ind4_deu อุตสาหกรรม 4.0 ของเยอรมัน แบบตรวจสอบระดับความพร้อม (Industry 4.0 Readiness)
การตรวจสอบความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0 Readiness) จากที่ผ่านมาได้กล่าวถึงอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) กันมากมาย และเมื่อรัฐบาลไทยได้นำเอาคำว่า 4.0 มาใช้ในการตั้งเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ โดยประกาศจะนำพาประเทศและเศรษฐกิจก้าวไปสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ทำให้หลายบริษัทหรือหน่วยงานต่างก็แข่งขันกันกำหนดเป้าหมายองค์กรโดยใช้ 4.0 ต่อท้ายกันเต็มไปหมด เกิดปัญหาว่าความเข้าใจในนิยามหรือเป้าหมายในคำว่า 4.0 ที่มีนั้น เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่มีการกำหนดรูปแบบนิยามคำว่า อุตสาหกรรม 4.0 ไว้ชัดเจนเพียงไร
ในที่นี้จะขอยกแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 โดยอ้างอิงแนวคิดจากของ ประเทศเยอรมันนี ซึ่งถือว่าเป็นต้นตำหรับของคำว่า Industry 4.0 และนำมาเพื่อใช้กำหนดตัวเทียบวัด ประเมินความสามารถ และใช้สร้างตัวชี้วัดเพื่อวางแผนไปสู่เป้าหมาย เพราะการกำหนดขอบเขตนิยามที่ชัดเจน จะช่วยทำให้คนทำงานในองค์กรมีความใจในระดับความสามารถของตนเองได้ดีมองไปที่เป้าหมายเดียวกัน และมองเห็นปัญหาแนวทางในการเดินสู่เป้าหมายที่ตรงกันได้ดี
โมเดลการตรวจสอบความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 (The Readiness Model) เป็นแนวคิดในการที่จะประเมินความพร้อมของตนเองและใช้ไปเปรียบเทียบบริษัทกลุ่มเดียวกัน หรือบริษัทที่มีความสำเร็จในการเป็นอุตสาหกรรม 4.0 หลักสำคัญที่ใช้ในการประเมินอุตสาหกรรม 4.0 ในที่นี้ใช้ 6 เรื่อง ได้แก่
1. ยุทธศาสตร์และการจัดองค์กร (Strategy and organization) โดยดูที่การกำหนดยุทธศาสตร์ การจัดโครงสร้างองค์กร และแนวคิดและวัฒนธรรมที่มีในองค์กร ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการเป็นการเป็นอุตสาหกรรม 4.0
2. โรงงานอัจฉริยะ (Smart factory) โดยจะดูองค์ประกอบที่มีในโรงงาน ดูความสามารถในการผลิตมีรูปแบบอย่างไร การใช้เครื่องมือเครื่องจักรช่วยในการทำงานเพียงไร และมีการใช้เครื่องจักรในระดับอัตดนมัติหรือไม่เพียงไร
3. ขบวนการทำงานที่ดี (Smart operations) โดยจะดูแนวคิดการทำงาน ขั้นตอน ขบวนการ และการดำเนินงาน ขบวนการผลิต และผลงานที่ได้ในงาน มีรูปแบบที่ดีเพียงไร ใช้เป็นมาตรฐานสากลหรือไม่ สามารถปรับเปลี่ยนขบวนการให้ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติได้ยากง่ายเพียงไร
4. ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นอัจฉริยะ (Smart products) โดยจะพิจารณาถึงผลงานหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการดำเนินงาน อาจเน้นทางด้านกายภาพเช่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีมีความล้ำหน้าในเทคโนโลยีเพียงไร มีส่วนประกอบที่เป็นงานที่เกี่ยวกับด้าน ICT มากน้อยเพียงไร
5. บริการข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วย (Data-driven services) ดูการบริหารจัดการการใช้ข้อมูลในธุรกิจ ว่าสามารถนำเอาข้อมูลมาใช้ในการทำงานมากน้อยเพียงไร มีการส่งต่อข้อมูลเชื่อมโยงกันได้ต่อเนื่องเพียงไร หากมีการใช้ข้อมูลครบถ้วนตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำก็ถือว่ามีการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่ดีในทางธุรกิจ
6. พนักงาน (Employees) พิจารณาจากความพร้อมของบุคลากรในองค์กร ในการรับและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพียงไร เพราะปัจจัยหลักในการที่จะดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จของอุตสาหกรรม 4.0 คือ คน เพราะต้องใช้บุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยเฉพาะความรู้ความสามารถในงานด้าน ICT
---------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูล