iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

CT51 กลยุทธ์การจัดซื้อในโซ่อุปทาน

ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้เขียน...ผศ.ดร.สถาพร อมรสวัสดิ์วัฒนา

บทบาทของการจัดซื้อในโครงการก่อสร้างและวิศวกรรมได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การจัดซื้อได้พัฒนาเป็นกลยุทธ์และเป็นตัววัดประสิทธิภาพทางการเงินที่สำคัญ การจัดซื้อมีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนของโครงการ ซึ่งในบางอุตสาหกรรมการจัดซื้อมีผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินการถึง 2 ใน 3

1. การจัดซื้อแบบรวมศูนย์ (Center-led Procurement)

การจัดซื้อแบบรวมศูนย์ (Center-led Procurement) เกิดจากการบริหารแบบหน่วยงานกลาง อาทิ บริษัทหนึ่งอาจจะมีโครงการที่ต้องดำเนินการอยู่ทั้งหมด 5 โครงการ แต่จะมีหน่วยงานในการจัดซื้อวัตถุดิบอยู่เพียงหนึ่งหน่วยงาน ซึ่งหน่วยงานจัดซื้อนี้จะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อโดยเฉพาะ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานนี้จะทราบถึงความเคลื่อนไหวของราคาของวัตถุดิบประเภทต่างๆ จากแหล่งวัตถุดิบทั่วทุกมุมโลกเป็นอย่างดี รวมถึงขั้นตอนการจัดซื้อ วิธีการจัดซื้อที่ประหยัด ขั้นตอนการขนส่ง การนำเข้าสินค้า และอัตราภาษีที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร

หน่วยงานนี้จะเป็นผู้จัดซื้อวัตถุดิบให้กับโครงการทั้ง 5 โครงการ ซึ่งสามารถลดต้นทุนการจัดซื้อให้กับองค์กรได้ เพราะสามารถสั่งซื้อวัตถุดิบได้ในครั้งละมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของวัตถุดิบหรืออุปกรณ์ประเภทเดียวกันที่โครงการทั้ง 5 โครงการต้องการใช้ นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญการจัดซื้อจะเป็นผู้ทบทวนสัญญาซื้อขายวัตถุดิบที่เกิดขึ้นทั้งหมดขององค์กรอีกด้วย 

ภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์นี้บางองค์กรอาจจะต้องทำการจัดซื้อ หรือจัดจ้างกับซัพพลายเออร์จำนวนหลายรายจากทั่วทุกมุมโลก หรือบางครั้งอาจจะต้องเกี่ยวข้องกับบริษัทเป็นจำนวนหลายร้อยบริษัทก็ได้ หากมีการจัดซื้อ จัดจ้างแยกออกเป็นแต่ละโครงการ จะส่งผลให้การประเมินซัพพลายเออร์และการต่อรองราคาไม่มีประสิทธิภาพ

2. การมีส่วนร่วมมือกับซัพพลายเออร์ (Supplier Integration)

ความร่วมมือของซัพพลายเออร์จะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรได้ ส่งผลให้การดำเนินโครงการเร็ว และสามารถลดต้นทุนในการทำงาน

ในวงจรชีวิตของโครงการ (Project Life Cycle) ทั่วไป กิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนจะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของโครงการ ซึ่งส่วนมากเป็นกิจกรรมด้านการออกแบบ การจัดทำพิมพ์เขียวหรือวิเคราะห์ทางวิศวกรรม ดังแสดงในแผนภาพที่ 1 กิจกรรมเหล่านี้มีผลกระทบต่อต้นทุนของโครงการสูงอันเนื่องมาจากการเลือกวัตถุดิบที่ใช้ในโครงการ ขั้นตอนการผลิตที่สำคัญ พลังงานที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้จะถูกกำหนดในขั้นตอนเหล่านี้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นต้นทุนหลักในการดำเนินโครงการ

หลังจากที่แบบหรือพิมพ์เขียวได้ทำการกำหนดแล้ว โครงการส่วนใหญ่จะเริ่มจัดซื้อวัตถุดิบ และจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้ในขั้นตอนการก่อสร้าง  ผลกระทบต่อต้นทุนของโครงการในระยะนี้จะน้อยลงกว่าในขั้นตอนแรกดังแสดงในแผนภาพที่ 1 เพราะการแก้ไขแบบหรือพิมพ์เขียวทำได้ยากขึ้น อย่างไร ก็ตาม การจัดซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการขนส่งสินค้าจากประเทศอื่น บางครั้งวัตถุดิบหรือเครื่องมืออาจมาไม่ทันต่อความต้องการใช้ในระยะการก่อสร้าง รวมทั้งความเสี่ยงจากราคาวัตถุดิบที่มีการเปลี่ยนแปลง ยิ่งทำการสั่งซื้อล่าช้ามาก จะส่งผลให้ต้นทุนของวัตถุดิบมีโอกาสเปลี่ยนแปลงจากที่ประมาณการไว้มากขึ้น งบประมาณที่ตั้งไว้อาจจะไม่เพียงพอได้

เมื่อวัตถุดิบและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องได้มาถึงโครงการแล้ว ผู้บริหารโครงการจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างซึ่งการแก้ไขแบบอาจจะไม่สามารถทำได้ง่ายนัก ผลกระทบต่อต้นทุนของโครงการจะยิ่งน้อยลงดังแผนภาพที่ 1

ที่มา: งานวิจัยเรื่อง “Creating competitive advantage with strategic procurement, supply chain management” ของ Jim Scotti Fluor Corporation. ในนิตยสาร Offshore เดือนพฤศจิกายน 2550

แผนภาพที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบต่อต้นทุนและเวลาในการดำเนินโครงการของบริษัท Fluor

การที่ผู้บริหารโครงการเปิดโอกาสให้ซัพพลายเออร์เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบโครงการมากขึ้นดังแสดงในแผนภาพที่ 1 โดยซัพพลายเออร์เข้ามามีบทบาทในการออกแบบทางวิศวกรรม ขั้นตอนนี้มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อต้นทุนของโครงการมาก สามารถลดต้นทุนในการดำเนินโครงการได้ดีกว่าวิธีการเดิม

ซัพพลายเออร์สามารถให้คำแนะนำต่อผู้ออกแบบถึงวิธีการที่ดีที่สุดในการดำเนินกิจกรรม เช่น การสร้างกำแพงควรใช้การก่ออิฐมอญ การใช้อิฐบล็อก หรือใช้ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป จึงมีประสิทธิภาพดีที่สุด ทำให้ผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้ผนังที่เหมาะสมที่สุดได้

นอกจากนี้การจัดซื้อที่เร็วขึ้น (ตั้งแต่แบบของโครงการมีความชัดเจน) จะสามารถลดความเสี่ยงจากความล่าช้าในการขนส่งวัตถุดิบจากต่างประเทศที่นำเข้ามาไม่ทันต่อการใช้งาน และสามารถลดความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบได้ เนื่องจากทำการสั่งซื้อวัตถุดิบเร็วขึ้น

ดังนั้น ผู้บริหารโครงการควรสร้างความร่วมมือกับซัพพลายเออร์ ตั้งแต่เริ่มออกแบบโครงการ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันยังสามารถบริหารสินค้าคงคลังของวัตถุดิบได้ดีขึ้นอีกด้วย ทำให้ผู้บริหารสามารถลดต้นทุนของโครงการได้ดีขึ้น

ที่มา: งานวิจัยเรื่อง “Creating competitive advantage with strategic procurement, supply chain management” ของ Jim Scotti Fluor Corporation. ในนิตยสาร Offshore เดือนพฤศจิกายน 2550 

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward