ทำไมโครงการด้านข้อมูล (Data) จึงมักไม่ประสบความสำเร็จ
ปัญหาที่มักพบในการจัดทำโครงการด้านงานข้อมูล (Data) และสารสนเทศ (information) คือ องค์กรที่นำเอางานด้านนี้มาใช้มักไม่ประสบความสำเร็จ แม้ว่าในปัจจุบันเครื่องมือใช้ทำงานจะมีการพัฒนามีความก้าวหน้าและทันสมัยไปมาก จะพบว่าหลายหน่วยงานส่วนใหญ่นั้นยังไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานในด้านนี้ การพัฒนางานสารสนเทศและข้อมูลในหลายองค์กรยังล้มเหลวอยู่เสมอ อาจสรุปที่มาของปัญหาได้เป็น
- ผู้บริหารองค์กรขาดความเข้าใจ และไม่ได้ให้ความสำคัญในงานข้อมูลสารสนเทศจริงจัง หลายครั้งเป็นเพียงการพูดไปตามกระแสแต่ไม่เห็นประโยชน์ที่แท้จริง จึงขาดการส่งเสริมในงานด้านนี้ต่อเนื่อง
- ผู้บริหารองค์กรขาดวิสัยทัศน์ในงานสารสนเทศ หลายครั้งเป็นการพยายามทำตามผู้อื่นที่เห็นเขาสำเร็จ เมื่อลอกการทำงานมากลับหาเป้าหมายของตนเองไม่เจอ เกิดการทำงานที่สะเปะสะปะไม่มีทิศทาง
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทางธุรกิจขององค์กร ขาดความเข้าใจและไม่ได้ให้ความสำคัญในงานข้อมูลสารสนเทศจริงจัง หลายที่อาจไม่เข้ามาเกี่ยวข้องในการออกแบบและส่งเสริมการใช้ข้อมูลในธุรกิจจริง (Business Units are not Involved)
- บางครั้งการทำงานด้านข้อมูลมุ่งทำในส่วนของทฤษฎีที่มากเกินไป ทำให้ยากในการบรรลุผลในระยะสั้นเพราะต้องทำตามขั้นตอนและเริ่มทีละส่วน
- การมองงานสารสนเทศและข้อมูลเป็นเรื่องทันสมัย คิดว่าการทำงานดังกล่าวจะทำให้องค์กรดูทันสมัยเป็นองค์กรแห่งอนาคต ขาดความต้องการทำงานเพื่อใช้ข้อมูลจริงจัง ทำให้ไม่มีความชัดเจนในเป้าหมายการทำงาน
- ขาดผู้ที่เข้าใจในการการวางภาพรวม ENTERPRISE ARCHITECTURE ที่เป็นแนวปฏิบัติ จึงทำให้เกิด DATA SILO จึงยากในการรวบรวม วิเคราะห์ และประมวลผล
- การขาดผู้รับผิดชอบข้อมูล (Data Owner) หรือการที่ไม่ได้มีการกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนทำให้ระบบฐานข้อมูลที่ทำขึ้นขาดการเข้ามาดูแลจัดการข้อมูลและไม่มีการดูแลนำเข้าข้อมูลต่อเนื่อง
- การขาดข้อมูลที่เพียงพอและเหมาะสม (Data Source) การใช้ข้อมูลที่ไม่มีคุณภาพและหลายครั้งข้อมูลที่ได้มีปริมาณไม่เพียงพอหรือผิดพลาดทำให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาโมเดลในงานสารสนเทศ
- ให้ความหวังสูงกับโครงการ DATA ANALYTICS มากเกินไป (OVER PROMISING)
- การทำงานที่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแผนกด้าน IT ทำให้ยากในการทำงาน เพราะงานด้านข้อมูลที่หน่วยงานจะต้องมีส่วนในการทำงานร่วมกัน เมื่อมอบหมายให้เพียงหน่วยงานไอทีทำให้การไปประสานข้อมูลทุกอย่างเพียงลำพังทำได้ยากหรืออาจไม่ได้ข้อมูลเลย
- ขาดเข้าใจด้านความปลอดภัยของข้อมูล (Data Privacy, Data Security และ Data Velocity) โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่มีการให้ความสำคัญกับ มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศตามวิธีการปลอดภัย พ.ศ. 2555
- ขาดการกำหนด TIME BOXING ของ SANDBOX หรือ INNOVATION PROJECT
- หลายองค์กรคิอว่าคิดว่าขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data driven) ก็เพียงพอในการทำงานข้อมูล เมื่อลงระบบได้ก็นับเป็นความสำเร็จแล้ว แต่ในความจริงควรต้องกำหนดดโดย ให้วัตถุประสงค์เป็นตัวขับเคลื่อน การทำงาน (Purpose Driver) ซึ่งจะทำให้การทำงานไปได้ไกล
- การขาดงบประมาณด้านไอที ที่มีการกำหนดสัดส่วนการทำงานด้านไอทีที่เหมาะสม ควรต้องมีการกำหนดสัดส่วน งบประมาณที่จะมีในแต่ละปี ให้เหมาะสม ไม่ควรให้มีการเขียนของบที่ละครั้ง ๆ ไป ต้องกำหนดเป้าหมา ยแผนงาน คนรักผิดชอบ และงบประมาณที่จะต้องใช้ให้ขัดเจน
----------------------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมดูที่
Big Data รวมข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
----------------------------------------------------------------