โครงการส่งเสริมเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมให้ก้าวสู่ อุตสาหกรรม 4.0
ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการจัดทำ ระบบวิเคราะห์และประเมินธุรกิจสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต โดยมีชื่อว่า ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับประเทศไทย (Thailand i4.0 Index) การดำเนินการในเรื่องนี้จะมีผลดีอย่างมากต่อการขับเคลื่อนองค์กรในภาคอุตสาหกรรม ให้มีสามารถประเมินตัวเองหาจุดอ่อนและช่องว่างในการพัฒนาตัวเองให้ก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 และเป็นการยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรม ช่วยทำให้โรงงานอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ มีองค์ความรู้ดวามเข้าใจในเรื่องการปรับปรุงองค์กรให้เป็นมาตรฐานเพิ่มขึ้น ทราบจุดอ่อนข้อบกพร่องหรือช่องว่างที่มีในการทำงาน ว่าจะต้องปรับปรุงองค์กรของตนในด้านใด และควรเริ่มปรับปรุงด้านใดก่อนควรใช้กลยุทธ์อย่างไร เพื่อให้ก้าวไปสู่ องค์กรแห่งยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ปัจจุบันได้กำหนดดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย เป็น 6 มิติหลัก (Dimensions) และ 17 มิติย่อย ได้แก่
ภาพ ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย (Thailand i4.0 Index)
การส่งเสริมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมให้ก้าวสู่ อุตสาหกรรม 4.0
เพื่อเพิ่มขึดความสามารถผู้ประกอบการอุตสาหกรรมให้ประสบความสำเร็จ ควรจะต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ ให้สามารถนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการทำงานเพิ่มขึ้น โดยใช้แนวคิดของการจัดการ อุตสาหกรรม 4.0 มาเป็นแนวทาง เนื่องจาก อุตสาหกรรม 4.0 นั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า หากผู้ประกอบการสามารถพัฒนาจนถึงระดับนี้แล้ว จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วและแน่นอน และจากแนวคิด ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับประเทศไทย (Thailand i4.0 Index) ที่นำมาใช้ทำการประเมินความพร้อมในแต่ละด้าน ดังนั้นหากทำการส่งเสริมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรม ให้องค์กรก้าวสู่การเป็น อุตสาหกรรม 4.0 ได้ ควรมีแผนดำเนินการจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมพัฒนาองค์กรในแต่ละมิติให้ครอบคลุม เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถยกระดับองค์กรเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 โดยแบ่งเป็น 7 โครงการ ได้แก่
1. โครงการส่งเสริมเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมโดยใช้ ระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation Technology) ส่งเสริมการนำระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติมาช่วยในการทำงาน ให้มีการส่งข้อมูลอัตโนมัติในองค์กร เช่น ระบบเซ็นเซอร์ (sensor) ตรวจวัดค่าในงานการผลิต ระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าในงานบริหารธุรการองค์กร และระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าระบบช่วยในการทำงานเสริม (Facilities) มุ่งผลสำเร็จให้มีระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าที่สามารถตรวจแสดงผลตอบสนองการทำงานทั้งระบบได้โดยอัตโนมัติและในเวลาทันที
เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ระบบ Sensor ระบบ IoT, ระบบ GPS, ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities), ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมและการผลิต (Industrial Automation and Manufacturing) และการดูแลและติดตามระยะไกล (Remote Monitoring) ระบบจัดการพลังงาน (Energy Management) ระบบตรวจสอบสิ่งแวดล้อม (Environmental Monitoring) และระบบจัดการค้าปลีกและสินค้าคงคลัง (Retail and Inventory Management)
ระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation Technology) ตัวอย่างโครงการ
.
2. โครงการส่งเสริมเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมโดยใช้ ระบบเทคโนโลยีเครือข่าย (Network Technology) ส่งเสริมการนำระบบเครือข่ายมาใช้ช่วยในการทำงาน ทำการเชื่อมโยงการส่งข้อมูลในองค์กร เช่น เชื่อมโยงระบบการผลิต เชื่อมโยงระบบบริหารธุรการขององค์กร และเชื่อมโยงระบบช่วยในการทำงานเสริม (Facilities) มุ่งผลสำเร็จให้ระบบมีความสามารถเชื่อมโยงการทำงานเกิดเครือข่ายการส่งข้อมูลทั้งระบบแบบไร้รอยต่อ สามารถแสดงผลข้อมูลเพื่อตอบสนองการทำงานได้ทั้งระบบในเวลาทันที ตัวอย่างระบบเครือข่าย
เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ เช่น การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service: IaaS), การให้บริการแพลตฟอร์ม (Cloud Platform as a Service: PaaS), การให้บริการซอฟต์แวร์ (Software as a Service; SaaS), การให้บริการระบบจัดเก็บข้อมูล (data Storage as a Service; dSaaS) และการให้บริการร่วมรวมลำดับความเชื่อมโยง (Composite Service; CaaS)
ระบบเทคโนโลยีเครือข่าย (Network Technology) ตัวอย่างโครงการ
..
3. โครงการส่งเสริมเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมโดยใช้ ระบบควบคุมอัจฉริยะในการทำงาน (Smart Operation) ส่งเสริมการใช้ระบบควบคุมการทำงานแบบอัจฉริยะมาช่วยในการทำงาน ทำการสั่งการระบบให้เกิดการทำงานที่รวดเร็ว ยกระดับความสามารถในองค์กร เช่น ระบบการผลิตอัตโนมัติ ระบบอัจฉริยะในการจัดการบริหารงานธุรการขององค์กร (อุปกรณ์และสถานที่) และระบบอัจฉริยะช่วยในการทำงานเสริม (Facilities) มุ่งผลสำเร็จให้ระบบที่มีการทำงานแบบชาญฉลาด บริหารจัดการและปรับเปลี่ยนได้ในตัวระบบเอง มีการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างชาญฉลาด สามารถดำเนินการทำงานไปในทางเดียวกันอย่างคล่องตัวมีความสามารถเชื่อมโยงการทำงานเกิดเครือข่ายการส่งข้อมูลแบบไร้รอยต่อ สามารถสั่งการทำงานระบบได้โดยอัตโนมัตและในเวลาทันที
เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ระบบอุตสาหกรรมและการผลิตอัจฉริยะ (Smart Industrial and Manufacturing), ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities), ระบบควบคุมดูแลระยะไกล (Remote Monitoring) ระบบจัดการพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy Management) และระบบจัดการค้าปลีกและสินค้าคงคลังอัจฉริยะ (Smart Retail and Inventory)
ระบบอัจฉริยะในการทำงาน (Smart Operation) ตัวอย่างโครงการ
.
4. โครงการส่งเสริมเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมโดยใช้ ระบบไอทีและธุรกรรมข้อมูล (IT System & Data Transaction) ส่งเสริมการนำข้อมูลมาใช้ในการทำงานบูรณาการระบบ การบูรณาการโครงสร้างภายในองค์กรโดยเชื่อมต่อกระบวนการต่างๆ แบบแนวตั้งหรือแบบปิรามิด การจัดการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งแบบภายในองค์กร การเชื่อมโยงข้อมูลแบบระหว่างองค์กรเชื่อมต่อกันระหว่างห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ระบบบริหารทรัพยากรในองค์กร (ERP), ระบบบริการคลังสินค้า (WMS), ระบบบริหารการขนส่ง (TMS), ระบบวางแผนทรัพยากรการผลิต (MRP), ระบบบริหารลูกค้าสัมพันท์ (CRM), ระบบบริหารชัพพลายเออร์ (SRM)
ระบบไอทีและธุรกรรมข้อมูล (IT System & Data Transaction) ตัวอย่างโครงการ
.
5. โครงการส่งเสริมเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมโดยใช้ การบริหารและจัดการข้อมูลตลาดและลูกค้า (Market & Customers) ส่งเสริมการนำระบบข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในงานบริหารและจัดการที่เกี่ยวข้องความต้องการของตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการจัดการตลอดช่วงอายุของผลิตภัณฑ์ การรวบรวมและจัดการข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายและสภาพตลาด เพื่อการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ การออกแบบ และวางแผนวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ เช่น โครงการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligent) และระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI)
การบริหารและจัดการข้อมูลตลาดและลูกค้า (Market & Customers) ตัวอย่างโครงการ
.
6. โครงการส่งเสริมเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมโดยใช้ การบริหารและจัดการกลยุทธ์และองค์กร (Strategy & Organization) ส่งเสริมการกำหนดเป้าหมาย การวางแผน การกำหนดแนวทาง กระบวนการทำงาน และการนำพาองค์กรไปสู่ อุตสาหกรรม 4.0 โดยมีทั้งในระดับผู้บริหารไปถึงพนักงานทุกระดับ จะเน้นการวางแผนและพัฒนาขององค์กรไปสู่ Industry 4.0 โดยวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และการร่วมมือกับพันธมิตรภายนอก การบริหารจัดการทางกลยุทธ์และโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร
เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ เช่น โปรแกรมบริหารจัดการองค์กร โปรแกรม HR
การบริหารและจัดการกลยุทธ์และองค์กร (Strategy & Organization) ตัวอย่างโครงการ
.
7. โครงการส่งเสริมเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการพัฒนาบุคลากร การบริหารและจัดการทางทรัพยากรบุคคลขององค์กร การพัฒนาความสามารถและศักยภาพของพนักงานด้วยกระบวนการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับทิศทางในปัจจุบันและอนาคต มู่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ
เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ เช่น โปรแกรม HR โปรแกรมบริหารจัดการองค์กร
การพัฒนาบุคลากรทุนมนุษย์ (Human Capital) ตัวอย่างโครงการ
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรมไทย 4.0 (Thailand I 4.0 Index)
---------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวอุตสาหกรรม 4.0 เพิ่มเติม คลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูล---------------------------------------------