iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Gartner พัฒนาการของเทคโนโลยี Hype Cycle โดย Gartner
 
 
พัฒนาการของเทคโนโลยี Gartner Hype Cycles Technology สรุปรายปี ข้อมูลพัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีการนำเสนอโดยบริษัท Gartner เป็นหนึ่งในข้อมูลที่มักจะถูกอ้างถึง ที่ผ่านมา Gartner จะนำเสนอพัฒนาการของเทคโนโลยีผ่านกราฟที่เรียกว่า Hype Cycle โดย Gartner โดยตั้งสมมุติฐานไว้ว่าเทคโนโลยีทุกชนิดจะมีวงจรการเจริญเติบโตที่เหมือนกันกับ วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle, PLC) (ดูเพิ่มเติม วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle, PLC)  และ วงจรชีวิตของผู้ประกอบการ (Entrepreneur Lifecycle))
กราฟ Hype Cycles ของ Gartner มาจากการเก็บข้อมูลผลิตภัณท์ประมาณ 100 รายการ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้ช่วยให้เราเข้าใจถึงทิศทางเทคโนโลยีที่จะมีในอนาคต จะช่วยบอกความเสี่ยงและโอกาสที่แท้จริงของการวางแผนพัฒนาหรือลงทุนในงานด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เพื่อให้เราสามารถกำหนดแผนเพื่อปรับกระบวนการทำงานที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสม ช่วยในการพิจารณาทิศทางเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต การเรียนรู้ของการพัฒนาเครื่องมือ รวมถึงการคาดการณ์อนาคตของเทคโนโลยีและแนวทางในการจัดการที่มีต่อไป เพื่อให้เราได้มีข้อมูลเชิงลึกนำไปใช้ช่วยในการวางแผนและประกอบการการตัดสินใจให้รวดเร็วและถูกต้องอย่างชาญฉลาด 
วิธีการวิเคราะห์ Hype Cycles เราสามารถใช้การดูภาพ Hype Cycles มาช่วยในการรับรู้เกี่ยวกับทิศทางของเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ ภายในข้อมูลของทิสทางอุตสาหกรรมและความต้องการของสังคมที่จะมีในอนาคต วิเคราะห์หาความเสี่ยงที่จะมีในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Hype Cycle แต่ละรายการจะเจาะลึกลงไป โดยแบ่งระยะออกเป็นห้าระยะสำคัญตามวงจรชีวิตของเทคโนโลยีและการนำมาใช้ประโยชน์เป็น 5 ระยะ คือ
1. ระยะเริ่มต้น (Technology trigger) ระยะนี้เทคโนโลยีต่างๆ อยู่ในช่วง proof-of-concept, มีการพูดถึงในสื่อหรือเอกสาร แต่ยังไม่มีของที่ใช้ได้จริง (usable products) เป็นระยะแรกของการเริ่มต้นก่อนจะเข้ามาของเทคโนโลยีนั้น ๆ หรือกระแสเกิดใหม่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมหรือเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ ช่วงระยะแรกของการคิดค้นและสร้างนวัตกรรม (Ideation) หรือขั้นตอนสตาร์ทอัพ (Start Up) ขั้นตอนนี้จะอยู่ในขั้นตอนการคิดค้นเพื่อหาวิธีสร้างนวัตกรรมหรือสินค้าบริการแบบใหม่ ส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ที่รับรู้ได้จากการเปิดตัวสินค้า, การแสดงตัวเทคโนโลยีนั้นต่อสื่อและอื่น ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นจากระยะนี้ คือ การทำเทคโนโลยีนั้นให้เป็นที่รู้จักของสังคม แต่หลายครั้งเทคโนโลยีนั้นก็อาจจะยังไม่สามารถหากำไรนำมาทำธุรกิจได้ หรือยังไม่สามารถใช้ได้จริง การคิดต้นแนวทางการพัฒนาสินค้าหรือบริการจะมีการใช้เงินหรือการลงทุนยังไม่มาก ที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นงบในการวิจัยและพัฒนา ในช่วงนี้อาจสามารถสร้างรายได้กลับมาบ้าง เช่น การที่กลุ่มสตาร์ทอัพ (Start Up) ส่วนใหญ่มักทำกันคือนำเสนอแนวคิดขายเป็นลิขสิทธิ์หรือระดมทุน ซึ่งช่วงนี้จะยังพอสร้างรายได้หากพิจารณากราฟรูปแบบนี้จะพบว่าเป็นการริเริ่มช่วงแรกของธุรกิจ อยู่ในเรื่องของการวิจัยและพัฒนาหรือ R&D ด้วยกันทั้งสิ้น ในขั้นนี้จึงเป็นขั้นสำคัญในการผลักดันเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเข้าไปใช้ในสังคมให้ได้ และเกิดกลายเป็นธุรกิจขึ้นมาได้ กิจกรรมในช่วงนี้ จะเป็นช่วงแนะนำสินค้า (Introduction Stage) เป็นช่วงแรกในการผลิตสินค้าก่อนออกจำหน่าย เป็นสินค้าหน้าใหม่ยอดขายมีน้อย ระยะนี้ต้องทำการประชาสัมพันธและแนะนำโปรโมทผลิตภัณฑ์ประชาสัมพันธ์ให้คนได้รู้จัก เช่น การทำโฆษณา, การจัดโปรโมชั่น, การแจกสินค้าทดลอง หรือแม้แต่การรีวิวให้เห็นถึงความหน้าใช้หน้าซื้อ 
2. ช่วงเจริญเติบโตสู่จุดสูงสุดที่คาดหวัง (Peak of Inflated Expectations หรือ Growth Stage) ความต้องการในเทคโนโลยีระยะนี้จะมีสูงบางทีอาจจะมีสูงเกินจริง เริ่มมีเอกสารหรือสื่อเผยแพร่ที่พูดถึงความสำเร็จของการใช้งาน (success stories) ช่วงนี้จะเป็นการมุ่งส่งเสริมผลิตภัณฑ์หรือสินค้านั้นให้เจริญเติบโต จะเป็นขั้นตอนต่อมาจากระยะแรกที่เริ่มมียอดขายเพิ่มขึ้นเนื่องจากเริ่มเป็นที่รู้จัก บางสินค้าขายดีเพราะสินค้าเริ่มเป็นที่ติดตลาดและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค แต่ก่อนที่จะเกิดช่วงนี้ได้จะต้องผ่านช่วงแนะนำสินค้าในช่วงแรกก่อน การที่จะผ่านไปได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับการประชาสัมพันธ์ งบประมาณการตลาด และช่องทางการโปรโมท การไต่ระดับของเทคโนโลยีเข้าสู่จุดสุดยอด เป็นการทำให้เกิดกระแสข่าวมากมายที่เกี่ยวกับของเทคโนโลยีนั้น การใช้สื่อในด้านต่าง ๆ และมีการใช้อย่างแพร่หลายเพียงไร บางเทคโนโลยีอาจจะประสบความสำเร็จอย่างมากมายแต่ก็มีบางเทคโนโลยีที่อาจจะไม่ผ่านระยะนี้ต้องล้มเหลวและสูญหายไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาเทคโนโลยีนั้นว่าจะสามารถดันการคิดค้นตัวเองเข้าถึงจุดความสำเร็จได้มากน้อยแค่ไหน เทคโนโลยีที่สามารถไปถึงสู่จุดสุดยอดได้อาจจะกลายเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และจะสามารถทำรายได้มากมายมีกำไรมหาศาลมากมายคืนกลับผู้ลงทุนได้ สิ่งสำคัญในช่วงนี้คงเป็นการบริการจัดการรวมถึงการสื่อสารพูดคุยกับลูกค้า สอบถามความคิดเห็นทั้งก่อนซื้อและหลังซื้อสินค้าหรือแม้แต่หลังใช้สินค้า โดยอาจสอบถามพูดคุยเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้าและทำการสอบถามผลการใช้สินค้า หาข้อบกพร่องที่อาจจะมีผลกระทบต่อแบรนด์ บริการที่ดีจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์คือ เกิดความประทับใจของลูกค้าที่มีต่อสินค้าและแบรนด์ เกิดการช่วยประชาสัมพันธ์บอกต่อ เกิดการกลับมาซื้อซ้ำ และเกิดสมาชิกที่จงรักภักดีต่อสินค้าเป็นลูกค้าประจำ
3. ช่วงอิ่มตัว (Trough of disillusionment หรือ Maturity Stage) ระยะที่เริ่มถดถอยหลายอย่างเริ่มตกต่ำกับการใช้งานจริง (implementation) เกิดการลังเลที่จะลงทุนหรือพัฒนาว่าควรมีเพิ่มต่อไปหรือไม่ เป็นจุดหลังจากที่ผลิตภัณฑ์ได้ขึ้นถึงสู่จุดสุดยอดไปแล้ว เทคโนโลยีหรือกระแสนั้นจะเริ่มได้ความนิยมลดลงหรือมีกระแสที่ตกลง จุดที่ยอดขายอยู่ในระดับสูงที่สุดและกำลังจะเริ่มมียอดขายลดต่ำลง หรืออาจคงที่ไม่สามารถเพิ่มยอดให้สูงไปได้อีกแล้ว ซึ่งจะมาถึงจุดที่สื่อต่าง ๆ นั้นหมดความสนใจลงในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนั้น ๆ ไป กระแสและเทคโนโลยีนี้จะหลายเป็นเรื่องที่ไม่ทันสมัย ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือเรื่องราวที่คนอยากรู้และอยากตามอีกต่อไป แม้กระทั้งผู้สร้างหรือผู้คิดค้นเองก็ไม่มีจุดประสงค์ที่จะสร้างเรื่องราวให้กับเทคโนโลยีเพื่อเป็นกระแสอีกต่อไป จุดของ Phase นี้เกิดขึ้นกับเทคโนโลยีส่วนใหญ่ที่ไม่สามารถรักษากระแสของตัวเองได้นาน แต่บางเทคโนโลยีนั้นก็สามารถรักษากระแสได้ ทำให้การตกลงของกระแสนั้นจะเกิดช้าหรือค่อย ๆ เกิดไป  
ผู้ผลิตจะต้องเริ่มคิดและวางแผนมองหากลยุทธ์เพื่อให้ยอดขายมีการลดน้อยลงมากที่สุด หรือพยายามรักษาระดับของยอดขายไม่ให้ลดลงหรือให้คงที่นานที่สุด ในระหว่างนี้ควรเริ่มมองหาความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่หรือสินค้าสิ่งใหม่เพิ่มเติม อาจเพิ่มสินค้าใหม่เพื่อออกมาตอบโจทย์และความต้องการของลูกค้าเพิ่มเช่น จัดโปรโมชั่น
4. ผู้บริโภคนั้นเริ่มเข้าใจว่าเทคโนโลยีนั้นมีประโยชน์หรือมีผลต่อชีวิต (Slope of Enlightenment) เทคโนโลยีเหล่านี้เริ่มให้ประโยชน์กับองค์กรแบบชัดเจน เริ่มมีการต่อยอดพัฒนาปรับปรุงไปในรูปแบบต่างๆ เป็น generation 2, 3… ผู้ผลิตได้มีการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เป็นระยะที่ผู้บริโภคเริ่มเข้าใจว่าเทคโนโลยีนั้นมีประโยชน์หรือมีผลต่อชีวิตอย่างไร และเทคโนโลยีดังกล่าวเริ่มไม่ใช่กระแสแบบอดีต แต่พิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้ได้จริง อยู่ในชีวิตประจำวันได้จริง ซึ่งนี่เป็นผลจากการทำงานหนักและการมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีนี้ขององค์กรต่าง ๆ ด้วยการทำงานหนักขององค์กรเหล่านี้ ทำให้เข้าใจความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ เมื่อเข้าใจเทคโนโลยีเหล่านี้ว่ามีผลอย่างไรต่อชีวิตแล้วก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ใช้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เพื่อช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ นั้นเข้าใจว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยธุรกิจให้ดีขึ้นได้อย่างไร ซึ่งในขั้นนี้จะเกิดสินค้ามากมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเหล่านี้
5. เทคโนโลยีนั้นเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน (Plateau of Productivity) เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกใช้งานในชีวิตประจำวันทั่วไป (Mainstream adoption), ตลาดเริ่มมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวาง  จะเป็นขั้นสุดท้ายของเทคโนโลยีที่ได้กลายมาเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่น่าสนใจอีกต่อไป โดยเทคโนโลยีนี้จะถูกใช้มากมายในสังคมแล้ว การใช้เทคโนโลยีนี้อยู่ในจุดที่มีความนิ่งและคงที่แล้ว ซึ่งหากเทคโนโลยีนั้นมีการปรับปรุงหรือมีการดัดแปลงให้ดีขึ้นก็จะเข้าไปสู่วัฏจักรแรกต่อไป หรือที่เราเรียกกันว่า New S-Curve
ใน Hype Cycle นี้ยังมีการแสดงข้อมูลอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกหลายเรื่องในกราฟ เช่น การแบ่งอายุขัยของเทคโนโลยีนั้น ๆ ว่า มีความสำคัญและอยู่ในการใช้งานหรือกระแสสังคมเป็นเวลานานแค่ไหน โดยได้มีการแบ่งช่วงอายุจากเริ่มต้นไปจนน้อยกว่า 2 ปี และสูงสุดจนถึงมีอายุมากกว่า 10 ปี ซึ่งจะเป็นข้อดีบอกให้นักการตลาดหรือนักนวัตกรรม สามารถล่วงรู้ได้ว่าเทคโนโลยีอันไหนที่จะมีเวลาคงอยู่ยาวนานหรือจะหายไปอย่างรวดเร็ว

Hype Cycles จะสามารถช่วยเราในการจัดการธุรกิจเทียบกับทิศทางเทคโนโลยี ช่วยลดความเสี่ยงในการตัดสินใจลงทุนด้านเทคโนโลยี เปรียบเทียบความเข้าใจที่เกี่ยวกับคุณค่าทางธุรกิจในเทคโนโลยี ว่ามีโอกาสดีขึ้นหรือลดลง

จากที่กล่าวมากราฟจะแนะนำเราว่าสามารถที่จะยอมรับความเสี่ยงที่จะมีตามทิศทางเทคโนโลยีที่เห็นจาก Hype Cycles นำมาวิเคราะห์ร่วมกับความเข้าใจในการลงทุนที่จะมีว่าจะเกิดความเสี่ยงเรื่องไหนอย่างไรแค่ไหน การดำเนินงานในแต่ละช่วงของเทคโนโลยีก็จะมีผลที่แตกต่างกันไป อาจสามารถได้ผลลัพท์ดีในระยะเริ่มแรกที่ทำให้เกิดการยอมรับในการลงในช่วงต้นได้ 

 

ที่มาข้อมูลอ้างอิง www.gartner.com 
รวบรวมข้อมูลและรูปภาพ www.iok2u.com

---------------------------------------------

ดูเพิ่มเติมเรื่องราวเกี่ยวข้องกับ Gartner ที่น่าสนใจ ได้ที่

Gartner รวมเรื่องราวน่ารู้จาก Gartner

---------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward