วัดสิงห์ (Travel Pathumthani Sam Khok Singh temple)
วัดสิงห์ วัดโบราณสมัยอยุธยาในอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
วัดสิงห์ เป็นวัดโบราณที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นใน สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ประมาณปี พ.ศ. 2202–2210 โดยชุมชนชาวมอญที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้
วัดสิงห์ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 บ้านธาตุ ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 12160 ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถเดินทางจากกรุงเทพมหานครโดยใช้ถนนสายปทุมธานี–สามโคก ประมาณ 3 กิโลเมตร
อุโบสถ: กว้าง 8.50 เมตร ยาว 18.00 เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2210 ภายในประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย และพระพุทธรูปสมัยอู่ทองอีก 3 องค์ อายุประมาณ 300 ปี
หลวงพ่อโต: พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านในพื้นที่
พิพิธภัณฑ์วัดสิงห์: ตั้งอยู่บนกุฏิของวัด เก็บรักษาโบราณวัตถุ เช่น ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูปโบราณ
วัดสิงห์ ได้รับวิสุงคามสีมา (ได้รับพระราชทานพื้นที่จากพระเจ้าแผ่นดินให้สร้างโบสถ์) วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2210 ภายในวัดมีอุโบสถ กว้าง 8.50 เมตร ยาว 18.00 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2300 อาคารทรงไทย หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ วิหารน้อย ศาลาดิน วิหารโถง กุฏิพระโบราณ
วัดสิงห์ เป็นวัดโบราณ ที่ก่อสร้างในสมัยอยุธยา ตอนกลาง เป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญของบ้านสามโคก สร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีเรื่องเล่าขานในอดีตบันทึกไว้ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาถึงการอพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่อาศัยของชาวรามัญหลายยุคหลายสมัย ณ บ้านสามโคกวัดสิงห์เพื่อให้พระภิกษุที่อพยพหนีศึกพม่ามาพร้อมกับชาวมอญได้จำพรรษา วัดสิงห์จึงเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสามโคก ที่มีมาก่อนชาวรามัญจะอพยพเข้ามาอยู่ที่บ้านสามโคก
ปูชนียวัตถุและศิลปะโบราณ
พระประธานในอุโบสถ หน้าตักกว้าง 5 ศอก สูง 6 ศอก พร้อมด้วยพระอู่ทองอีก 3 องค์ สร้างเมื่อประมาณ 300 ปีเศษ
พระพุทธไสยาสน์(หลวงพ่อเพชร)เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง กว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว
พระพุทธรูปหลวงพ่อโตปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 ศอก 3 นิ้ว สูง 5 ศอก สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา ประดิษฐานที่ศาลาดิน
พระพุทธรูปหลวงพ่อดำ สร้างจากศิลาทรายแดง ประดิษฐานอยู่ในวิหารน้อย โกศบรรจุอัฐิพระยากาย อดีตเจ้าอาวาสวัดสิงห์ เป็นงานประติมากรรมลวดลายงามวิจิตรงดงามทางศิลปะโบราณ เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองอยู่หน้าโบสถ์ 5 องค์ สร้างขึ้นพร้อมวัด รอยพระพุทธบาทจำลองไม้สัก ลงรักปิดทองเป็นฝีมือช่างต้นกรุงรัตนโกสินทร์
พระวิหารน้อย วัดสิงห์เป็นวิหารหลังเล็กก่อด้วยอิฐเป็นอาคารทรงไทย มุงด้วยกระเบื้องดินเผากาบู ด้านหน้ามีชายคาปีกนกยื่น ออกมาจากคัวอาคาร ฐานของอาคารทำเป็นท้องสำเภาอิฐเป็นฐานปัทม์แอ่นโค้ง มีช่องประตูเข้าสู่วิหารด้านหน้าเพียงช่องเดียว วงกบประตูทำด้วยไม้สักทอง *มีพระพุทธรูปเป็นพระประธานองค์ใหญ่ 1 องค์ พระพุทธาสสิริมาแสนประจำทิศตะวันตก
พระอุโบสถ เป็นอุโบสถเก่าแก่ วัดสิงห์ วัดโบราณ ณ บ้านสามโคก จ.ปทุมธานี สร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง มีการบูรณะครั้งใหญ่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินธิ์ เป็นอาคารที่ใช้ในการทำสังฆกรรมประกอบด้วยกำแพงแก้วล้อมรอบ ด้านในกำแพงก่อเป็นช่องสามเหลี่ยมใกล้พื้นที่โดยรอบ พื้นที่โดยรอบปูด้วยศิลา ทางเข้าทำเป็นซุ้มโครงก่ออิฐแบบกูบช้าง ทั้งด้านหน้าและด้านหลังศิลปะแบบอยุธยา
พระประธาน ก่อสร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง (พระประธานจตุรทิศ) มีพระพุทธรูปเป็นพระประธานองค์ใหญ่ 2 องค์ พระพุทธรัตนมณี (เป็นพระประธานหันพระพักต์ไปทิศตะวันออก)
หลวงพ่อโต ภายในวัดสิงห์ วัดโบราณ ณ บ้านสามโคก จ.ปทุมธานี ประดิษฐานในวิหารโถง (ศาลาดิน) เป็นพระพุทธรูปก่อด้วยอิฐถือปูนลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา อายุประมาณ 320 ปี
หลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปปางไสยาสน์ประดิษฐานอยู่ด้านหลังหลวงพ่อโต ซึ่งมีซุ้ม เรือนแก้วคั่นอยู่ เป็นเหนือองค์หลวงพ่อเพชรมีพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ประดิษฐานบนฐานชุกชีสององค์ ส่วนฉากด้านหลังซุ้มเรือนแก้วปรากฏภาพจิตกรกรรมฝาผนัง ศิลปะสมัยอยุธยาวาดเป็นภาพพระพุทธเจ้า เสร็จจากดาวดึงส์ แต่น่าเสียดายที่รายละเอียดของภาพถูกน้ำฝนชะล้างไปจนเหลือเลือนราง ซึ่งนับได้ว่าเป็นภาพจิตรกรรมที่เก่าที่สุดใน จังหวัดปทุมธานี
วัดสิงห์เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสามโคก มีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางของชุมชนชาวมอญที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่นี้ และเป็นแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี วัดสิงห์เป็นสถานที่ที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย ด้วยสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุที่ทรงคุณค่า ทำให้วัดนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนจังหวัดปทุมธานี
.
----------------------
ที่มาข้อมูล
-
ชมอัลปั้มภาพเพิ่มเติมที่
https://www.facebook.com/udomtanateera.k/media_set?set=a.2938789582822146&type=3
----------------------