iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

CT51 15 วิธีในการลดต้นทุนด้านสินค้าคงคลัง

ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้เขียน...ผศ.ดร.สถาพร อมรสวัสดิ์วัฒนา

บทนำ

การแข่งขันที่รุนแรงทางธุรกิจมีความจำเป็นที่บริษัทต่างๆ ต้องปรับตัวเพื่อลดต้นทุนในการประกอบการ ต้นทุนด้านสินค้าคงคลังเป็นต้นทุนสำคัญที่มักจะถูกมองข้ามและส่งผลอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์ในการลดต้นทุนด้านสินค้าคงคลังสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บรักษาสินค้าคงคลังให้มีปริมาณน้อยลง หรือ การจัดซื้อปริมาณสินค้าให้มีความเหมาะสม แม้กระทั่งการผลักภาระด้านสินค้าคงคลังไปให้ซัพพลายเออร์หรือผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์เป็นผู้บริหารสินค้าคงคลังให้

คำสำคัญ ต้นทุนสินค้าคงคลัง, การจัดการสินค้าคงคลัง, การจัดการโลจิสติกส์

การลดต้นทุนด้านสินค้าคงคลัง

ปัจจัยสำคัญในการลดต้นทุนด้านสินค้าคงคลัง คือ การวัดประสิทธิภาพด้านการบริหารสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องและค้นหาวิธีการในการปรับปรุงอยู่เสมอ

ในบทความนี้ได้นำข้อเสนอแนะในการลดต้นทุนด้านสินค้าคงคลังของนายราล์ฟ คอกซ์ (Ralph Cox) ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริษัท Tompkins Associates ซึ่งได้อธิบายเทคนิคในการลดต้นทุนและปริมาณสินค้าคงคลังไว้ในหนังสือ เรื่อง The Supply Chain Handbook โดยมี James A Tompkins และ Dale Harmelink เป็นบรรณาธิการ และจัดพิมพ์โดย Tompkins Press ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

1. สร้างวัฏจักรของสินค้าคงคลังบนฐานด้านเศรษฐศาสตร์ (Base Cycle Stock on Economics)

สำหรับสินค้าที่ทำการจัดซื้อ ให้ทำการบริหารต้นทุนการจัดซื้อ (Acquisition Transaction Costs) ให้ต่ำลง ส่งผลต่อการลดต้นทุนด้านการจัดซื้อและการรับสินค้า หรือการลดปริมาณสินค้าคงคลังโดยเฉลี่ยได้

สำหรับสินค้าที่ทำการผลิต หากต้นทุนการติดตั้งหรือการเปลี่ยนเครื่องมือ (Equipment Changeover Costs) มีค่าสูง การแก้ไขกิจกรรมนี้ให้มีเวลาการเปลี่ยนเครื่องมือที่สั้นลงจะสามารถลดปริมาณสินค้าคงคลังได้ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้

2. ควบคุมต้นทุนการสั่งซื้อ (Control Order Transaction Costs)

ในการสั่งซื้อควรใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศในการสร้างคำสั่งซื้อ (Purchase Orders: PO) การใช้ระบบ Electronic Data Interchange: EDI ในการส่งผ่านข้อมูลคำสั่งซื้อ (PO) การใช้ระบบแจ้งการขนส่งสินค้าล่วงหน้า (Advance Shipping Notices: ASNs) การใช้ระบบการประเมินซัพพลายเออร์ เพื่อการจัดลำดับความสำคัญเพื่อทำการลดต้นทุนการจัดซื้อ

ในโรงงานอุตสาหกรรม การวางแผนความต้องการใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนล่วงหน้า การใช้เครื่องมือชนิดพิเศษ การปรับเปลี่ยนเครื่องมือหรือแม่พิมพ์ล่วงหน้าก่อนที่การผลิตล็อตเดิมจะสิ้นสุด การทำงานเป็นทีม การบำรุงรักษาเครื่องมือจะสามารถลดปริมาณสินค้าคงคลังได้

3. ลดต้นทุนการเก็บสินค้าคงคลัง (Lower Inventory Costs)

โดยการเพิ่มการใช้ประโยชน์ของพื้นที่โดยการให้เช่าพื้นที่ที่มีอยู่ หรือ ลดการขยายพื้นที่คลังสินค้าโดยใช้ เครื่องมือที่สามารถขนถ่ายสินค้าในช่องแคบ การใช้ชั้นลอย หรือวิธีการเก็บสินค้าที่เหมาะสมมากขึ้น

4. การตั้งระดับปริมาณสินค้าเผื่อขาดบนพื้นฐานของความพึงพอใจของลูกค้า (Base Safety Stock on Customer Service)

การตั้งระดับปริมาณสินค้าคงคลังเผื่อขาด (Safety Stock) โดยแบ่งกลุ่มของสินค้า (Class) ให้มีความเหมาะสมและชัดเจน ตรวจสอบข้อมูลของระดับปริมาณสินค้าเผื่อขาดอย่างต่อเนื่อง และตั้งระดับความต้องการของสินค้าคงคลังเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าในรูปแบบของเป้าหมายทางการเงิน สามารถเป็นตัววัดการลดปริมาณสินค้าคงคลังเผื่อขาด หรือลดเหตุการณ์ที่สินค้าคงคลังขาดแคลน และเป็นการเพิ่มผลกำไร

5. พยากรณ์ความต้องการของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ (Use Routine Demand Forecasting)

การใช้ประสบการณ์แก้ไขสมการพยากรณ์ในการคำนวณความต้องการของสินค้าเพื่อที่ลดความผิดพลาดจากการใช้สูตรพยากรณ์เพียงอย่างเดียวจะสามารถลดการเก็บสินค้าเกินความจำเป็น สินค้าขาดแคลน ทำให้มีสินค้าเพียงแค่ความต้องการของลูกค้า

6. คำนึงถึงผลกระทบของเหตุการณ์ (Forecast Events)

เหตุการณ์บางเหตุการณ์ทำให้เกิดความต้องการของสินค้าเพิ่มขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ต้องคำนึงถึงเหตุการณ์เหล่านั้นในการจัดการสินค้าคงคลัง อาทิ เทศกาลสงกรานต์ที่ทำให้ความต้องการตั๋วรถยนต์โดยสารประจำทางหรือตั๋วเครื่องบินเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้องมีการวางแผนสินค้าคงคลังรองรับเหตุการณ์ดังกล่าว

7. วางแผนการประกอบไว้ส่วนท้าย (Think Postponement)

สำหรับสินค้าที่เป็นชิ้นส่วนที่สามารถนำไปผลิตสินค้าต่อเนื่องได้อีกหลายชนิด (Parent Products) ควรจะทำการเก็บสินค้าคงคลังไว้ในรูปแบบของสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (Semi-Finished Product) เพื่อลดปริมาณสินค้าคงคลังทั้งหมด เนื่องจากสามารถลดปริมาณสินค้าคงคลังของทุกรายการแต่ละแบบได้

8. จัดรายการของสินค้าให้เหมาะสม (Rationalize SKUs)

ทำการกำจัดผลิตภัณฑ์ที่ไม่สร้างกำไรเพิ่มออกจากรายการสินค้าทั้งหมด โดยอาจทำการแบ่งประเภทสินค้าเป็นสินค้าที่สามารถสร้างผลกำไร สินค้าที่เท่าทุน และสินค้าที่ขาดทุน แล้วจัดรายการสินค้าให้มีแต่เฉพาะสินค้าที่มีกำไรหรือสินค้าที่เท่าทุน เพื่อลดภาระจากต้นทุนการเก็บสินค้าคงคลัง

9. ลดระยะเวลาในการสั่งซื้อ (Reduce Lead Times for Product Acquisition)

การลดระยะเวลาในการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาในการสั่งซื้อจากซัพพลายเออร์หรือระยะเวลาในการขนส่งสินค้า หรือ ระยะเวลาในการรับสินค้า จะส่งผลให้ปริมาณความต้องการในการเก็บสินค้าคงคลังลดลง นอกจากนี้การลดความไม่แน่นอนของระยะเวลาในการสั่งซื้อก็สามารถลดความต้องการของการเก็บสินค้าได้

10. สร้างความร่วมมือระหว่างซัพพลายเออร์ในการสั่งซื้อสินค้า (Implement Common Supplier Joint Procurement for Purchased Parts)

สร้างความร่วมมือของซัพพลายเออร์หลักในการจัดซื้อสินค้าหลายรายการ (Multiple SKUs) เพื่อลดต้นทุนการจัดซื้อต่อหน่วยของสินค้า ดังนั้นผู้ประกอบการสามารถจัดซื้อสินค้าได้ถี่ขึ้น และลดความจำเป็นในการเก็บสินค้าคงคลัง 

นอกจากนี้การสร้างความร่วมมือของซัพพลายเออร์หลักที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน สามารถเพิ่มการใช้ประโยชน์ของรถบรรทุกขนส่งสินค้าให้สามารถขนสินค้าได้เต็มน้ำหนักบรรทุกมากขึ้น ดังนั้นการจัดซื้อสินค้าสามารถทำได้ถี่ขึ้น ส่งผลให้การจัดการสินค้าคงคลังทำได้ง่ายขึ้น

11. จัดส่งสินค้าต่อไปให้ลูกค้าเมื่อสินค้ามาถึง (Cross-Dock Customer Shipments)

การจัดการจัดส่งสินค้าต่อไปให้ลูกค้าเมื่อสินค้ามาถึง (Cross-Dock) จะสามารถลดความต้องการในการเก็บสินค้าคงคลัง เนื่องจากสินค้าสามารถนำส่งต่อไปยังลูกค้าได้ทันที โดยไม่ต้องทำการจัดเก็บสินค้า  นอกจากนี้การรวบรวมความต้องการของสินค้าจากแหล่งวัตถุดิบหรือสินค้าไว้ในคำสั่งซื้อเดียวแล้วจัดส่งสินค้าต่อไปให้ลูกค้าปลายทางหลายแห่งเมื่อสินค้ามาถึง จะสามารถลดต้นทุนการจัดซื้อและลดปริมาณสินค้าคงคลัง

12. การให้ซัพพลายเออร์เป็นผู้บริหารสินค้าคงคลัง (Use Vendor-Managed Inventory: VMI)

สร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมให้ซัพพลายเออร์เข้ามารับผิดชอบการบริหารสินค้าคงคลัง เนื่องจากซัพพลายเออร์สามารถทราบปริมาณสินค้าคงคลังและแผนการผลิตสินค้าของฝ่ายตนเอง รวมทั้งความต้องการที่แท้จริงของสินค้าพร้อมกับปริมาณสินค้าคงคลังของลูกค้า ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าคงคลังทั้งฝ่ายซัพพลายเออร์และลูกค้าลดลง

13. รวมรายการสินค้าระหว่างการขนส่ง (Try Merge-in-Transit)

กรณีลูกค้ามีความต้องการรับสินค้าหลายรายการในเวลาเดียวกัน ในระหว่างการขนส่งอาจจะมีการรวมบางรายการที่มาจากสถานที่ต่างกันมาขนด้วยกันเพื่อความสะดวกในการรับสินค้าของลูกค้าภายในครั้งเดียว ทำให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงคลังได้ดีขึ้น เนื่องจากสามารถขนส่งสินค้าได้ถี่มากขึ้น ต้นทุนสินค้าคงคลังจะลดลง

14. เก็บสินค้าคงคลังเฉพาะเท่าที่จำเป็น (Keep in Stock, but not Everywhere)

ในสถานการณ์ที่มีศูนย์กระจายสินค้าหลายแห่ง แต่ละแห่งทำการเก็บสินค้าบางรายการที่ไม่เหมือนกันในปริมาณน้อยเท่านั้น ไม่จำเป็นที่ทุกแห่งจะต้องมีการเก็บสินค้าคงคลังที่เหมือนกัน ดังนั้นปริมาณสินค้าคงคลังโดยรวมจะน้อยลง

15. เคลื่อนย้ายสินค้าคงคลัง (Transfer Instead of Purchase)

เมื่อสินค้าคงคลังของสินค้าบางรายการ ณ คลังสินค้าแห่งหนึ่งมีมากเกินไป แต่เกิดความต้องการสินค้าประเภทเดียวกัน ณ คลังสินค้าอีกที่หนึ่ง ดังนั้นระบบในการเกลี่ยปริมาณสินค้าคงคลังจากที่หนึ่งมาที่หนึ่งที่มีประสิทธิภาพ จะส่งผลดีต่อการบริหารสินค้าคงคลังได้ดี  อย่างไรก็ตาม ต้นทุนในการเคลื่อนย้ายสินค้านี้ต้องอยู่ในระดับที่จูงใจด้วย

ที่มา:

- หนังสือ เรื่อง “The Supply Chain Handbook” บรรณาธิการโดย James A Tompkins และ Dale Harmelink และจัดพิมพ์โดย Tompkins Press

- บทความเรื่อง “15 Resolutions You Can Make To Reduce Inventory in 2005” ของนิตยสาร Inventory Management Report เดือนมกราคม 2548

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

-----------------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward