iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

CT51 e-Supply Chain

ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้เขียน ผศ.ดร.สุวรรณี อัศวกุลชัย

บทคัดย่อ: e-Supply Chain เป็นกระแสธุรกิจแบบ e-Business ที่บริษัทหรือองค์กร รวมทั้งคู่ค้าทำธุรกิจร่วมกัน มีเป้าหมายอย่างเดียวกัน ในการนำไปสู่ทีมที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และน่าเชื่อถือ ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง

คำหลัก : e-Supply Chain, e-Business, Supply Chain Management, One Stop Service

โซ่อุปทาน (Supply Chain) เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การจัดซื้อจัดหา (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดจำหน่าย (Distribution) การขนส่ง (Transportation) และการจัดเก็บ (Storage) ที่เชื่อมโยงกระบวนการดำเนินธุรกิจทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันเป็นโซ่อุปทานหรือเครือข่าย เพื่อให้เกิดการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้การดำเนินงานมีต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการเชื่อมโยงขั้นตอนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะในองค์กรเท่านั้น แต่ยังจะเชื่อมต่อกับองค์กรอื่น ภายนอกด้วย ไม่ว่าจะเป็นคู่ค้า ผู้จัดหาวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายหรือร้านค้าปลีก

การบริหารจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) จึงเป็นการบริหารกระบวนการต่างๆ ในโซ่อุปทาน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจในการทำงานกันอย่างใกล้ชิดในขั้นตอนต่างๆ ที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันทั้งในองค์กรและนอกองค์กรเป็นสำคัญ จึงจะทำให้ระบบโซ่อุปทานมีประสิทธิภาพ (Efficiency) อันจะมีผลต่อการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าในที่สุด

จากการเปลี่ยนแปลงในยุคเศรษฐกิจใหม่ ทำให้วิถีทางในการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนไปสู่ธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Business ซึ่งต้องมีการนำเทคโนโลยีช่วยในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสื่อสารผ่านเครือข่ายหรืออินเตอร์เน็ตที่มีบทบาทอย่างมากในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ และข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมทุกมุมโลกตลอดเวลา ทั้งยังมีต้นทุนในการดำเนินการต่ำ โดยเฉพาะใช้แรงงานคนน้อยมาก

องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่มีการพัฒนาการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศระหว่างองค์กรมาผนวกใช้กับระบบบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) เกิดเป็นแนวคิดใหม่เรียกว่า "อี-ซัพพลายเชน (e-Supply Chain)" เพื่อทำให้ระบบบริหารจัดการซัพพลายเชนเกิดประสิทธิผล (Effectiveness) อย่างจริงจัง เนื่องจากแต่ก่อนผู้บริหารยังเข้าไม่ถึงหัวใจของ Supply Chain จึงมักไม่ค่อยให้ความสำคัญที่จะนำมาใช้กำหนดเป็นกลยุทธ์การบริหารต้นทุน ทั้งยังเห็นว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการสร้างระบบรักษาความปลอดภัยของการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจ

e-Supply Chain เป็นแนวคิดที่บริษัทหรือองค์กร รวมทั้งคู่ค้าที่มาทำธุรกิจร่วมกัน ถือเป็นทีมเดียวกัน จะต้องมีเป้าหมายอย่างเดียวกัน และในกระแสการดำเนินธุรกิจที่แข่งขันกันอย่างรุนแรง ทีมที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและน่าเชื่อถือเท่านั้นจึงจะได้เปรียบคู่แข่ง สามารถเอาชนะและอยู่รอดเป็นเบอร์หนึ่งหรืออยู่แถวหน้าได้ นอกจากนั้น อี-ซัพพลายเชน (e-Supply Chain) ดังแสดงในรูปที่ 1 ยังเป็นการสร้างพลังต่อรองได้เช่นเดียวกับองค์กรขนาดใหญ่ชั้นนำทั้งหลาย

รูปที่ 1 ตัวอย่างโครงสร้างของ e-Supply Chain

จากรูปที่ 1 แสดงถึงตัวอย่างโครงสร้างของ e-Supply Chain  ซึ่งประกอบด้วย 1. Supply Chain Replenishment 2. Collaborative Planning 3. Collaborative Product Development 4. E-Procurement และ 5. E-Logistics

ซึ่งจาก e-Supply Chain สามารถแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ ดังแสดงในรูปที่ 2

รูปที่ 2 ตัวอย่างโครงสร้างของการบูรณาการของ Back office และ Front Office

จากรูปที่ 2 แสดงถึงการบูรณาการของ Back Office และ Front Office ซึ่ง Back Office เป็นการเชื่อมโยงระหว่าง Extranet ของ Supplier และ Business Partners กับ Intranet ภายในบริษัท ซึ่งจะเป็นข้อมูลของลูกค้า จากนั้นในส่วนของ Front Office ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่าง Intranet ภายในบริษัทกับ Internet ของบริษัทคู่ค้า รวมไปถึงผู้จัดจำหน่าย ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ ได้แก่ EDI, Mobile Computing, Point-of-Service, Virtual Banking, Neural Networks, Smartcard เป็นต้น

สำหรับระบบ One Stop Service บนระบบอินเตอร์เน็ต นับเป็นตัวอย่างการจัดการระบบบริหารโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพได้จริง โดยนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการบริหาร โดยเฉพาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานของระบบโซ่อุปทาน โดยลูกค้าเป็นผู้เริ่มต้นกิจกรรมด้านธุรกิจเองภายใต้ระบบอัตโนมัติทั้งหมด ตั้งแต่การเลือกสินค้า รูปแบบการผลิตที่ต้องการ การจ่ายเงิน รวมไปถึงการจัดส่งอย่างเป็นระบบ ลูกค้าสามารถเห็นการส่งถ่ายและบริหารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว สามารถโต้ตอบกันได้แบบ Real Time และมีต้นทุนต่ำ ซึ่งเป็นผลดีในการช่วยให้การทำงานและประสานกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพ เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกัน สามารถนำทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลสารสนเทศ (Information Technology) มาใช้ประโยชน์ร่วมกันในการวางแผน คาดการณ์หรือตัดสินใจ เพื่อพัฒนาทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพสูง

ขั้นตอนการทำงานของระบบ One Stop Service บนอินเตอร์เน็ต เมื่อลูกค้าทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบแล้ว คำสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าจะถูกแปรรูปเป็นใบเบิกสินค้าจากคลังสินค้า หรือตลอดจนเข้าสู่ระบบการวางแผนการผลิต และสั่งซื้อวัตถุดิบไปยังผู้ขายวัตถุดิบด้วยในกรณีสินค้าที่สั่งซื้อขาดสต็อก ซึ่งวิธีการต่อเชื่อมระหว่างลูกค้า โรงงาน คลังสินค้า ช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น ทั้งในแง่ของความเร็วในการบริการ และการลดต้นทุนในการดำเนินงานด้วย นอกจากนั้นระบบส่งข้อมูลที่ลูกค้าเป็นผู้จัดทำจะถูกส่งเข้าสู่ระบบการจัดการอัตโนมัติทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใบจ่าหน้าพัสดุภัณฑ์ การพิมพ์ใบกำกับสินค้า ออกใบเสร็จรับเงิน หรือแม้แต่บันทึกบัญชี ซึ่งล้วนแล้วแต่ใช้ข้อมูลในชุดเดียวกันจากที่ลูกค้าเป็นผู้กรอกมาให้ตั้งแต่แรกบนระบบอินเตอร์เน็ต

นอกจากนี้การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) ทั้งสินค้าที่ผลิตแล้วเสร็จ (Finish Goods) หรือวัตถุดิบก็จะง่าย มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีต้นทุนต่ำ สินค้าหรือวัตถุดิบจะมีอยู่เต็มพอเพียงที่จะเบิกใช้ได้ตลอดเวลา ปัญหาสินค้าคงคลังจะลดลง เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่วนการจัดจำหน่ายและการขนส่งสินค้าก็จะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ถูกต้องและรวดเร็วขึ้นด้วยเส้นทางที่มีต้นทุนต่ำ สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

การเชื่อมต่อจึงเป็นหัวใจของการเพิ่มศักยภาพของภาคธุรกิจ เมื่อทุกกระบวนการในระบบโซ่อุปทาน ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดจะช่วยให้การบริหารธุรกิจมีต้นทุนต่ำลง เพราะการบริหารและจัดการโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง เช่น การจัดหาจัดซื้อวัตถุดิบและบริการ หากบริหารงานให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้ต้นทุนการซื้อและการบริการลดลง ตลอดจนโซ่อุปทานแบบย้อนกลับ (Reverse Supply Chain) ที่ลูกค้าสามารถส่งคืนซากสินค้าให้กับผู้ผลิต เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ นำไปบำบัดหรือกำจัดต่อไป ทั้งหมดนี้ยังเป็นแนวทางการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่นำพาประเทศไปสู่การพัฒนาอย่างบูรณาการต่อไป

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward