iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
กระทรวงอุตสาหกรรม ประวัติความเป็นมา
ตราสัญลักษณ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ นารายณ์เกษียรสมุทร ซึ่งนำจากเรื่อง นารายณ์สิบปาง ปางที่สองหรือกูรมาวตาร โดยถือเอาสัญลักษณ์ขณะที่พระนารายณ์ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ประกอบพิธีกวนน้ำอมฤต ซึ่งในการกวนน้ำอมฤตนี้ ก็ได้เกิดผลิตผลอย่างอื่น ๆ ขึ้นในโลกอีกมากมาย
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) มีประวัติความเป็นมาดังนี้
@ พ.ศ. 2479 รัฐบาลได้จัดตั้ง "กองอุตสาหกรรม" ขึ้นในกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ เมื่อวันที่ 31 มกราคม
@ พ.ศ. 2480 ยกฐานะกองอุตสาหกรรมขึ้นเป็นกองอิสระรัฐพาณิชย์ ขึ้นตรงต่อสำนักงานปลัดกระทรวงเศรษฐการ
@ พ.ศ. 2484 มีการปรับปรุงส่วนราชการกองเศรษฐการใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อ เป็นกระทรวงเศรษฐกิจและจัดตั้ง "กรมอุตสาหกรรม" สังกัดกระทรวงเศรษฐกิจ มีหน้าที่วางแผนการสร้างและส่งเสริมอุตสาหกรรมโรงงาน และอุตสาหกรรมในครอบครัว โดยตั้งที่ทำการกรมที่ วังกรมหลวงปราจีณกิติยบดี เทเวศม์
@ พ.ศ. 2485 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมจัดตั้ง "กระทรวงการอุตสาหกรรม" โดยมีส่วนราชการในสังกัด คือ
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม (ตั้งใหม่)
- กรมโลหกิจ (โอนมาจากกระทรวงมหาดไทย)
- กรมวิทยาศาสตร์ (โอนมาจากกระทรวงการเศรษฐกิจ)
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP) (กรมอุตสาหกรรม กระทรวงการเศรษฐกิจเดิม)
กระทรวงการอุตสาหกรรม ตั้งอยู่ที่ วังกรมหลวงปราจีณกิติยบดีเทเวศม์ วันที่ 5 พฤษภาคม ถือเป็นวันสถาปนากระทรวงอุตสาหกรรม
@ พ.ศ. 2486 ย้ายที่ทำการกระทรวงการอุตสาหกรรมมาตั้งที่ กองบัญชาการ กองพลที่ 1
@ พ.ศ. 2488 ย้ายที่ทำการกระทรวงการอุตสาหกรรม มาตั้งที่วังกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เทเวศม์
@ พ.ศ. 2494 ย้ายที่ทำการกระทรวงการอุตสาหกรรม มาตั้งที่ ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ จนถึงปัจจุบัน
@ พ.ศ. 2495 เปลี่ยนชื่อกระทรวงการอุตสาหกรรมเป็น "กระทรวงอุตสาหกรรม" และปรับปรุง ส่วนราชการใหม่ โดยมีกรมในสังกัดดังนี้
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมโรงงานโลหกรรม (ตั้งใหม่)
- กรมโลหกิจ
- กรมวิทยาศาสตร์
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
@ พ.ศ. 2501 มีพระราชบัญญัติปรับปรุงส่วนราชการในกระทรวงอุตสาหกรรมใหม่ โดยมีกรมในสังกัด คือ
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมโลหกิจ
- กรมวิทยาศาสตร์
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
@ พ.ศ. 2506 มีพระราชบัญญัติปรับปรุงส่วนราชการในกระทรวงอุตสาหกรรมใหม่ โดยมีกรมในสังกัด คือ
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมวิทยาศาสตร์
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
- สำหรับกรมโลหกิจโอนไปสังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติที่ตั้งขึ้นใหม่ และเปลี่ยนชื่อ เป็นกรมทรัพยากรธรณี
@ พ.ศ. 2511 จัดตั้งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
@ พ.ศ. 2515 มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน ปรับปรุงส่วนราชการ ในกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ใหม่ สำหรับกระทรวงอุตสาหกรรมมีหน่วยราชการในสังกัด คือ
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมทรัพยากรธรณี
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- กรมวิทยาศาสตร์
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
- สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
@ พ.ศ. 2515 มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 276 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน จัดตั้ง สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
@ พ.ศ. 2515 มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 339 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม จัดตั้ง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจเทียบเท่ากรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
@ พ.ศ. 2518 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ในทะเล เป็นรัฐวิสาหกิจเทียบเท่ากรมสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม
@ พ.ศ. 2520 มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ เมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม
@ พ.ศ. 2520 มีพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจเทียบเท่ากรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม
@ พ.ศ. 2521 จัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
@ พ.ศ. 2522 มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 (ฉบับที่ 22) เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ สำหรับกระทรวงอุตสาหกรรมให้มีหน่วยราชการ ในสังกัด คือ
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมทรัพยากรธรณี
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
@ พ.ศ. 2522 มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2515 (ฉบับที่ 23) เมื่อวันที่ 24 มีนาคม สำหรับกระทรวงอุตสาหกรรมให้มีหน่วยราชการ ในสังกัด คือ
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมทรัพยากรธรณี
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
@ พ.ศ. 2527 จัดตั้งสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 (ประกาศในราชกิจจานุเษกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 101 ตอนที่ 103 หน้า 38 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2527)
@ พ.ศ. 2528 มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกการจัดตั้งองค์การเหมืองแร่ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2528 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม
@ พ.ศ. 2534 มีพระราชกฤษฎีกาปรับปรุงส่วนราชการในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ใหม่ เมื่อวันที่ 4 กันยายน สำหรับกระทรวงอุตสาหกรรมมีหน่วยราชการในสังกัด คือ
- สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมทรัพยากรธรณี
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
@ พ.ศ. 2540 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยุบองค์การเหมืองแร่ในทะเล เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์
@ พ.ศ. 2545 ถึงปัจจุบัน มีการปฏิรูประบบราชการ เปลี่ยนแปลง และปรับปรุงโครงสร้างการบริหารของส่วนราชการต่าง ๆ ใหม่ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม สำหรับกระทรวงอุตสาหกรรมมีหน่วยราชการในสังกัด คือ
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชื่ออังกฤษ Department of Industrial Promotion (DIP)
- กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
- สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
-----------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ชื่ออังกฤษ: Ministry of Industry (MOI)
กระทรวงอุตสาหกรรม พันธกิจ 2566-2570
1. ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
2. ขับเคลื่อนและพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม (Ecosystem) เพื่อเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0
3. ส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG
4. พัฒนาองค์กรสู่องค์กรดิจิทัลเพื่อยกระดับการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา https://www.industry.go.th
-----------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ชื่ออังกฤษ: Ministry of Industry (MOI)
กระทรวงอุตสาหกรรม วิสัยทัศน์
พ.ศ. 2560 - 2564 เป็นองค์กรนำการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน
พ.ศ. 2560 -2564 (ฉบับทบทวน สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2563) ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่ 4.0 เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของไทย ให้เติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 4.5 ภายในปี 2564
พ.ศ. 2563 - 2565 ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่ 4.0 เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ให้เติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 4.6 ภายในปี 2565
พ.ศ. 2566 - 2570 ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ที่มา https://www.industry.go.th/th/vision
-----------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ชื่ออังกฤษ: Ministry of Industry (MOI)
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ภารกิจ
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ขึ้นกับ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สักัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้
• กำกับ ควบคุม ดูแล และดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยแร่ กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมแร่ดีบุก กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในส่วนภูมิภาค
• จัดทำ เสนอ และประสานแผนพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมในระดับจังหวัด รวมทั้งประสานการพัฒนาและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนดังกล่าว
• ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
ที่มา : รายงานประจำปี สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม 2558
การพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve)
การพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) จะเป็นการพัฒนานวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยผลิต โดยการพัฒนานวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้จะส่งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะสั้นและระยะปานกลาง ซึ่งประกอบด้วย
1. อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต (Next-Generation Automotive)
2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronic)
3. อุตสาหกรรมท่องเที่ยวระดับคุณภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
4. อุตสาหกรรมเกษตรเชิงประสิทธิภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
5. อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Food for the Future)
การพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) เพื่อสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ซึ่งคาดหวังว่าอุตสาหกรรมใหม่นี้จะเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Growth engine) ในทศวรรษหน้า ซึ่งอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) 5 กลุ่ม ได้แก่
1. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics and Automation)
2. อุตสาหกรรมการขนส่งและการบิน (Aviation)
3. อุตสาหกรรมชีวภาพ : พลังงานและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) 4. อุตสาหกรรมดิจจิตอล (Digital)
5. อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ (Medical Hub)
----------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward