iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
---------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูลการพิจารณาความพร้อมของการเป็นอุตสาหกรรม 4.0 แยกระดับตามความพร้อมที่มีโดยแบ่งเป็น 6 ระดับ จากการแบ่งระดับองค์กรในแต่ละระดับได้มีการนำมาแบ่งเป็นกลุ่มเพื่อใช้ในการจัดการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่ม Newcomers ได้แก่ผู้ที่อยู่ในระดับ 0-1 โดยเป็นกลุ่มของผู้ที่พึ่งเริ่มเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ยังมีความสามารถในขั้นต่ำ ต้องวางแผนกำหนดและหาวิธีที่จะทำเพื่อให้สามารถยกระดับตัวเองให้สูงขึ้นต่อไป
กลุ่ม Learners ได้แก่ผู้ที่อยู่ในระดับ 2 กลุ่มนี้จะถือว่ามีความรู้และเข้าใจเป้าหมายในการเป็นอุตสาหกรรม 4.0 แล้วแต่ยังต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจให้เพิ่มมากขึ้น ในการยกระดับตัวเอง
กลุ่ม Leader ได้แก่ผู้ที่อยู่ในระดับ 3-5 กลุ่มนี้จะถือว่ามีการพัฒนายกระดับในหลายเรื่องด้าน ICT ทำให้พร้อมที่จะเป็นผู้นำหรือแบบอย่างในระดับมาตรฐานได้ดี แต่อาจต้องปรับปรุงในบางส่วนให้สมบูรณ์จนได้เป็นระดับ 5 สูงสุด
การตรวจสอบความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 จะช่วยให้เราสามารถประเมินตัวเองเทียบกับดัชนีตัวชี้วัดบริษัทที่มีความสำเร็จในด้านอุตสาหกรรม 4.0 เทียบดูว่าเราพร้อมเพียงใรในการที่จะก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เมื่อเทียบกับมาตรฐานแล้วเราอยู่ในระดับไหน ธุรกิจของเราในตอนนี้อยู่ที่ไหนเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆ เพื่อใช้ประกอบการวางแผนเพื่อปรับปรุงตัวเองให้สามารถก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้ต่อไป
---------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูล---------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูลอุตสาหกรรม 4.0 ที่ประเทศเยอรมัน เลือกใช้
อุตสาหกรรม 4.0 ของ ประเทศเยอรมันนี ซึ่งถือว่าเป็นต้นตำหรับของคำว่า Industry 4.0 และนำมาเพื่อใช้กำหนดตัวเทียบวัดประเมินความสามารถ และใช้สร้างตัวชี้วัดเพื่อวางแผนไปสู่เป้าหมาย เพราะการกำหนดขอบเขตนิยามที่ชัดเจน จะช่วยทำให้คนทำงานในองค์กรมีความใจในระดับความสามารถของตนเองได้ดีมองไปที่เป้าหมายเดียวกัน และมองเห็นปัญหาแนวทางในการเดินสู่เป้าหมายที่ตรงกันได้ดี
ประเทศเยอรมนีเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 เมื่อปี พ.ศ. 2544 และรัฐบาลเยอรมนีกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ประเทศ High-Tech strategy 2020 โดยผ่านกระทรวงศึกษาธิการและการวิจัย (Ministry of Educationand Research: BMBF) และกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงาน (Ministry for Economic Affairs and Energy: BMWI) โดยมีจุดมู่งหมายเพื่อขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมการผลิตแบบดิจิทัลให้มีความก้าวหน้า โดยการเพิ่มระบบดิจิทัลและการเชื่อมต่อกันระหว่างผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่า และแบบจำลองทางธุรกิจ นโยบายที่อยู่ระหว่างการขับเคลื่อนให้สำเร็จภายในระยะเวลา 10- 14 ปี เนื่องจากประเทศเยอรมนีเป็นต้นแบบการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 จึงมีโมเดลการประเมินพัฒนาการด้านอุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาจากองค์กรขั้นนำ ถูกนำไปใช้และอ้างถึงอย่างแพร่หลาย ในเยอรมันมักพบว่ามีการเลือกใช้ ทั้งในมาตรฐานเยอรมัน และมาตรฐานยูโร ได้แก่
1. Industries 4.0 Readiness ของ สมาคมอุตสาหกรรมวิศวกรรมเครืองกล ของประเทศเยอรมนี (VDMA) ซึ่งเป็นสมาคมอุตสาหกรรมเก่าแก่และมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป โมเดลการตรวจสอบความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 (The Readiness Model) เป็นแนวคิดในการที่จะประเมินความพร้อมของตนเอง และใช้ไปเปรียบเทียบบริษัทกลุ่มเดียวกัน หรือบริษัทที่มีความสำเร็จในการเป็นอุตสาหกรรม 4.0
ที่มาข้อมูลอ้างอิง https://www.industrie40-readiness.de/?lang=en
2. ความฉลาดทางนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation Quotient: DIQ) ของ สถาบันการจัดการนวัตกรรมยุโรป หรือ การประเมินการจัดการนวัตกรรม (The Innovation Management Assessment) ของ IMP3 rove Academy สถาบันการจัดการนวัตกรรมยุโรป (European Innovation Management Academy) ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งโดย คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เพื่อเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการนวัตกรรมสำหรับ SMEs ภาคเอกซนและภาครัฐในยุโรปให้ดีขึ้น
ความฉลาดทางนวัตกรรมดิจิทัล (DIQ) เป็นเครื่องมือประเมินสมรรถนะปัจจุบันของบริษัทในด้านดิจิทัลนวัตกรรม โดยประเมินใน 5 มิติหลักและมีประเด็นย่อยทั้งหมด 35 หัวข้อ ที่ได้รับการสำรวจจากบริษัทขั้นน่ามาแล้วว่า เป็นป้จจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการผลักดันนวัตกรรมดิจิทัลของธุรกิจสู่เชิงพานิชย์โดยรวมถึงในการขับเคลื่อนให้เกิดแนวความคิดใหม่ ๆ ด้านผลิตภัณฑ์ดิจิทัล การบริการกระบวนการผลิตและโมเดลทางธุรกิจ โดยมิติการประเมินดังกล่าว
การตรวจสอบความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 จะช่วยให้เราสามารถประเมินตัวเองเทียบกับดัชนีตัวชี้วัดบริษัทที่มีความสำเร็จในด้านอุตสาหกรรม 4.0 เทียบดูว่าเราพร้อมเพียงใรในการที่จะก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เมื่อเทียบกับมาตรฐานแล้วเราอยู่ในระดับไหน ธุรกิจของเราในตอนนี้อยู่ที่ไหนเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆ เพื่อใช้ประกอบการวางแผนเพื่อปรับปรุงตัวเองให้สามารถก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้ต่อไป
---------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูลความฉลาดทางนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation Quotient: DIQ)
อุตสาหกรรม 4.0 ของ ในส่วนของยุโรป ก็จะมีการกำหนดตัวชี้วัดความสามารถในการพัฒนานวัตกรรม และนำมาใช้กำหนดตัวเทียบวัดประเมินความสามารถและใช้สร้างตัวชี้วัดเพื่อวางแผนไปสู่เป้าหมาย เพราะการกำหนดขอบเขตนิยามที่ชัดเจน จะช่วยทำให้คนทำงานในองค์กรมีความใจในระดับความสามารถของตนเองได้ดีมองไปที่เป้าหมายเดียวกัน และมองเห็นปัญหาแนวทางในการเดินสู่เป้าหมายที่ตรงกันได้ดี โดยมีการดำเนินการในชื่อ
ความฉลาดทางนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation Quotient: DIQ) หรือ การประเมินการจัดการนวัตกรรม (The Innovation Management Assessment) ของ IMP3 rove Academy สถาบันการจัดการนวัตกรรมยุโรป (European Innovation Management Academy) ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งโดย คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เพื่อเพิ่มสมรรถนะการบริหารจัดการนวัตกรรมสำหรับ SMEs ภาคเอกซนและภาครัฐในยุโรปให้ดีขึ้น
ความฉลาดทางนวัตกรรมดิจิทัล (DIQ) เป็นเครื่องมือประเมินสมรรถนะปัจจุบันของบริษัทในด้านดิจิทัลนวัตกรรม โดยประเมินใน 5 มิติหลักและมีประเด็นย่อยทั้งหมด 35 หัวข้อ ที่ได้รับการสำรวจจากบริษัทขั้นน่ามาแล้วว่า เป็นป้จจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการผลักดันนวัตกรรมดิจิทัลของธุรกิจสู่เชิงพานิชย์โดยรวมถึงในการขับเคลื่อนให้เกิดแนวความคิดใหม่ ๆ ด้านผลิตภัณฑ์ดิจิทัล การบริการกระบวนการผลิตและโมเดลทางธุรกิจ โดยมิติการประเมินดังกล่าว ได้แก่
1) Digital Innovation strategy การประเมินภาพรวมและกลยุทธ์ขององค์กรต่อแนวโน้มธุรกิจในด้านการ พัฒนานวัตกรรมดิจิทัล
2) Digital Business Model การประเมินโมเดลธุรกิจที่มีการเชื่อมโยงและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างบริษัท และลูกค้า
3) Digital Processes การประเมินการพัฒนากระบวนการผลิตที่สามารถเข้าถึงการใช้ระบบอัตโนมัติ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดรวมถึงการใช้ระบบดิจิทัลกับการขายและการตลาด
4) Digital Ecosystem and Culture การประเมินความสามรถในการสร้างระบบนิเวศและวัฒนธรรมของ บริษัท ร่วมกับผู้จัดหาวัตถุดิบ (Supplier) คู่ค้า (Partner) การบ่มเพาะและการให้ผลตอบแทนแก่บุคลากรของ บริษัทในการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล
5) Enablers for Digital Innovation การประเมินสิ่งที่เป็นตัวช่วยทำให้เกิดการพัฒนาในค้านนวัตกรรม ดิจิทัล ซึ่งครอบคลุมฝ่ายทรัพยากรบุคคล แหล่งเงินทุน ระบบ IT ที่มีค'วามยืดหยุ่น มีการบริหารจัดการความเสี่ยง และมีการ ตระหนักถึงความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
รูปความฉลาดทางนวัตกรรมดิจิทัล (DIQ)
ที่มา :
- IMP3 rove Academy - European Innovation Management Academy, Germany
- https://www.ftpi.or.th/wp-content/uploads/2019/02/18IN56WSPReadiness4.0-ThitiwanS17Aug18.pdf
-
การตรวจสอบความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 จะช่วยให้เราสามารถประเมินตัวเองเทียบกับดัชนีตัวชี้วัดบริษัทที่มีความสำเร็จในด้านอุตสาหกรรม 4.0 เทียบดูว่าเราพร้อมเพียงใรในการที่จะก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เมื่อเทียบกับมาตรฐานแล้วเราอยู่ในระดับไหน ธุรกิจของเราในตอนนี้อยู่ที่ไหนเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆ เพื่อใช้ประกอบการวางแผนเพื่อปรับปรุงตัวเองให้สามารถก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้ต่อไป
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward