CT51 ดัชนีบอลติคในการขนส่งทางทะเล (Baltic Dry Index)
ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สถาพร อมรสวัสดิ์วัฒนา
บทนำ
ค่าระวางเรือจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยที่สายการเดินเรือส่วนใหญ่จะใช้ค่าดัชนีบอลติค (Baltic Dry Index) ในการคิดค่าระวางเรือในการขนส่ง ค่าดัชนีบอลติคเป็นค่าที่ใช้อ้างอิงอย่างแพร่หลายทั่วโลกโดยบริษัท Baltic Exchange ในประเทศอังกฤษเป็นผู้ประกาศใช้ ซึ่งค่าดัชนีนี้เป็นค่าเฉลี่ยที่คิดมาจากผู้ประกอบการสายการเดินเรือหลายแห่งมาหาค่าเฉลี่ยตามประเภทของเรือ
คำสำคัญ : การขนส่งสินค้าทางทะเล, Baltic Dry Index
Baltic Dry Index
ค่าดัชนีบอลติค (Baltic Dry Index) เป็นดัชนีที่ครอบคลุมอัตราค่าระวางเรือของสินค้าประเภท dry bulk และคำนวณโดยองค์กร Baltic Exchange ในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ดัชนีบอลติคเป็นการวัดราคาของการขนย้ายวัตถุดิบหลักทางทะเล โดยพิจารณา เส้นทางการขนส่ง 26 เส้นทาง ซึ่งรวมเรือประเภท supramax, panamax และ capesize ซึ่งบรรทุกสินค้าหลายชนิด อาทิ ถ่านหิน แร่เหล็ก และธัญพืช
ดัชนีบอลติคนี้จะถูกคำนวณจากการหาค่าเฉลี่ยของดัชนี Supramax, Panamax และ Capesize ของบริเวณทะเลบอลติค ซึ่งดัชนีเหล่านี้มาจากการคำนวณโดยบริษัทเอเยนต์เรือระหว่างประเทศ ดังตารางที่ 1
Daily Market: This page contains the latest Dry Bulk Shipping News
08 May 2008
Baltic Dry Index (BDI) +117 10221
Spot Rates
|
|
BCI |
(Cape index) |
BPI |
(Panamax index) |
BSI |
(Supramax index) |
INDEX |
|
15629 |
+76 |
9806 |
+111 |
5772 |
+109 |
SPOT 4 TCE AVG |
(USD) |
188195 |
+458 |
78740 |
+879 |
60352 |
+1135 |
YESTERDAY |
(USD) |
187737 |
|
77861 |
|
59217 |
|
YEAR AGO |
(USD) |
108903 |
|
49655 |
|
43727 |
|
Spot 4 TC Average = The Average Value of the Four Main Shipping Routes applicable for each of the 3 types of Ships
BDI=The Weighted Composite Index of BCI/BPI/BHMI
ตารางที่ 1 ค่าดัชนีบอลติกที่คำนวณจากประเภทของเรือ
ดัชนีบอลติคนี้สามารถหาได้จากองค์กร Baltic exchange และจากสำนักข่าวธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น Thomson Financial Datastream, Reuters และ Bloomberg L.P. ดังแสดงไว้ในในภาพที่ 1
ที่มา: http://investmenttools.com/futures/bdi_baltic_dry_index.htm
ภาพที่ 1 ค่าดัชนีบอลติค
เนื่องจากต้นทุนการขนส่งสินค้าทางเรือจะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณของสินค้าที่จะทำการขน (ขึ้นกับอุปสงค์และอุปทาน) และสินค้า dry bulk จะเป็นสินค้าทุนที่ใช้ในการผลิต (ปูนซิเมนต์ ถ่านหิน และแร่เหล็ก) ดังนั้นดัชนีบอลติคจะเป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่แสดงถึงอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและภาคการผลิตในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ค่าระวางเรือจะเป็นผลพวงมาจากอุปสงค์และอุปทาน ได้แก่ ความต้องการในการขนส่งสินค้าและปริมาณเรือที่สามารถรองรับได้
ตลาดบอลติค (The Baltic Market)
สมาชิกของ Baltic Exchange เป็นหัวใจสำคัญของการค้าในตลาดโลก เนื่องจากเป็นผู้ขนส่งสินค้าทุนของอุตสาหกรรมทางมหาสมุทรจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค ตลาดค่าระวางขนส่งสินค้า (The bulk freight market) ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของตัวแทนเรือ (shipbrokers) เจ้าของเรือ (Shipowners) เพื่อทำให้เกิดการซื้อขายอย่างเสรี
Baltic exchange มีสมาชิกมากกว่า 550 บริษัท และ 2,000 กว่านิติบุคคล (ธันวาคม 2549) ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 400 บริษัทตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังมีสมาชิกจำนวนมากขึ้นจากประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และตะวันออกไกล นอกจากสมาชิกเหล่านี้จะเป็นตัวแทนเรือ หรือเจ้าของเรือเองแล้ว สมาชิกยังประกอบไปด้วยสถาบันการเงิน สำนักกฎมายทางทะเล สถาบันการศึกษา บริษัทประกันภัย ด้วย
ตลาดค่าระวางเรือ (The freight market)
ตลาดค่าระวางเรือมีขนาดใหญ่มากและมีความซับซ้อน ทำให้ค่าระวางมีการเปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอน เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมีผลกระทบต่อต้นทุนของการขนส่งทางทะเล
การค้าทางทะเลมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการค้านี้ขึ้นกับกองเรือที่มีความสามารถในการรองรับการบรรทุกสินค้าได้ 960 ล้านตัน สินค้าที่ทำการขนส่งทางทะเลมีตั้งแต่ธัญพืช น้ำมันดิบ แร่เหล็ก สารเคมี จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติพบว่า การขนส่งสินค้าทางทะเลมีปริมาณมากว่า 7.1 พันล้านตันในปี 2005
สินค้า (The cargoes)
สินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง อาหารสัตว์ ปุ๋ย วัสดุก่อสร้าง และสินค้าทุนอื่นๆ จะถูกขนส่งทางทะเลเป็นหลัก ซึ่งครึ่งหนึ่งของสินค้าเหล่านี้จะเป็นสินค้ากลุ่มพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดิบ ถ่านหิน หรือก๊าซ อย่างไรก็ตาม การขนส่งสินค้าโดยใช้ตู้คอนเทนเนอร์คิดเป็นน้ำหนัก 10% ของสินค้าเหล่านี้ แต่มีมูลค่าสินค้าสูง
การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกส่งผลให้การขนส่งสินค้าทางทะเลมีอัตราการเติบโตที่สูงมากในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
- การค้าทางทะเลในปี 2005 มีปริมาณถึง 29,045 พันล้านตันไมล์
- มีความสามารถในการรองรับสินค้าประเภท dry bulk ได้ถึง 346 ล้านตัน
- แร่เหล็กมีการขนส่งทางทะเลถึง 645 ล้านตัน ในปี 2005
- อายุเฉลี่ยของกองเรือทั่วโลกเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2006 คือ 3 ปี
- ประเทศกรีซ ญี่ปุ่น และเยอรมัน เป็นประเทศที่เป็นเจ้าของเรือมากที่สุดสามอันดับแรกของโลก
ทำไมอัตราค่าระวางเรือจึงมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลง
ตลาดค่าระวางเรือขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกหลายตัวแต่ปัจจัยพื้นฐานที่มีผลต่อค่าระวางได้แก่ปัจจัยดังนี้
- ปริมาณกองเรือ (Fleet supply) เกี่ยวข้องกับประเภทของเรือและจำนวนของเรือที่มีในการขนส่งสินค้าทางทะเล จำนวนเรือที่ทำการวิ่งขนส่งสินค้า และเรือที่ทำการซ่อมอยู่
- ความต้องการของสินค้า (Commodity demand) ซึ่งหมายถึง สินค้าที่จะทำการขนมีจำนวนมากหรือน้อย อาทิ โรงฟ้าอาจมีความต้องการถ่านหินเพิ่มมากขึ้น หรือสินค้าเกษตรมีผลผลิตดีในฤดูกาลนั้น
- สภาพฤดูกาล (Seasonal pressures) สภาพแวดล้อมทีมีผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าทางทะเลตามฤดูกาล อาทิ ปริมาณน้ำแข็งที่มีอยู่ในท่าเรือหรือเส้นทางการขนส่ง หรือระดับความสูงของน้ำในแม่น้ำ
- ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (Bunker prices) ต้นทุนด้านน้ำมันเชื้อเพลิงคิดเป็น หนึ่งในสามหรือหนึ่งในสี่ของต้นทุนการขนส่งสินค้าทางเรือ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันในตลาดโลกย่อมมีผลโดยตรงต่อเจ้าของเรือ
- ช่องแคบ (Choke points) ปัจจัยนี้สามารถส่งกระทบต่อการขนส่งทางทะเลของโลกได้เนื่องมาจาก การขนส่งทางทะเลมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ช่องแคบในการขนส่งสินค้า ช่องแคบเหล่านี้ได้แก่ ช่องแคบ Hormuz และ Malacca, คลอง Suez และคลอง Panama เป็นต้น ซึ่งหากช่องทางเดินเรือต่างๆ เหล่านี้ถูกปิดลง อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมือง การโจมตีของผู้ก่อการร้าย หรือ อุบติเหตุชนกันของเรือ จะส่งผลกระทบต่อการให้บริการของกองเรือทั้งโลกได้
ความรู้สึกของตลาด (Market sentiment) เนื่องจากความต้องใช้สินค้ามีค่าไม่แน่นอน และคาดเดาได้ยากในเวลาหนึ่งๆ ดังนั้นความต้องการของสินค้าในตลาดโลกสามารถส่งกระทบต่อค่าระวางเรือได้พอๆ กับ ปริมาณของกองเรือ และความต้องการขนส่งสินค้าทางทะเลได้
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่