง ตั้งอยู่ด้านหน้าเมืองมายา จำลองเป็น มายาพาณิชย์ เป็นที่ติดต่อสอบถามข้อมูล ลงทะเบียนเข้าเยี่ยมชมสถานที่ และ ขายสินค้าที่ระลึก จำลองอุปกรณ์การถ่ายหนัง แท่งโลหะสีดำที่ตั้งอยู่ตรงกลางลานเมืองมายา คือ ประติมากรรม ช่วง-เชิด ที่สร้างสรรค์โดยศิลปินแห่งชาติ "ช่วง มูลพินิจ" เพื่อรำลึกถึง "เชิด ทรงศรี" ผู้กำกับภาพยนตร์คนสำคัญของไทย และถ้ามองผ่านรู ตรงกลางของแท่งโลหะสีดำนี้ จะเห็นภาพกลับหัวของพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับการถ่ายภาพ ผ่านกล้องรูเข็ม ประตูสามยอดบนถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของโรงละครหม่อมเจ้าอลังการ สถานที่ฉายภาพยนตร์แห่งแรก ของไทย เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2440 ตรงข้ามกันคือ ฉากตึกสไตล์ยุโรป เป็นโรงแรม HOTEL SCRIBE และ ที่มุมตึกมีรูปหล่อ จำลองผู้ชายและเด็กชาย ยืนซุ่มแอบนายตำรวจอยู่มุมตึก ที่แสดงในภาพยนตร์เรื่อง "THE KID" หรือ "เจ้าหนู" (2464) หนังเงียบ อเมริกันคลาสสิก ที่นำแสดงโดย ชาร์ลีส์ แชปลิน นักแสดงตลกที่โด่งดัง แล แจ็กกี้ คูแกน นักแสดงเด็กที่ดังที่สุดคนหนึ่งของโลก
โรงถ่ายภาพยนตร์เสียงศรีกรุง
อาคารสีเหลืองขนาดใหญ่ ด้านหน้ามีรูปหล่อจำลอง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ หรือ พระบิดาแห่งภาพยนต์สยาม ภายในจัดแสดงสิ่งของที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ไทย โรงถ่ายภาพยนตร์เสียงศรีกรุง เป็นบริษัท สร้างภาพยนตร์ไทย ในสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นกิจการแห่งเดียวที่สร้าง "หนังพูด" คือ การอัดเสียงลงฟิล์มขณะถ่ายทำพร้อมกัน โดย มานิต วสุวัต เจ้าของโรงถ่ายภาพยนตร์มาตรฐานสากลแห่งแรกของไทย ซึ่งได้ฉายา "ฮอลลีวู้ดเมืองไทย" เป็นอาคารที่มีความสวยงาม ทางสถาปัตยกรรม ออกแบบโดย โปรเฟสเซอร์ อี มันเฟรดี สถาปนิกชาวอิตาลี ต่อมาได้หยุดกิจการไปเพราะ เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ในปี พ.ศ. 2485 และ การเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังสงครามโลกได้เปลี่ยนเป็นโรงฉายภาพยนตร์ "ศาลาศรีกรุง" ก่อนที่จะเลิกกิจการและถูกรื้อถอนไปอีกครั้ง เพื่อรำลึกถึงศูนย์กลางทางภาพยนตร์แห่งนี้ ทางหอภาพยนตร์ (พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย) จึงจำลองสร้างขึ้นมาใหม่ ในขนาดเล็กลงกว่าเดิม 4 เท่า ด้วยสถาปัตยกรรมแบบเดิม เปิดให้บริการวันเสาร์ – อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันละ 3 รอบ เวลา 10:00 น. 13:00 น. และ 15:00 น. มีวิทยากรนำชมทุกรอบ
สถานีศินิมา
เป็นการจำลองความเกี่ยวข้องของภาพยนตร์ไทยกับการรถไฟในอดีต ด้วยหัวจักรไอน้ำ โมกุล ซี 56 หมายเลข 738 ซึ่งเป็นหนึ่งใน หัวรถไฟที่ผลิตจากญี่ปุ่น เพื่อนำมาใช้ในสมัยสงครามโลกในไทย ต่อมาเมื่อสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลไทยได้ซื้อหัวรถจักรเหล่านี้เพื่อ ใช้ในกิจการรถไฟ เมื่อถึงเวลาปลดประจำการ จึงได้บริจาคให้แก่หน่วยงานต่างๆ ต่อมาหอภาพยนตร์ได้รับมอบหัว รถจักรไอน้ำนี้มา จากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เพื่อนำมาอนุรักษ์ และ จัดแสดงในโครงการรถไฟสายภาพยนตร์ เพื่อรำลึกถึงเมื่อใน อดีตคราว ที่รถไฟและประวัติศาสตร์ภาพยนตร์มีความเกี่ยวเนื่องกัน ข้างใต้รถไฟ มีรูปปั้น ไอ้หน้าตาย บัสเตอร์ คีตัน (2437-2509) นักแสดงตลกชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงรุ่งโรจน์ในยุคภาพยนตร์เงียบ ด้วยความสามารถด้านกายกรรมและสีหน้าที่เฉยชาเสมอ จนได้ ฉายาว่า "ไอ้หน้าตาย" รูปปั้นนี้จำลองจากบทบาทพนักงานขับรถไฟ ในภาพยนตร์ที่ดีเด่นที่สุดตลอดกาลเรื่องหนึ่งของโลก บริเวณชานชาลาของสถานี ยังเปิดเป็นร้านอาหารและร้านกาแฟขนาดย่อมให้บริการผู้มาเยี่ยมเยือนอีกด้วย ใกล้กับสถานีรถไฟ ศินิมา มีบ่อน้ำขนาดเล็ก ภายในบ่อน้ำ มีรูปปั้นของเหล่าบรรดาช่างภาพ และ คุณ มานี สุมนนัฏ หรือ ฉวีวรรณ ดอกไม้งาม ดาราสาวชั้นนำชาวไทย สังกัดบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง จำกัด มีผลงานการแสดง ประมาณ 3 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2478 - 2481 ซึ่งฝากผลงานการแสดงที่มีชื่อเสียงไว้หลากหลายเรื่อง
โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา
เป็นโรงภาพยนตร์ชุมชนแห่งแรก ขนาด 121 ที่นั่ง จัดฉายภาพยนตร์ทั่งที่หอภาพยนตร์สะสมไว้และที่จัดหามาจากทั่วโลก และเป็น สถานที่จัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ มีโปรแกรมฉายภาพยนตร์เป็นประจำทุกวัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชม เวลาจัดฉาย วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 13.00 น. ร้านหนังตู้ ความยาวประมาณ 1 นาที หยอดเหรียญ 10 บาท ผู้ที่คิดประดิษฐ์ ต้นแบบของภาพยนตร์ขึ้นคือ โทมัส แอลวา เอดิสัน และผู้ร่วมงาน ชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน เมื่อ พ.ศ. 2432 ที่บรอดเวย์ ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า "ถ้ำมอง" มีลักษณะการดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่ง ถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยาย กับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว เสด็จประพาสประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส บันทึกภาพยนตร์ การเสด็จถึงกรุงเบอร์นของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วนแรกของโลก ที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย
-----------------------------------------
ที่มาข้อมูล
รวบรวมรูปภาพ
-----------------------------------------
เที่ยวนครปฐม (Travel Nakhon Pathom)-----------------------------------------
ชมอัลปั้มภาพเพิ่มเติม
20240615 หอภาพยนตร์ พุทธมลฑล นครปฐม
https://photos.app.goo.gl/BA1xMdLkZCEweGjt9
-------------------------
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1842940832407032&type=3
-------------------------