iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

CT51 การสร้างความร่วมมือในโซ่อุปทานสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งของอุตสาหกรรมสิ่งทอ: กรณีศึกษา โซ่อุปทานอุตสาหกรรมสิ่งทอ ประเทศตุรกี (Competition through collaboration: insights from initiative in the Turkish textile supply chain)

ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา

 บทนำ

ในโลกของธุรกิจการผลิต องค์กรต่าง ๆ ได้พยายามพัฒนาการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสร้างความสามารถในการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องตรงตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ รวมถึงการใช้ระบบการจัดส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ เพื่อต้นทุนสินค้าคงคลังให้กับทั้งผู้ผลิตและลูกค้า การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์ การเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การลดระยะเวลาการสั่งซื้อ และเพิ่มความความสามารถในการตอบสนองลูกค้าในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าที่มีความต้องการหลากหลาย ตามลักษณะของแฟชั่น และลักษณะของโซ่อุปทานยังเป็น Global Supply Chain อีกด้วย ดังแสดงในแผนภาพที่ 1 โดยการใช้ระบบการผลิตแบบ Mass Customisation Manufacturing (MCM)  อย่างไรก็ตามจริง ๆ แล้ว ประเด็นที่สำคัญที่น่าพิจารณาที่จะสามารถทำให้ ความสามารถในการแข่งขันดังเช่นที่กล่าวมาได้นั้นก็คือ การที่สามารถบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Resource Utisation) ระหว่าง ผู้ผลิต Supplier และ ลูกค้า ซึ่งก็คือการสร้างความร่วมมือในระบบห่วงโซ่อุปทานนั่นเอง (Supply Chain Collaborative: SCC)

แผนภาพที่ 1 Global Supply Chain ของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอ

การสร้างความร่วมมือในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ประเทศตุรกี

อุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศตุรกีนับเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้ให้กับประเทศ และนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง ทศวรรษที่ 90 ซึ่งมีอัตราเจริญเติบโตถึง 12 % หลังจากปี 2000 อุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศได้เผชิญผลกระทบจากสินค้าสิ่งทอจากประเทศจีนที่มีราคาถูกกว่าซึ่งทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศตุรกีพยกับอุปสรรค ต้นทุนที่สูงกว่า และสุดท้ายหลาย ๆ โรงงานได้ปิดตัวลง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจของประเทศและปัญหาการว่างาน

ดังนั้นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศตุรกีจึงได้ปรับตัวและหาแนวทางในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งผู้ประกอบการพบว่า การกลยุทธ์ของ ”การจัดการโลจิสติกส์ และบริหารโซ่อุปทาน” เป็นแนวทางที่เหมาะสม โดยที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอได้คิดค้นรูปแบบที่เรียบว่า Textile Dyeing Technologies (3T) ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอโดยใช้ระบบของการสร้างความร่วมมือในระบบโซ่อุปทาน และนำการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาประยุกต์ใช้ ซึ่งไม่เคยได้ถูกใช้ในประเทศตุรกีมาก่อน 3T ประกอบด้วยการรวมเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าด้วยจาก 6 ผู้ผลิต และ 10 โรงย้อมผ้า กับ ผู้ผลิตสุดท้าย ซึ่ง 3T นั้นยังสามารถจะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของแรงงานสำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่ใช้แรงงานคนเป็นหลัก จากการสำรวจพบว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอขนาด SME ของตุรกีนั้นมีใช้แรงงานคนอยู่ในช่วงประมาณ 70 – 1,000 คน

รูปแบบการพัฒนา 3T Modal จะเป็นการสร้างความร่วมมือในการสร้างเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติที่ชาญฉลาด รวมถึงมีการสร้างความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัยและพัฒนา (Research & Development: R&D) ร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น การวางแผนในการพยากรณ์และคาดการณ์แนวโน้มของแฟชั่น การร่วมมือกันวางแผนร่วมกับผู้ออกแบบเสื้อผ้าและลูกค้าเพื่อนำไปสู่การวางแผนเรื่องการย้อมผ้าเป็นทำให้เก็บ Economy of Scale เพื่อทำให้เกิดการลดต้นทุนของกระบวนการ รวมทั้งการวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบ และจัดส่งสินค้า ในการทำความรวมมือของอุตสาหกรรมสิ่งทอ 3T ผู้ประกอบการได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้

  • ส่งเสริมอุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศตุรกี โดยการทำความร่วมมือสร้างความแข็งแกร่ง เพิ่มความสามารถในการต่อรอง
  • สร้างความร่วมมือเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันกับอุตสาหกรรมสิ่งทอกับประเทศที่เป็นคู่แข่ง
  • ร่วมกันสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมใหม่ ๆ สำหรับอุตสาหกรรม
  • ร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ทั้งในประเทศตุรกี และต่างประเทศ ที่เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อให้เกิด Global Supply Chain ที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ และ เป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมสิ่งทอที่เป็นการค้าไร้พรหมแดน ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศตุรกี

กลยุทธ์ 3T ได้นำมาซึ่งความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศตุรกี โดยที่ผู้ประกอบการนั้นได้มีการร่วมมือ และมี Resource Share ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ทั้งและนอกองค์กร ส่งผลให้เกิดพัฒนาให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ และในที่สุดผลทีได้รับจากการพัฒนา 3T สำหรับกลุ่มสมาชิกที่เข้าร่วมก็คือ การสร้างความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ลดจำนวนความสูญเสียของในกระบวนการผลิต เพิ่มระดับคุณภาพของสินค้าโดยไม่ลดต้นทุนในการผลิตหรือคุณภาพของวัตถุดิบ ลดระยะเวลาการสั่งซื้อ ลดต้นทุนของสินค้าคงคลัง ลดต้นทุนของการจัดซื้อวัตถุดิบ ลดต้นทุนพลังงาน แรงงาน เพิ่มความสามารถในการจัดส่งสินค้า ลดต้นทุนของสินค้าตลอดโซ่อุปทานซึ่งจะสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรม และสุดท้ายคือ เพิ่มความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย และหลายระดับกลุ่มลูกค้า เช่น ในระดับ Luxury Brand (Prada, Amani, Gucci), Niche Brand (Max Mara), Quick Fashion Retail (Zara, H&M), MEGA Brand (NIKE, LEVI’s, DKNY) หรือ ตาม MEGA Retail (Wal Mart, TESCO) เป็นต้น   ซึ่งได้แสดงในแผนภาพที่ 1

สรุป

จะเห็นได้ว่าการสร้างความร่วมมือในตลอดระบบโซ่อุปทาน และการนำเอากลยุทธ์ของการจัดการโลจิสติกส์นั้นเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันยุคปัจจุบันโดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตที่ไม่มี Brand เป็นของตนเอง ซึ่งผู้ซื้อจะพิจารณาที่ราคาและคุณภาพ หากประเทศใดผลิตสินค้าได้ถูกกว่าและคุณภาพตรงความความต้องการก็จะหันไปซื้อในประเทศนั้น ตามที่ได้ยกตัวอย่างผลกระทบของอุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศตุรกี จากการขายสินค้าราคาถูกจากประเทศจีน ดังนั้นประกอบการสิ่งทอของประเทศตุรกีจึงต้องมีการปรับตัวเพิ่มต่อสู้กับการแข่งขันนี้ซึ่งคู่แข่งไม่ได้มีเพียงแต่ประเทศจีน ยังรวมถึงจากกลุ่ม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียซึ่งเป็นฐานการผลิตสินค้าหลักที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก

การทำความร่วมมือดังกล่าวในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ถึงทั้งปัญหา อุปสรรค จุดเดินของแต่ละฝ่ายร่วมกันซึ่งจะไปสู่การพัฒนา ซึ่งการพัฒนานี้ทั้งในด้านการพัฒนาของทั้งผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยี ก็จะนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันทั้งในด้านราคาและคุณภาพ และการเพิ่มด้วยการสร้างความร่วมมือกับลูกค้าก็จะสร้างความร่วมมือและโอกาสทางการค้าในระยะยาวทั้งการเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ที่ถูกใจตรงตามความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้เกิดความสามารถในการแข่งที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์

อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ในการพัฒนาการสร้างความร่วมมือ 3T ก็คือการขาดการความเข้าใจวางเป้าหมายร่วมกัน และการหวงข้อมูล และการกลัวว่าอีกบริษัทจะได้ลูกค้ามากกว่าหรือมีรายได้ดีกว่าซึ่งจะพบบ่อยในบริษัทที่มีการผลิตในลักษณะคล้ายกัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการ SME ซึ่งในการพัฒนานี้จะต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันในระหว่างโซ่อุปทานและเห็นถึงประโยชน์ร่วมกัน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในระยะยาว

เอกสารอ้างอิง

Centindamar, D., Catay, B., and Basmaci, S., 2005, Competition through collaboration: insights from an initiative in the Turkish textile supply chain, Supply Chain Management: An International Journal, Vol. 10, No. 4, pp. 238 – 240.

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward