ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 มิติ 5 กลยุทธ์และองค์กร (Strategy & Organization)
มิติย่อยที่ 14 การบริหารจัดการจากบนลงล่าง (Top-down Managements)
มิติ 5 กลยุทธ์และองค์กร (Strategy & Organization) คือ การบริหารจัดการทางกลยุทธ์ และโคร้างสร้างการบริหารงานขององค์กร (ประกอบด้วย 3 มิติย่อย)
มิติย่อยที่ 14 การบริหารจัดการจากบนลงล่าง (Top-down Managements) คือ การพิจารณาความพร้อมของคณะผู้บริหารองค์กรทุกระดับ ในความเข้าใจและความสามารถในการประยุกต์ไช้แนวความคิดอุตสาหกรรม 4.0 มาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายในการยกระดับความพร้อมสู่ อุตสาหกรรม 4.0 ได้เป็นผลสำเร็จ
โดยมีรายละเอียดในการประเมินเพื่อจัดระดับความพร้อม ดังนี้
Band |
นิยาม |
คำอธิบายเพิ่มเติม |
1 Informal communication |
ผู้บริหารมีการสื่อสารนโยบาย ในการยกระดับองค์กรสู่อุตสาหกรรม 4.0 ผ่าน ช่องทางที่ไม่เป็นทางการ และวิธีการที่ไม่มีแบบแผน |
ผู้บริหารสื่อสารสร้างความตระหนักแก่พนักงาน การรับนโยบายไปดำเนินการเป็นไปตามความ สมัครใจ และไม่มีการจดบันทึก |
2 Systematic communication |
ผู้บริหารมีการสื่อสารนโยบาย ในการยกระดับองค์กรสู่อุตสาหกรรม 4.0 ผ่าน ช่องทางที่เป็นทางการ หรือมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบ/ทีมงาน ที่ชัดเจน |
ผู้บริหารมีการกำหนดช่องทางและวิธีการในการสื่อสารอย่างมีแบบแผน และมีการจั ดทำเป็น บันทึก มีการมอบหมายงานอย่างเป็นทางการ |
3 Formal planning |
ผู้บริหารผลักดันให้เกิดแผนการนำนโยบายขับเคลื่อนองค์กรสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดย มีการจัดทำ แผนระดับปฏิบัติการที่มีการกำหนดเป้าหมายและระยะเวลาโครงการที่ ชัดเจน |
มีการจัดทำ Roadmap/Action Plan |
4 Outsource implementation |
ทีมบริหารขับเคลื่อนการยกระดับองค์กร โดยยังใช้ความเชี่ยวชาญจาก บุคคลภายนอกเป็นหลัก |
ทีมบริหารมีความเข้าใจในหลักการของ อุตสาหกรรม 4.0 เป็นอย่างดี แต่ยังจำเป็นต้องพึ่งพา ผู้เชี่ยวชาญภายนอกองค์กรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในองค์กร และมีการดำเนินงาน อย่างน้อย 1 แผนงาน |
5 Self-implementation |
ทีมบริหารขับเคลื่อนการยกระดับองค์กร โดยใช้ความเชี่ยวชาญจากบุคคลภายใน เป็นหลัก |
ทีมบริหารมีความเข้าใจในหลักการของ อุตสาหกรรม 4.0 เป็นอย่างดี สามารถขยายผลการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในองค์กรออกไปได้หลายด้าน |
6 Industrial transformation |
ทีมบริหารขับเคลื่อนการยกระดับองค์กรได้ โดยใช้ความเชี่ยวชาญจากบุคคลภายใน และสามารถเป็นต้นแบบสำหรับองค์กรอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือใกล้เคียง |
ทีมบริหารสามารถขยายผลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในองค์กรอย่างมีพลวัต มีความคิด ริเริ่มใหม่ๆ ในการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง และเท่าทันการพัฒนาต่อยอดของ อุตสาหกรรม 4.0 ในอนาคตได้ |
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่นี่
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรมไทย 4.0 (Thailand I 4.0 Index)
-------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
-------------------------------------------------
ข้อมูลที่น่าสนใจประวัติศาสตร์อุตสาหกรรม 4.0 ที่นี่ที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูล-------------------------------------------------