แหล่งมรดกโลก (World Heritage Site)
แหล่งมรดกโลก คุณสมบัติหลักเกณฑ์มรดกโลก
ความหมายและสัญลักษณ์มรดกโลก
สัญลักษณ์มรดกโลกเป็นรูปสีเหลี่ยมจัตุรัส มีวงกลมล้อมรอบโดยลากเส้นต่อเนื่องกัน รูปสีเหลี่ยมจัตุรัสแทนความหมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมา สวนวงกลมที่ล้อมรอบหมายถึงธรรมชาติ สภาพแวดล้อม ทั้ง 2 สิ่งนี้จะต้องอยู่ใกล้ชิดกันแยกจากกันไม่ได้ รอบวงกลมอีกชั้นหนึ่งเป็นตัวอักษร 3 ภาษา
แปลว่ามรดกโลกคือภาษาอังกฤษ (Word Heritage) ภาษาฝรั่งเศส (Patrimoine Mondial) ภาษาสเปน (Patrimonio Mundial) สัญลักษณ์นี้มองโดยรวมแล้วจะเป็นรูปทรงกลมมีความหมายเฉกเช่นโลก และขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความพยายามในการปกป้องมรดกโลกทั้งมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติอีกด้วย
-----------------------------------------
ที่มา
ข้อมูลและรูปภาพ www.iok2u.com
-----------------------------------------
รวมข้อมูลแหล่งมรดกโลก (World Heritage Site)
-----------------------------------------
แหล่งมรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site) คือ พื้นที่หรือจุดหลัก (landmark) ที่ได้รับคัดเลือกจากยูเนสโก เพราะมีลักษณะสำคัญทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่น และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามสนธิสัญญา สถานที่เหล่านี้ถือว่าสำคัญต่อประโยชน์โดยรวมของมนุษยชาติ
มรดกโลกทางวัฒนธรรม หมายถึงสถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถาน ไม่ว่าจะเป็นงานต้านสถาบัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือโบราณคดีทางธรรมซาติ เชน ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างที่แยกหรือเชื่อมต่อกันที่มีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญที่อาจเป็นผลงานจากฝีมือมนุษย์ หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติและมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าล้ำเลิศในทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มานุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
มรดกโลกทางธรรมชาติ หมายถึงสภาพธรรมชาติที่มี ลักษณะทางกายภาพและชีวภาพ อันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความงาม ด้านวิทยาศาสตร์ หรือสถานที่ซึ่งมีสภาพทาง
ธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่ของพันธุ์พืชและสัตว์ซึ่งถูกคุกคาม หรือมีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์สมควรแก่การอนุรักษ์ หรือแหล่งธรรมชาติอันทรงคุณค่าล้ำเลิศในทางวิทยาศาสตร์ การอนุรักษ์ หรือความงามตามธรรมชาติ
โดยมีการแบ่งพื้นที่มรดกโลกออกเป็น 5 โซนพื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้-แคริบเบียน
หลักเกณฑ์การพิจารณามรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก อันเป็นเครื่องมือสำคัญของการอนุรักษ์มรดกโลก บริหารจัดการโดยคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการจากประเทศที่ได้รับการเลือกตั้งจากรัฐภาคี ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ รวม 184 ประเทศเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาฯ ฉบับนี้
คณะกรรมการมรดกโลก มีการประชุมกันปีละครั้ง มีหน้าที่พิจารณาตัดสินการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก รวมทั้งพิจารณาการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวข้องกับระเบียบปฏิบัติที่ระบุไว้ในอนุสัญญาฯ
สถานที่ซึ่งขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จะต้องมีคุณสมบัติเข้าหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งใน 10 ข้อ ดังนี้
Human Creative Genius
ㆍเป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ด้าน ศิลปกรรมหรือตัวแทนของความงดงาม และเป็นผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดยิ่งของมนุษย์
ตารางจำนวนมรดกโลกแบ่งตามทวีป ณ เดือน กรกฎาคม 2562
ภูมิภาค | วัฒนธรรม | ธรรมชาติ | ผสม | รวม | % | รัฐ |
---|---|---|---|---|---|---|
แอฟริกา | 53 | 38 | 5 | 96 | 8.56% | 35 |
รัฐอาหรับ | 78 | 5 | 3 | 86 | 7.67% | 18 |
189 | 67 | 12 | 268* | 23.91% | 36 | |
ยุโรปและอเมริกาเหนือ | 453 | 65 | 11 | 529* | 47.19% | 50 |
ละตินอเมริกาและแคริบเบียน | 96 | 38 | 8 | 141* | 12.58% | 28 |
รวม | 869 | 213 | 39 | 1121 | 100% | 167 |
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้รับการพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น ในส่วนของ แหล่งมรดกโลกไทย มีสถานที่ได้ขึ้นทะเบียน 6 แห่ง ประกอบด้วย แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง และทางธรรมชาติอีก 3 แห่ง
ที่มา
ข้อมูล https://whc.unesco.org
ข้อมูลและรูปภาพ www.iok2u.com
-----------------------------------------
รวมข้อมูลแหล่งมรดกโลก (World Heritage Site)
-----------------------------------------