iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

CT51 การสร้างความร่วมมือ กุญแจสำคัญในการสร้างมูลค่าในการจัดการโซ่อุปทาน (Collaboration: The Key to Value Creation in Supply Chain Management)

ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา

บทคัดย่อ

จากการเจริญเติบโตและพัฒนาของเทคโนโลยีทั้งในด้านการสื่อสารคมนาคม และด้านการผลิตที่มีประสิทธิภาพได้ส่งผลให้ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องจากการผลิตได้เปลี่ยนจากความร่วมมือระหว่าง Local Market หรือ Individual Market ไปเป็น Collaboration in Global Market และเทคโนโลยีดังที่กล่าวที่ผลักดันโดยเฉพาะ e-business นับว่าเป็นตัวการสำคัญในการทำให้เกิดการ Collaboration in Global Market ในระบบ Supply Chain ที่ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า และสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมนั้น ๆ

บทนำ

ความสามารถในการการจัดการโซ่อุปทาน Supply Chain Management (SCM) ที่ดีนั้นจะสามารถสร้างความได้เปรียบ และผลกำไรให้กับองค์กรได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการผลิต การค้าปลีก หรือแม้กระทั่งในอุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งในปัจจุบันได้เผชิญกับปัญหาเนื่องจากภาวการณ์แข่งขันที่สูงขึ้น ต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบมีราคาแพง ซ้ำยังเผชิญกับการตัดราคา ดังนั้นในปัจจุบันการก่อสร้างก็เป็นอีกอุตสาหกรรม ที่ได้นำการบริหารจัดการโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในด้านราคาและคุณภาพ

หากพิจารณาในระบบโซ่อุปทานแบบดั่งเดิม (Traditional Supply Chain) จะพบว่าระบบโซ่อุปทานนั้นน่าจะประกอบไปด้วยระบบการจัดการและการควบคุมสินค้าคงคลัง หรือในด้านการจัดการเกี่ยวกับการผลิตเป็นต้น ซึ่งหากพิจารณาในความสัมพันธ์ของ Supply Chain ใน Business Model จะเห็นได้ว่ากระบวนใน ระบบ Traditional Supply Chain นั้นจะยังเป็นกระบวนการที่ยังขาดประสิทธิภาพ การบวนการในการดำเนินงานยังอยู่ในลักษณะ Individual/Local Business/Market หรืออาจเรียกได้ว่าถูกจำกัดด้วยขอบเขตและหน้าที่ หรือเป็นระบบโซ่อุปทานที่ตีกรอบ

ดังนั้นเมื่อมองกลยุทธ์ของ SCM ที่มีประสิทธิภาพแล้วจะต้องเป็นประสิทธิภาพทั้งในการผลิต การวางแผน ด้านการจัดการและควบคุมคลังสินค้า การจัดซื้อ และการขนส่งและกระจายสินค้า Information Sharing ในระบบโซ่อุปทาน การติดตามสถานะของผลิตภัณฑ์นั้น การออกแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้าที่เกิดขึ้นทั้งระบบ Supply Chain ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำจนถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ และผ่านไปยังผู้บริโภค ซึ่งระบบดังกล่าวนี้จัดได้ว่าเป็นการสร้าง Global Collaboration ในระบบ Supply Chain เพื่อสร้างความสามารถในกาแข่งขันให้กับอุตสาหกรรม

การเปรียบเทียบลักษณะและกิจกรรมระหว่าง Traditional Supply Chain กับ Global Collaboration Supply Chain ได้ถูกแสดงดังแผนภาพที่ 1 และ Planning and Inventory Collaboration แสดงในแผนภาพที่ 2 

แผนภาพที่ 1 การเปรียบเทียบระหว่าง Traditional Supply Chain (Old Supply Chain) กับ Global Collaboration Supply Chain (Value Net)

แผนภาพที่ 2 Basic Supply Chain Configurations for Collaboration

ประโยชน์ของกลยุทธ์การจัดการโซ่อุปทาน

จากที่ทราบกันดีว่าประโยชน์ของ SCM ได้การสร้างความสามารถและความได้เปรียบในการแข่งขันในด้านต้นทุน และคุณภาพของสินค้า ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดการที่ดีของกิจกรรมเช่น การลดต้นทุนสินค้าคงคลังและคลังอันเนื่องมากจาการบริหารจัดการที่ดี การขนส่งกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ การบริหารการผลิตที่มีประสิทธิภาพที่สามารถลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการและการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต ซึ่งการที่บริหารกิจกรรมเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะส่งผลถึงความสามารถในการแข่งทั้งในด้านต้นทุนและคุณภาพ

หากพิจารณาอย่างระเอียดโดยเฉพาะในระยะยาวประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับการทำ SCM ที่มีประสิทธิภาพก็คือการปรับปรุงเพิ่มความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อความยืดหยุ่นและสามารถลองรับการปรับเปลี่ยนความต้องการในตลาดโดยการพัฒนาการผลิตให้เป็นลักษณะของ Mass Customization Manufacturing ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลารวมถึงความสามารถในการผลิตจำนวนน้อย ๆ ที่มี Cost Competitive ได้อีกด้วย ซึ่งหลักการนี้จะช่วยเพิ่มระดับการให้บริการและความพึงพอใจให้กับลูกค้า ผลก็คือการสร้างความประทับให้กับลูก ซึ่งจะเป็นรักษา และเพิ่มฐานของลูกค้าขององค์กร และสามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์

กุญแจแห่งความร่วมมือ

แรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้เกิดความร่วมมือ (Collaboration) ก็คือ SCM ซึ่งในระบบ SCM สิ่งควบคุมปริมาณความต้องการในการผลิตทั้งหมดก็คือปริมาณความต้องการของลูกค้า ที่ทำให้เกิด Demand Chain ส่งผลถึงกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสั่งซื้อ การผลิต การขนส่ง การออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนารูปแบบ เป็นต้น ความต้องการเหล่านี้เป็นตัวผลักดันและเพิ่มการ Collaboration, Information Sharing และกิจกรรมของ SCM เพื่อทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งกุญแจสำคัญ ๆ ที่จะทำให้ความร่วมมือนี้ประสบความสำเร็จต้องประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐานดังต่อไปนี้

- สร้างระบบการติดต่อที่เข้าใช้ได้ง่ายและต้นทุนต่ำ (Open, Low-cost Connectivity) ซึ่งจะเป็นระบบที่จะทำให้ทุก ๆ องค์กร ผู้ผลิต ลูกค้า Supplier สามารถเข้าใช้ได้ง่ายและไม่ต้องการงบประมาณสูงในการลงทุน เช่นการเชื่อมโยงด้วยระบบ Internet พื้นฐาน ซึ่งปัจจัยเปรียบเสมือนกับแรงผลักดันในการเชื่อมโยงระบบ SCM เข้าด้วยกัน รวมถึงมีระบบการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่สามารถส่งไฟล์ภาพ และ engineering drawing

- สร้างระบบและช่องทางในการติดต่อระหว่างองค์ รวมถึงผู้ซื้อ(System and Channel Integration) เช่นการทำ Website, Call Centers, proprietary network เป็นต้น

- มีระบบในการตรวจติดตามสถานะของสินค้าและการบริการที่มีประสิทธิภาพ (Higher-level Efficiency of Self Service Capabilities for Product/Service Tracking System) เป็นระบบที่ทำให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบและติดตามสถานะของสินค้าได้เพื่อให้ลูกค้ามีความมั่นใจว่าจะได้รับสินค้านั้นทันเวลาตามที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งระบบนี้ได้แก่ระบบ Product Tracking System, Logistics และ Billing System เป็นต้น และที่สำคัญควรจะรวมถึงเรื่องการสั่งซื้อ และชำระเงินซึ่งจะช่วยในการลด Transaction Cost อีกด้วย

- มีระบบการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ และติดตามข้อมูลสำหรับการผลิต (Intelligence Data Gathering, Analysis and Monitoring) ที่จะช่วยสนับสนุนในการวางแผนการผลิต และตรวจสอบ เพื่อให้ระบบการผลิตมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงทีหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

- มีการร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในโซ่อุปทาน (Supply Chain Collaboration Exchange) จากการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็วส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีอายุสั้นลง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบความต้องการของสินค้าอย่างรวดเร็วส่งให้ต้องมีการสื่อสารถึงความต้องการในระบบโซ่อุปทานจึงต้องทำให้เกิดความร่วมมือทั้งในด้าน การวิเคราะห์ การวางแผน และการพยากรณ์ของ Demand & Supply ใน Supply Chain, Planning & Inventory Collaborative, Product Design and Development, Logistics and Distribution Strategies

- สร้างระบบความปลอดภัยของการส่งและเก็บข้อมูลในระบบโซ่อุปทาน(High level of security system)

- สร้างและพัฒนาระบบ E-Commerce ที่มีประสิทธิภาพ (New E-Commerce Capabilities) ระบบ E-Commerce นับว่าเป็นกุญแจสำคัญของระบบ Supply Chain ในอนาคตเนื่องจากสามารถส่งผ่านข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเป็นผลให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย และยังช่วยต้นทุนโดยเฉพาะ Transaction Cost ต่าง ๆ เช่น Ordering, Billing, และ Payment System เป็นต้น

สรุป

จะเห็นได้ว่าการพัฒนาระบบ SCM ที่แท้จริงและยั่งยืนนั้นไม่สามารถจำกัดแค่เพียงระหว่างองค์กร (Between Individual Firm) และพิจารณาเพียงแค่ต้นทุน เพราะระบบการผลิตที่แท้จริงนั้นเกิดการพัฒนาของผลิตภัณฑ์ในลักษณะของ Supply Chain ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำถึงปลายน้ำ เปลี่ยนจากวัตถุหลาย ๆ ประเภท ไปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพียงหนึ่งชิ้น ซึ่งหากเกิดการผิดพลาดเพียงแค่หน่วยผลิตเดียวหรือหนึ่งโซ่ก็จะมีผลกระทบจนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป และยิ่งในปัจจุบันการจัดหาวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ไม่ได้ทำเพียงแค่ Local แต่เป็น Global ซึ่งหากไม่มีการวางแผนร่วมกันที่ดีทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบ ผลิตไม่ทัน และจัดส่งไม่ทันก็จะทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งกลยุทธ์การร่วมมือกันใน Supply Chain เป็นแนวทางที่สำคัญในการวางแผนให้ระบบโซ่อุปทานมีประสิทธิภาพลดการสูญเสียและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดี นอกจากนั้นการสร้างความร่วมมือจะทำให้เกิดการลดต้นทุนในขององค์กรเช่น ผู้ผลิต Supplier เช่นการ Share Cost สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือร่วมกันออกแบบระบบการผลิตใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของลูกค้า ทั้งยังสามารถเปลี่ยนระบบการผลิตจาก Push ไปเป็น Pull ซึ่งช่วยการผลิตที่เกินความต้องการของลูกค้าส่งผลให้ลดการเกิด Bullwhip Effect ในโซ่อุปทาน ลด Inventory Cost และเพิ่มความสามารถในการผลิตแบบ Mass Customization Manufacturing (MCM) ได้อีกด้วย

เอกสารอ้างอิง

Chen, F., Drezner, Z., Ryan, J. and Simichi-Levi, D. (2000), ‘Quantifying the Bullwhip Effect in a Simple Supply Chain: The Impact of Forecasting, Lead Times, and Information’, Management Science, Vol. 46, No. 3 pp436- 443

Horvath L., 2001, Collaboration: the Key to Value Creation in Supply Chain Management, Supply Chain Management: An International Journal, Vol.6, No. 5, pp. 205 – 207

Simatupang, T.M., and Sridharan. R., 2008, Design for Supply Chain Collaboration, Business Process Management Journal, Vol.14 (3), pp. 401

Stank, P., Keller, S. and Daugherty, P. (2001) ‘Supply Chain Collaboration and Logistical Service Performance’, Journal of Business Logistics, Vol. 22, No. 1, pp29-49.

Supply Chain Collaboration FAQ, available Online at Website: http://merc.mcmaster.ca/mclaren/sccfaq.html

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward