iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

เที่ยวปทุมธานี (Travel Pathumthani)

 

จังหวัดปทุมธานี มีความเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 300 ปี นับตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา คือ เมื่อ พ.ศ. 2202 มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระนายรายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก ต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเป็นครั้งที่ 2 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านสามโคกอีก และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะเข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า "มอญใหญ่" พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกอีกเช่นเดียวกัน จากชุมชนขนาดเล็ก บ้านสามโคกจึงกลายเป็น เมืองสามโคก ในเวลาต่อมา

ต่อมาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2358 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองสามโคก เป็น เมืองประทุมธานี และเมื่อ พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทน "เมือง" และให้เปลี่ยนการสะกดชื่อใหม่จาก "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี" กลายเป็น จังหวัดปทุมธานี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2475 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยุบจังหวัดธัญบุรีมาขึ้นกับจังหวัดปทุมธานี จังหวัดปทุมธานีจึงได้แบ่งการปกครองเป็น 7 อำเภอ 

จังหวัดปทุมธานี  ประกอบด้วยพื้นที่ 7 อำเภอ 60 ตำบล 529 หมู่บ้าน ปทุมธานี (Pathumthani) เป็นเมืองท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้กรุงเทพ เหมาะสำหรับการพักหรือไปเที่ยวผ่อนคลายแบบไปเช้าเย็นกลับ เดินทางสะดวกใช้เวลาไม่นานมีที่เที่ยวที่น่าสนใจมากมายหลายรูปแบบ เช่น วัดวาอาราม ตลาดน้ำ ตลาดโบราณ ร้านอาหาร และร้านของฝากที่ระลึก ให้แวะมาเที่ยวชมและช้อปปิ้งหาของกินและของฝากมากมายหลากหลาย

แหล่งท่องเที่ยว จังหวัดปทุมธานี (Travel Pathumthani)แยกแนะนำตามอำเภอ ดังนี้

@ อำเภอเมืองปทุมธานี

วัดตลาดเหนือ (Wat Talat Nuea)

วัดตลาดใต้ (Wat Talat Tai)

วัดป่ากลางทุ่ง (Wat Pa Klang Thung)

เรือนกิจจา (RuenKijja)

---

อำเภอคลองหลวง 

พิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์

พิพิธภัณฑ์ พระรามเก้า

พิพิธภัณฑ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ

พิพิธภัณฑ์ ธรรมชาติวิทยา

ถนนสายดอกคูณที่ เทคโนธานี

วัดปัญญานันทาราม (Panya Nantharam Temple)

หออัครศิลปิน​ (Hall of Artists)

-

-

อำเภอธัญบุรี 

- ท้องฟ้าจำลองรังสิต ธัญบุรี ปทุมธานี

-

อำเภอหนองเสือ

- วัดป่าคลอง 11 หนองเสือ ปทุมธานี

--

อำเภอลาดหลุมแก้ว

ตลาดโบราณระแหง (ตลาดร้อยปีระแหง) ลาดหลุมแก้ว ปทุมธานี

-

-

อำเภอลำลูกกา

--- 

อำเภอสามโคก 

ตลาดอิงน้ำ สามโคก ปทุมธานี

- วัดโบสถ์ หรือ วัดหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ อ.สามโคก ปทุมธานี

- บ้าน ๑,๐๐๐ ไม้ Cafe & Farm อ.สามโคก ปทุมธานี

วัดสิงห์ อ.สามโคก ปทุมธานี

--

.

----------------------

ที่มาข้อมูล

รวบรวมรูปภาพ

www.iok2u.com

-----------------------

เที่ยวปทุมธานี (Travel Pathumthani)

เที่ยวไทย (Travel Thailand)

-----------------------

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward