ข้อควรระวังในการใช้ Cloud Computing
มีการกล่าวถึงข้อดีของระบบ Cloud Computing และเทคโนโลยีในงานด้าน Cloud Computing กันมากทำให้มีข้อสงสัยตามมาว่าแล้วระบบนี้จะข้อเสียหรือข้อควระวังอะไรบ้าง ที่เราจะต้องนำมาพิจารณาในการตัดสินใจที่จะเลือกใช้ระบบไหน อาจสรุปข้อเสียหรือข้อควรระวัง ได้เป็น
- ความมั่นคงปลอดภัย (Security aspects) สำหรับประเด็นด้านตวามมั่นคงปลอดภัยบนระบบ Cloud Computiทg ที่ผู้ใช้งานควรระวัง คือ การขาดการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม (Lack of security) ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้เกิดการสูญหายของข้อมูล (Data loss) รวมถึงกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Regulatory) เนื่องจากการทำงานบนระบบ Cloud Computing นั้นผู้ให้บริการนอกจากเป็นผู้จัดหาทรัพยากร ทางด้าน IT มารองรับความต้องการแล้ว ผู้ให้บริการจำป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่อง ของระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสมอีกด้วย และเนื่องจากข้อมูลและระบบรักษาความมั่นดปลอดภัยผู้ให้บริการเป็นผู้จัดหาให้ทั้งหมด ดังนั้น ผู้ใช้งานอาจสูญเสียการควบคุมระบบ (Losng of control) บางส่วน รวมถึงการผูกติดกับผู้ให้บริการที่เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานแอพพลิเคชั่น การประมวลผลข้อมูล หรือ ฐานข้อมูล จึงเป็นข้อควรระวังในการใช้บริการ Cloud Computing ส่งผลให้ข้อตกลงการให้และการใช้บริการระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการมีบทบาทอย่างมากในการลดความเสี่ยงนี้
- โครงสร้างพื้นฐานทางด้านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Infrastructure aspects) การใช้งาน Cloud Computing เป็นการใช้บริการผ่านการเชื่อมต่อบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศในเรื่องของความครอบคลุมพื้นที่การให้บริการ ส่งผลต่อความสามารถในการเข้าถึงการใช้บริการ Coud Computing ซึ่งมีข้อจำก้ตอยู่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเริ่มมีการผสมผสานระหว่างบริการ Cloud Computing กับโครงข่ายบรอดแบนด์ไร้สาย เช่น โครงข่าย 3G ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถพิจารณานอกเหนือจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ WiFi และ ADSL ทั้งนี้ คาดว่าโครงข่ายบรอดแบนด์ไร้สายจะมีการขยายพื้นที่ให้บริการให้ครอบคลุมพื้นที่และจำนวนประชากรมากขึ้นในอนาคตอันใกล้
- การใช้เทคโนโลยีแบบ Cloud Computing จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต จึงต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ถ้าต้องเดินทางไปในที่ ๆ อาจไม่มีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ข้อมูลและแอปพลิเคชันที่มีก็จะไม่สามารถเรียกใช้ได้อีกต่อไป และควรต้องมีแผนเตรียมความพร้อมไว้ด้วยว่าถ้าเกิดปัญหาระบบอินเตอร์เน็ตของเรามีความเร็วไม่เพียงพอ หรือใช้งานไม่ได้ควรดำเนินการอย่างไร หากขาดอินเตอร์เน็ตการใช้บริการ Cloud computing ก็จะมีปัญหาได้
- แอปพลิเคชันในระบบของ Cloud computing โดยส่วนใหญ่ จะมีจำนวนฟังก์ชันให้เรียกใช้งานน้อยกว่าแอปพลิเคชันในรูปแบบ desktop อาทิเช่น Google Docs นั้นจะมีจำนวนฟังก์ชันน้อยกว่า Microsoft Office
- แอปพลิเคชันในระบบของ Cloud computing ส่วนใหญ่จะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างแอปพลิเคชันที่เรียกใช้ผ่านทาง web browser และแอปพลิเคชันทางฝั่งของผู้ให้บริการที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต อาจมีความล่าช้าในการใช้งานในแอปพลิเคช้น ตัวอย่าง เช่น Google Docs ซึ่งบ่อยครั้งที่การตอบสนองของแอปพลิเคชันนั้นมีความล่าช้ามากในระดับที่ไม่สามารถยอมรับได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแอปพลิเคชันในรูปแบบของ Cloud computing ในปัจจุบันยังไม่สามารถแทนที่แอปพลิเคชันในรูปแบบของ desktopได้
- การที่ข้อมูลและแอปพลิเคชันของเราต้องไปติดตั้งอยู่ที่ระบบ Cloud computing ของผู้ให้บริการ หากผู้ให้บริการนั้นหยุดให้บริการขึ้นมาเราต้องเสี่ยงต่อการสูญเสียข้อมูลและแอปพลิเคชันเหล่านั้นไป ในกรณีนี้ถ้าเราผู้ใช้บริการไม่สามารถทำการ backup ข้อมูลและแอปพลิเคชันของตนออกมาได้ทันเวลา ก็มีโอกาสที่จะสูญเสียข้อมูลและแอปพลิเคชันเหล่านั้นไปเลย
- ความยืดหยุ่นในการใช้งาน (Flexibility aspects) ความยืดหยุ่นในการใช้งาน Cloud Computing เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ผู้ใช้จำเป็นต้องทำความเข้าใจ เนื่องจากผู้ให้บริการบางรายอาจมีข้อกำหนดในการใช้งาน เช่น ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการติดตั้งแอพพลิเคชั่นฉพาะด้านที่ต้องการได้เอง อันเป็นผลมาจากความเสี่ยงในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่าย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของเครือข่ายที่กระทบกับผู้ใช้งานรายอื่นที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์เดียวกัน หรือ ผู้ให้บริการมีข้อจำกัดเรื่องของการตั้งค่าและปรับแต่ง internal software ที่ใช้เฉพาะภายในองค์กรที่ผู้ใช้ต้องการย้ายการใช้งานไปอยู่บนระบบ Cloud Computing เนื่องจากระบบโครงสร้างของ Cloud Computing อาจจะไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนผ่านจากระบบ IT แบบดั้งดิม อันเป็นผลมาจากความแตกต่างของการออกแบบสถาปัตยกรรมของซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่น ดังนั้น ประเด็นเหล่านี้ควรมีการพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้ให้บริการก่อนที่จะเลือกใช้บริการ
- เนื่องจากในปัจจุบันมีการแข่งขันในการให้บริการ Cloud computing ในรูปแบบ SaaS จำนวนมาก หลายที่เปิดให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการ เช่น GMail Facebook หรือ Google Apps และเราก็เริ่มใช้บริการของฟรีอย่างมาก เกิดเป็นแนวคิดว่าวันใดที่ผู้ให้บริการเปลี่ยน นโยบายจากให้ใช้ฟรีเปลี่ยนมาเป็นคิดค่าบริการ ผู้ใช้บริการอาจจำเป็นต้องกลับมาพิจารณาว่าตนจะยังคงใช้บริการเหล่านั้นต่อหรือไม่ หรือทำการ backup ข้อมูลต่าง ๆ แล้วไปใช้บริการอื่นแทน
- เรื่องเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (privacy) ของข้อมูลที่เราติดตั้งไว้ที่ผู้ให้บริการ ข้อมูลเหล่านั้นอาจจะถูกเรียกใช้โดยผู้ให้บริการเมื่อใดก็ได้ การเลือกใช้บริการในรูปแบบของ Cloud computing นั้น ควรที่จะต้องพิจารณาในเรื่องของ privacy policy กันเป็นอย่างมาก เนื่องจากเรื่องของ privacy จะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในงานสารสนเทศ และมีการกล่าวถึงปัญหาในด้านมากด้วย ทำให้หลายองค์กรยังไม่กล้าหรือไม่อนุญาตให้บุคลากรของตนส่งอีเมล์ที่มีข้อมูลสำคัญผ่านทางเมลลสาธารณะ เช่น Hotmail หรือ Gmail
ดัดแปลงจากที่มา E-book บริการของ Cloud computing
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่