Industry4_index_thai ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 มิติย่อย 17 มิติ
ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการจัดทำระบบวิเคราะห์และประเมินธุรกิจสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต โดยมีชื่ว่า ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับประเทศไทย (Thailand i4.0 Index) การดำเนินการในเรื่องนี้จะมีผลดีอย่างมากต่อการขับเคลื่อนองค์กรในภาคอุตสหกรรม ให้มีสามารถประเมินตัวเองหาจุดอ่อนและช่องว่างในการพัฒนาตัวเองให้ก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 และเป็นการยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมช่วยทำให้โรงงานอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการมีองค์ความรู้ดวามเข้าใจในเรื่องการปรับปรุงองค์กรให้เป็นมาตรฐานเพิ่มขึ้น ทราบจุดอ่นข้อบกพร่องหรือช่องว่างที่มีในการทำงานว่าจะต้องปรับปรุงองค์กรของตนในด้านใด และควรเริ่มปรับปรุงด้านใดก่อนควรใช้กลยุทธ์อย่างไร เพื่อให้ก้าวไปสู่องค์กรแห่งยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย (Framework of Thailand i4.0 Index) แบ่งเป็น 6 มิติหลัก (Dimensions) ได้แก่ เทคโนโลยี (Technology), การดำเนินงานที่ชาญฉลาด (Smart Operation), ระบบไอทีและธุรกรรมข้อมูล (IT System & Data Transaction), ตลาดและลูกค้า (Market & Customers), กลยุทธ์และองค์กร (Strategy & Organization) และ ทุนมนุษย์ (Human Capital) จาก 6 มิติหลัก ยังแบ่งย่อยออกเป็น 17 มิติย่อย เพื่อให้การวัดระดับความพร้อมขององค์กรมีความชัดเจน เพียงพอในการนำมาพิจารณาเพื่อปรับปรุงแก้ไข
- มิติ 1 เทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation Technology)
- มิติย่อยที่ 01 ระบบอัตโนมัติ ในงานการผลิต (Production Automation)
- มิติย่อยที่ 02 ระบบอัตโนมัติ ในงานองค์กร (Enterprise Automation)
- มิติย่อยที่ 03 ระบบอัตโนมัติ ในงานอำนวยความสะดวก (Facility Automation)
- มิติ 1 เทคโนโลยีเครือข่าย (network Technology)
- มิติย่อยที่ 04 การเชื่อมโยงเครือข่ายในงานการผลิต (Production Network)
- มิติย่อยที่ 05 การเชื่อมโยงเครือข่ายในองค์กร (Enterprise Network)
- มิติย่อยที่ 06 การเชื่อมโยงเครือข่ายในระบบอำนวยความสะดวก (Facility Network)
- มิติ 2 การดำเนินงานที่ชาญฉลาด (Smart Operation)
- มิติย่อยที่ 07 ระบบอัจฉริยะในงานการผลิต (Smart Production)
- มิติย่อยที่ 08 ระบบอัจฉริยะในองค์กร (Smart Enterprise)
- มิติย่อยที่ 09 ระบบอัจฉริยะในงานอำนวยความสะดวก (Smart Facility)
- มิติ 3 ระบบไอทีและข้อมูลสารสนเทศ (IT System & Data Transaction)
- มิติย่อยที่ 10 การบูรณาการภายในองค์กร (Internal Integration)
- มิติย่อยที่ 11 การบูรณาการภายนอกองค์กร (External Integration)
- มิติ 4 ตลาดและลูกค้า (Market & Customers)
- มิติย่อยที่ 12 การวิเคราะห์การตลาด (Market Analysis)
- มิติย่อยที่ 13 วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle)
- มิติ 5 กลยุทธ์และองค์กร (Strategy & Organization)
- มิติย่อยที่ 14 การบริหารจัดการจากบนลงล่าง (Top-down Managements)
- มิติย่อยที่ 15 กลยุทธ์ในด้านอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0 Strategy)
- มิติย่อยที่ 16 การทำงานร่วมกันระหว่างบริษัท (inter-company Collaboration)
- มิติ 6 ทุนมนุษย์ (Human Capital)
- มิติย่อยที่ 17 การส่งเสริมการเรียนรู้บุคลากร (Workforce Learning)
ซึ่งในแต่ละมิติย่อยก็ยังมีการกำหนดระดับความพร้อมย่อยลงได้อีกเป็น ระดับความพร้อม 6 ระดับ
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรมไทย 4.0 (Thailand I 4.0 Index)
---------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวอุตสาหกรรม 4.0 เพิ่มเติม คลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูล---------------------------------------------