iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ERP การคัดเลือกระบบ ERP โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process; AHP)

 

ERP การคัดเลือกระบบ ERP โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process; AHP)

การคัดเลือกระบบ ERP มีแนวคิดในการดำเนินการคัดเลือกได้หลายวิธี ในบทความนี้จะนำเสนอการใช้ กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) มาช่วยในการคัดเลือก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่ต้องตัดสินใจในการคัดเลือกระบบ สามารถมีข้อมูลมาช่วยประกอบในการคัดเลือกระบบให้ได้ระบบที่เหมาะสมกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่มีได้ดียิ่งขึ้น 

การจัดหาระบบ ERP หรือแม้แต่งานระบบสารสนเทศต่าง ๆ จะต้องมีการประเมินและคัดเลือกระบบที่เหมาะสม ซึ่งอาจต้องอาศัยหลักเกณฑ์ในหลายด้าน องค์ประกอบหลายอย่างมาช่วยประกอบในการตัดสินใจ หรือที่เราเรียกว่า การตัดสินใจแบบพหุเกณฑ์ (Multiple Criteria Decision Making; MCDM) ซึ่งลักษณะปัญหาการตัดสินใจแบบพหุเกณฑ์ สามารถนำเอา กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process; AHP) มาประยุกต์ใช้ได้โดยใช้โปรแกรมที่มีการเขียนไว้เพื่อช่วยในการคัดเลือกเช่น โปรแกรม Expert Choice ซึ่งจะช่วยในการตรวจสอบคะแนนประเมิน (Preference Score) ของแต่ละระบบ ERP และนำมาประกอบช่วยในการตัดสินใจเลือกระบบ ERP โดยอาจใช้การคัดเลือกระบบที่มีคะแนนประเมินมากที่สุดหรือจะใช้ประกอบเพื่อตัดสินก็ได้

กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP)  ในการคัดเลือกระบบ ERP กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เป็นหนึ่งในเครื่องมือ เพื่อช่วยในการตัดสินใจแบบพทุเกณฑ์ (Multile Criteria Decision Making) ประโยนช์ของกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ คือ สามารถใช้ตัวแปรแบบพหุเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การตัดสินใจ ท้้งแบบรูปธรรม (Objective) และนามธรรม (Subjective) ในการประเมินทางเลือกเพื่อให้ได้มาซึ่งการตัดสินใจ กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เป็นกระบวนการที่ไม่สลับชับซ้อนซึ่งถูกออกแบบมา เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์สามารถแสดงลำดับความสำคัญของเกณฑ์และทางเลือก ซึ่งได้มาจากการปรียบเทียบเป็นคู่ (Pairvise Relative Comparisons) แทนการให้คะแนนเป็นตัวเลขตามความพอใจซึ่งมีความยากกว่า กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ยังสามารถแสดงวิธีการวัดและแปลผลความสอดคล้อง (Consistency) ของการตัดสินใจ วิธีการสังเคราะห์แง่มุมอันหลากหลายของปัญหาที่ชับซ้อนไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นหนึ่งเดียว และวิธีการในการค้นหากรณีที่ผลลัพธ์จะเปลี่ยนแปลงถ้าข้อมูลและการตัดสินใจเปลี่ยนไปกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย Thomas L Saaty (1977) เป็นเทคนิคที่ใช้จัดการและรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์หาแนวทางเลือกที่เหมาะสมกับการตัดสินใจในปัญหาที่ชับซ้อน โดยการสร้างรูปแบบปัญหาให้เป็นโครงสร้างลำดับชั้น และนำข้อมูลที่ได้จากความคิดเห็นของผู้ตัดสินใจมาวิเคราะห์หาบทสรุปของแนวทางเลือกที่เหมาะสม เป็นกระบวนการช่วยในการตัดสินใจโดยอาศัยหลักการของการตัดสินใจเบบพหุเกณฑ์ วิธีทำจะเป็นการจัดเกณฑ์ของเป้าหมาย ซึ่งต้องการศึกษาให้อยู่ในระดับบน ส่วนในระดับที่ต่ำลงมาจะเป็นเกณฑ์หลัก (Criteria) และเกณฑ์ย่อย (Sub-Criteri) ตามลำดับ จนถึงทางเลือกซึ่งจะเป็นระดับต่ำสุดของการจัดลำดับชั้น

การวิเคราะห์จะใช้หลักการเปรียบเทียบเกณฑ์เป็นคู่ (Pairvise Comparison) ซึ่งค่าความสำคัญในการเปรียบเทียบจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ มีความสำคัญเท่ากันจนถึงมีความสำคัญมากกว่าอย่างยิ่ง ซึ่งประกอบด้วยมีความสำคัญเท่ากัน มีความสำคัญมากกว่าพอประมาณ มีความสำคัญมากกว่าอย่างเด่นชัด มีความสำคัญมากกว่าอย่างเด่นชัดมาก และมีความสำคัญมากกว่าอย่างยิ่ง ซึ่งสามารถเปลงมาเป็นตัวเลขระหว่าง 1 ถึง 9 ผลจากการเปรียบเทียบในแต่ละคู่เมื่อทำเรียบร้อยแล้ว ก็จะสามารถคำนวณหาน้ำหนักของแต่ละเกณฑ์แสดงออกมาเป็นตัวเลข เพื่อแสดงให้ผู้บริหารได้เห็นถึงความสำคัญของแต่ละเกณฑ์อย่างชัดเจน กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์จะเหมาะสมสำหรับการตัดสินใจแบบพหุเกณฑ์เนื่องจาก

1) สามารถใช้กับการตัดสินใจคนเดียวหรือใช้กับการตัดสินใจที่มีผู้ตัดสินใจเป็นกลุ่มได้ดี เนื่องจากสามารถช่วยอภิปรายหาวัตถุประสงค์รวมและทางเลือกได้ในขณะที่สร้างโครงสร้างการตัดสินใจ

2) เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญในขั้นตอนการเปรียบเทียบน้ำหนักของเกณฑ์การตัดสินใจ

3) สามารถใช้งานได้ดีกับปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน กระบวนการนี้มีขั้นตอนดำเนินการไม่ยุ่งยาก และมีความยืดหยุ่นสูงในการปรับเปลี่ยนน้ำหนักความสำคัญหรือเกณฑ์การตัดสินใต่าง ๆ ได้

4) ใช้งานได้ทั้งปัญหาที่ประกอบด้วยปัจจัยที่ตีค่าเป็นเงินได้ และที่ตีค่าเป็นเงินไม่ได้

5) การกำหนดปัญหาตามโครงสร้างกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ช่วยให้กลุ่มผู้ตัดสินใจไม่ลืมเกณฑ์การตัดสินใจหรือวัตถุประสงค์ตลอคจนทางเลือกที่จำเป็นในขณะ
ทำการตัดสินใจ เนื่องจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีจำนวนมาก สลับซับซ้อน และ ไม่สามารถจำได้หมดในขณะที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

ขั้นตอนของกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ประกอบด้วย

1) กำหนดวัตถุประสงค์ของปัญหาที่จะทำการตัดสินใจ

2) กำหนดปัจจัยที่ใช้เป็นเกณฑ์การตัดสินใจสำหรับปัญหาที่กำลังพิจารณาอยู่

3) กำหนดรูปแบบของปัญหาเป็นโครงสร้างลำคับชั้นของเกณฑ์หลัก เกณฑ์ย่อย และทางเลือกที่เกี่ยวข้อง

 

-----------------------------------------------

ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง ERP คลิกที่นี่

ERP ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning)

-----------------------------------------------

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward