iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

CT51 กระบวนการป้องกันและรับมือการเกิดอุบัติเหตุของการขนส่งสินค้าอันตรายประเภท ก๊าซ (Guide line to Protect and Hazard Remediation of Dangerous Goods Transportation (DGT): Case Study of Gas)

ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

โดย ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา

1 บทนำ

จากภาวการณ์เติบโตของภาคอุตสหกรรมของประเทศไทย การขนส่งสินค้าอันตราย (Dangerous Goods Transportation) นับว่ามีความสำคัญคู่ควบกับการเจริญเติบโตดังกล่าว ทั้งในด้านของการเป็นวัตถุดิบสำคัญ (Raw Material) ในการป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงขยะ หรือกากของเสีย (Waste) ซึ่งสินค้าอันตรายเหล่านี้หากมีการขนส่งอย่างไม่ระมัดระวังหรือไม่มีมาตรฐานก็อาจจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ดังเช่น เหตุการณ์รถบรรทุกแก็สระเบิดบริเวณถนนเพรชบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2533 ดังนั้นการขนส่งสินค้าอันตรายจะต้องมีการป้องกันควบคุมดูแลให้ได้มาตรฐาน นอกจากการขนส่งสินค้าอันตรายในปัจจุบันนี้จะต้องได้รับการควบคุมความปลอดภัยเพื่อมิให้เกิดอันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สินรวมถึงสิ่งแวดล้อมในการขนส่ง ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ยังรวมถึงการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานเพื่อที่จะได้ยอมรับกับคู่ค้าในประเทศต่างๆ จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในประเทศไทย

2 ประเภทของสินค้าอันตรายในไทย (Dangerous Goods: DG)

สินค้าที่อันตราย (Dangerous Goods) อยู่หลายประเภท มีความอันตรายที่แตกต่างกัน จึงต้องมีจึงต้องมีการแบ่งประเภทเพื่อให้ง่ายต่อการกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ เช่น การบรรจุ การขนส่ง การแก้ไขหากเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งกรมการขนส่งทางบก[1]ได้กำหนดประเภทของสินค้าอันตรายไว้ 9 ประเภท ดังนี้

1) วัตถุระเบิด

2) ก๊าซ (Gases)

3) ของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids)

4) ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids)

5) สารออกซิไดส์ (Oxidizing Substances)

6) สารพิษและสารติดเชื้อ (Toxic and Infectious Substances)

7) วัตถุกัมมันตรังสี (Radioactive Material)

8) สารกัดกร่อน (Corrosive Substances)

9) วัตถุอันตรายเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Dangerous Substance and Articles)

3. มาตรการการป้องกันอุบัติเหตุ

ในเรื่องมาตรการป้องกันความปลอดในการขนส่งก๊าซสิ่งทีสำคัญที่สุด คือ เรื่องความปลอดภัยของถังบรรจุ เนื่องจากถังบรรจุใช้งานที่ความดันสูง ดังนั้นมาตรฐานความปลอดภัยของถังบรรจุก๊าซธรรมชาติจึงเข้มข้นกว่าถังบรรจุก๊าซหุงต้มมาก ปัจจุบันการผลิตถังบรรจุก๊าซธรรมชาติต้องดำเนินภายใต้มาตรฐาน ISO 11439[2] ซึ่งกำหนดมาตรฐานการออกแบบ การทดสอบ และความปลอดภัยของถังบรรจุก๊าซไว้ว่า ถังต้องรองรับการบรรจุก๊าซได้สูงถึงปีละ 1,000 ครั้ง ถังมีอายุการใช้งานไม่เกิน 20 ปี ที่ระดับแรงดัน 200-240 บาร์ ณ อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส และกำหนดให้ถังบรรจุก๊าซต้องมีการตรวจสอบทุกๆ 3 ปีหรือหลังจากเกิดอุบัติเหตุ

4. ตัวอย่างมาตรการรับมือจากเหตุฉุกเฉินในการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศอังกฤษ 

ในประเทศอังกฤษ Department of Transport [3]ได้มีมาตรการสำหรับเตรียมรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่โดยให้หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการขนส่งวัตถุอันตรายเป็นหน่วยงานหลักในการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ได้แก่ สำนักงานดับเพลิง สำนักงานแหล่งน้ำ  ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวจะมีอุปกรณ์ในการควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินเบื้องต้น เช่น รถดับเพลิง เรือท้องแบน ส่วนสำนักงานบำรุงทางหลวง (Highway/Roadway Maintenance Department) จะมีหน้าที่ในการจัดการกับการจราจรในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยจะมีอุปกรณ์ที่จำเป็นในการควบคุมการจราจร เช่น แผงลูกศร ป้ายจราจรสลับข้อความ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีรถสำหรับปฐมพยาบาล รถยก รถลาก เพื่อนำยานพาหนะออกจากที่เกิดเหตุ ส่วนในกรณีที่เป็นเหตุฉุกเฉินรุนแรง จะทำการเรียกหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ คือ Metro Fire Hazmat Team ซึ่งในหน่วยงานนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านสารเคมีที่คอยให้คำแนะนำกับการจัดการกับสารเคมีที่รั่วไหลออกมา พนักงานใน Metro Fire Hazmat Team ส่วนใหญ่จะเป็นนักผจญเพลิงที่มาจากหน่วยดับเพลิงซึ่งได้รับการอบรมเพิ่มเติมทางด้านการจัดการการกับวัตถุอันตราย ในกรณีที่เป็นเหตุสุดวิสัย ทีมนี้จะมีอำนาจในการสั่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ได้ทันที

หลักจากที่สามารถควบคุมสถานการณ์ต่างๆ ไว้ได้ จะมีหน่วยงานสำหรับทำความสะอาดและเก็บกวาดพื้นที่โดยเฉพาะ คือ ส่วนงานป้องกันภัยสิ่งแวดล้อม  จะทำการเก็บกวาดเฉพาะวัตถุอันตรายที่เกิดการรั่วไหลออกมาและทำความสะอาดพื้นที่ 

ขั้นตอนการรับมือกับเหตุ 

1) การแจ้งเหตุ (Notification) ตำรวจจะเป็นหน่วยงานที่คอยแจ้งและประสานงานไปยัง หน่วยดับเพลิง สำนักงานแหล่งน้ำ ส่วนงานป้องกันภัยสิ่งแวดล้อม Metro Fire Hazmat Team และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

2) การรับมือขั้นแรก (First Response) หน่วยดับเพลิงในพื้นที่ควรจะเป็นหน่วยแรกที่มาถึงที่เกิดเหตุและเข้าควบคุมสถานการณ์ 

3) การสั่งการเบื้องต้น (Incident Commander) ผู้ที่มีอำนาจในการสั่งการเบื้องต้นควรจะเป็นหัวหน้าสถานีดับเพลิง มีหน้าที่ในการควบคุมและสั่งการตามแผนการปฏิบัติงาน 

4) การควบคุมพื้นที่ (Site Control) หลังจากที่มีการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกจากพื้นที่ ตำรวจและสำนักงานบำรุงทางหลวง จะเข้าควบคุมพื้นที่เพื่อจัดการกับการจราจร 

5) การระบุวัตถุอันตราย (Identify Release Material) ผู้มีอำนาจในการสั่งการและควบคุมจะต้องระบุได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากวัตถุอันตรายประเภทใด โดยสังเกตจาก เอกสารในการเคลื่อนย้าย ประเภทยานพาหนะ ภาชนะบรรจุภัณฑ์และฉลากที่ระบุประเภทของวัตถุนั้น เพื่อประงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

6) ประเมินความเสี่ยง (Assess Risk) หลังจากที่ทราบว่าเป็นวัตถุอันตรายประเภทใดและมีปริมาณเท่าไรแล้ว ผู้ควบคุมและสั่งการจะทำการประเมินสถานการณ์เพื่อเตรียมรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้เคียงเช่น ชุมชนบ้านเรือนที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ เป็นต้น 

7) ประเมินกำลังและทรัพยากร (Evaluate Resource) จะเป็นการประเมินว่าสามารถจัดการกับเหตุการณ์ดังกล่าวได้หรือไม่ โดยอาศัยกำลังพลและอุปกรณ์ที่มีอยู่ ในกรณีที่จำเป็น การเรียกขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานกลางนั้นสามารถทำได้ เมื่อประเมินแล้วพบว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้

หมายเหตุ : หน่วยงานดับเพลิงท้องถิ่น ไม่ได้รับการฝึกมาให้รับมือกับการแพร่กระจายเป็นบริเวณกว้างหรือวัตถุอันตรายที่มีความรุนแรงสูงมากๆ ในกรณีเช่นนั้น จะเป็นหน้าที่ของ Metrofire Hazmat Team หรือจากหน่วยงานอื่นๆ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 

8) การควบคุมการขนย้าย (Control Release) เมื่อสามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว ลำดับต่อไปจะเป็นการระบายวัตถุดังกล่าวออกจากพื้นที่ โดยอาจะเป็นการบังคับทิศทางให้ลงสู่แหล่งน้ำ หรือ บ่อดิน ที่ได้เตรียมไว้แล้ว 

9) การเตรียมทำความสะอาด (Arrange for Cleanup and Disposal) เมื่อสามารถขนย้ายวัตถุอันตรยออกจากพื้นที่ได้แล้ว หน่วยดับเพลิงที่เข้าควบคุมสถานการณ์ตั้งแต่แรก จะไม่สามารถเข้าทำความสะอาดพื้นที่ดังกล่าวได้ แต่จะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง 

10) การรายงานผล (Debrief) เมื่อการรับผิดชอบเสร็จสมบูรณ์ จะมีการรายงานเหตุการณ์ทั้งหมดต่อหน่วยงานระดับสูงต่อไป รายละเอียดประกอบด้วย ประเภทและปริมาณของวัตถุอันตราย วิธีการรับมือกับเหตุการณ์ เพื่อนำผลทั้งหมดที่ได้มาทำการปรับปรุงเพื่อเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดได้ในอนาคต

5 สรุป

มาตราการการป้องกัน และ รับมือการขนส่งสินค้าอันตราย Dangerous Goods Transportation (DGT) เป็นมาตรการที่สำคัญประการหนึ่งการขนส่งสินค้าอันตราย ที่มีผลโดยตรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมในกระบวนการขนส่งสินค้า ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ยังรวมถึงการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานเพื่อที่จะได้ยอมรับกับคู่ค้าในประเทศต่างๆ ดังนั้นผู้ประกอบการขนส่งสินค้าอันตรายและผู้เกี่ยวข้องควรจะต้องมีการสร้างมาตรฐานซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าเพิ่มมากขึ้นยังจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในประเทศไทยอีกด้วย

[1] ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทของวัตถุอันตราย [available online]  http://www.dlt.go.th/esb/danger_website/type2.pdf

[2] International Standard: ISO 11439: 1st Edition 2000-09-15, Gas cyclinders – High pressure cylinders for the on-board storage of natural gas as a fuel for  automotive vehicles

[3] Department of Transport, UK [Available online] at http://www.dft.gov.uk/

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward