iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

CT51 East-West Economic Corridor และการเป็นศูนย์กลางทางโลจิสติกส์แห่งเอเชียของประเทศไทย

ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ดร.นันทิ สุทธิการนฤนัย

ศิวณัส  อรรฐาเมศร์

บทคัดย่อ

East-West Economic Corridor เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจของประเทศใน Greater Mekong Subregion (GMS) ซึ่งประกอบด้วย พม่า ไทย ลาว และเวียดนาม   จุดประสงค์หลักของโครงการคือ เพื่อเชื่อมโยงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนระหว่างประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ รวมไปถึงพัฒนาพื้นที่รอบข้างของเส้นทางเพื่อเพิ่มรายได้ และการจ้างงานให้กับท้องถิ่น และการส่งเสริมการท่องเที่ยว

คำสำคัญ เส้นทางเศรษฐกิจ , East-West Economic Corridor, GMS

East-West Economic Corridor เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจของประเทศใน Greater Mekong Subregion (GMS) ซึ่งประกอบด้วย พม่า ไทย ลาว และเวียดนาม โดยเป็นโครงการที่จะให้ส่วนเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วย โครงการจะเน้นการพัฒนาระบบขนส่งซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างทะเลอันดามันทางฝั่งพม่าเข้ากับทะเลจีนใต้ทางฝั่งเวียดนาม ด้วยระยะทางทั้งหมด 1,450 กิโลเมตร เส้นทางจะเชื่อมโยงเมือง Mawlamyine และ Myawaddy ในพม่า มายังอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก  จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสิน จังหวัดมุกดาหาร ในประเทศไทย และเลยไปถึงเมือง Savannakhet Dansavanh ในลาว และไปสิ้นสุดเส้นทางที่เมือง Lao Bao, Hue-Dong Ha และ Da Nang ในเวียดนาม จุดประสงค์หลักของโครงการเพื่อเชื่อมโยงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนระหว่างประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ รวมไปถึงพัฒนาพื้นที่รอบข้างของเส้นทางเพื่อเพิ่มรายได้ และการจ้างงานให้กับท้องถิ่น และการส่งเสริมการท่องเที่ยว

East-West Economic Corridor จะทำให้การขนส่งสินค้าจากเมืองต่างๆ ในเส้นทางนี้มีความสะดวกมากขึ้น เราจะสามารถทำการขนส่งสินค้าทางถนนจากเมือง Mawlamyine ซึ่งอยู่ติดกับชายฝั่งอันดามันของพม่า มายังสุดปลายทางที่เมือง Da Nang ซึ่งอยู่ติดกับชายฝั่งทะเลจีนใต้ของเวียดนามได้อย่างสะดวกและต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ปริมาณการค้าการลงทุนที่จะเกิดขึ้นยังต้องอาศัยปัจจัยอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากการมีถนนหนทางเชื่อมต่อกันเท่านั้น การส่งเสริมให้มีการเปิดการค้าเสรีทางการค้าระหว่างประเทศต่างๆ ในกลุ่ม Greater Makong Subregion มีความสำคัญในการที่จะช่วยส่งเสริมและเพิ่มมูลค่าและปริมาณการค้าระหว่างประเทศ การเปิดเสรีทางการค้าไม่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเกินไปและทำทีเดียวทั้งหมด ทางรัฐบาลไทยสามารถที่จะทำการศึกษาถึงข้อได้เปรียบและเสียเปรียบจากเปิดเสรีของสินค้าแต่ละชนิดและเลือกเปิดเสรีในหมวดสินค้าที่จะไม่ทำให้ประเทศเราเสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงมุ่งเปิดเสรีเพื่อเพิ่มความกินดีอยู่ดีของคนในประเทศเป็นหลัก โดยอาจตกลงทำการเปิดเสรีในสินค้ากับประเทศคู่ค้าต่าง ๆ เช่น การทำสัญญา FTA (Free trade area) กับประเทศต่างๆ เป็นรายสินค้าไป การเปิดเสรีอาจจะทำให้ภาคการผลิตบางส่วนของประเทศไทยได้รับผลกระทบ แต่ถ้าการเปิดเสรีทำให้ประชาชนโดยรวมในประเทศสามารถบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้นด้วยราคาที่ถูกลง รัฐบาลก็อาจจะส่งเสริมการเปิดเสรีในภาคนั้นๆ และหามาตรการมาช่วยเหลือรองรับผู้ผลิตในประเทศที่จะได้รับกระทบ

นอกจากการเปิดเสรีทางการค้าแล้ว ควรมีการส่งเสิรมการเปิดเสรีการลงทุนระหว่างประเทศด้วย พม่าและลาวเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพและต้นทุนแรงงานต่ำกว่าประเทศไทยมาก อีกทั้งการมีถนนหนทางที่เชื่อมต่อถึงกันหมดจะเป็นโอกาสอันดีสำหรับนักลุงทุนจากประเทศไทย การลงทุนข้ามชาตินี้จะส่งผลดีทั้งต่อประเทศผู้ไปลงทุนและประเทศเจ้าบ้านที่ต้อนรับการลงทุน ซึ่งประเทศผู้ไปลงทุนจะได้รับประโยชน์จากวัตถุดิบและแรงงานที่มีราคาถูกกว่าในประเทศตนเอง ประเทศเจ้าบ้านเองก็จะมีการจ้างงานและเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน การปิดกั้นการลงทุนระหว่างประเทศจะส่งผลให้การลงทุนข้ามชาติไม่เกิดขึ้น เศรษฐกิจในภูมิภาคไม่ขยายตัวอย่างที่ควรจะเป็น และการค้าและการขนส่งจะถูกจำกัดอยู่เพียงแค่การนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศเท่านั้น

การอำนวยความสะดวกของรัฐบาลในการตรวจปล่อยสินค้าที่ด่านศุลกากรตามชายแดนก็มีความสำคัญต่อการค้าและการลงทุนในภูมิภาค รัฐบาลต้องพัฒนาด่านตรวจปล่อยศุลกากรให้มีการดำเนินงานที่รวดเร็วและไม่เป็นอุปสรรคต่อการขนย้ายสินค้าข้ามประเทศ สินค้าบางประเภทอาจจะผ่านเข้ามาในประเทศไทยเพื่อส่งต่อไปยังลาวและเวียดนามโดยไม่มีการเปิดกล่องเอามาขายในประเทศแต่อาจจะมีการพักสินค้าไว้ในโกดังในประเทศ รัฐบาลจะต้องออกเอกสารพิเศษให้กับสินค้าเหล่านี้โดยเร่งให้กระบวนการตรวจปล่อยเป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด รวมไปถึงการเจรจาต่อรองกับประเทศอื่นๆ ในการอำนวยความสะดวกการตรวจปล่อยทางด่านศุลกากรลักษณะเดียวกันสำหรับสินค้าที่ถูกส่งผ่านประเทศนั้นๆ การพัฒนาควรมุ่งไปถึงจุดที่จะทำให้การตรวจปล่อยสินค้าของศุลกากรของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคใช้มาตรฐานและเอกสารรูปแบบเดียวกัน เพื่อลดขั้นตอนที่ยุ่งยากและแตกต่างและช่วยให้การดำเนินงานตรวจปล่อยรวดเร็วยิ่งขึ้น 

สิ่งต่อไปที่จะสนับสนุนให้เกิดการค้าการลงทุนระหว่างภูมิภาคคือการพัฒนาระบบการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยเน้นการลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดต้นทุนในการสื่อสารโทรคมนาคม การค้าจะเกิดขึ้นอย่างยากลำบากมากถ้าต้นทุนค่าโทรศัพท์ระหว่างประเทศของไทย พม่า ลาว และ เวียดนามยังอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการให้บริการทางอินเตอร์เน็ท ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในการติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทต่างๆ รวมไปถึงการติดต่อกับส่วนราชการ โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้รูปแบบการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจได้พัฒนาเป็นรูปแบบการส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์และผ่านทางเวปไซต์เป็นหลัก (Web-based applications) รัฐบาลของประเทศต่างๆ ควรร่วมประชุมหารือกันโดยร่วมกันสร้างแผนแม่บทในการพัฒนาระบบโทรคมนาคมติดต่อสื่อสารของภูมิภาค การมีแผนแม่บทเดียวกันจะส่งผลให้ประเทศต่างๆ มีโครงสร้างพื้นฐานที่มีมาตรฐานเดียวกันและสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ นอกจากนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันจะส่งผลให้ประเทศต่างๆ ได้ประโยชน์จากการประหยัดจากการมีเครือข่ายการผลิตและบริการขนาดใหญ่ (Economy of Scale) ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนโดยรวมได้

ในส่วนของประเทศไทย ควรจะมีการวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อที่จะใช้ประโยชน์จาก East-West Economic Corridor ได้อย่างเต็มที่ รัฐบาลควรมีการส่งเสริมการค้าและการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน โดยอาจมีกระทรวงพานิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นด้านหน้าในการเข้าไปเจรจาต่อรองในเรื่องการนำสินค้าเข้าไปขายและลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนั้น ก็อาจมีการจัดอบรมและร่วมกำหนดกลยุทธ์กับผู้ประการทางด้าน Logistics ในการที่จะเข้าไปมีส่วมร่วมในการให้บริการทางด้านการขนส่งบนเส้นทางนี้ เพราะเชื่อว่าผู้ประกอบการไทยเองมีความสามารถในการแข่งขันสูงกว่าผู้ประกอบการณ์จากประเทศเพื่อนบ้านในละแวกนี้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเทคโนโลยีการบริหารการจัดการและความพร้อมในเรื่องของบุคลากรและพาหนะในการขนส่ง จะติดปัญหาเพียงแค่ว่าประเทศเพื่อนบ้านจะยินยอมให้เข้าไปให้บริการในประเทศหรือไม่เท่านั้น นอกจากนี้ ภูมิประเทศของประเทศไทยเองถือว่าอยู่ตรงกลางของเส้นทาง East-West Economic Corridor ซึ่งจะเป็นโอกาสให้เราสามารถที่จะจัดตั้งคลังสินค้าขึ้นเพื่อบริการกระจายสินค้าต่อไปยังเมือง และประเทศต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่น สินค้าบางอย่างจากพม่า อาจจะได้รับความสนใจจากลูกค้าที่ลาวและเวียดนาม แต่เนื่องจากปริมาณความต้องการสินค้ามีไม่มากพอที่จะขนส่งเต็มคันรถได้ ซึ่งเป็นการไม่คุ้มต้นทุนที่จะส่งสินค้าในปริมาณน้อย ก็สามารถที่จะนำสินค้ามาพักไว้ที่โกดังสินค้าในไทย และถูกจัดส่งรวมไปกับสินค้าจากไทยที่จะส่งไปยังลาวและเวียดนามได้ การกำหนดกลยุทธ์และการวางแผนและจัดการอย่างเป็นระบบของภาครัฐและเอกชน จะเป็นสิ่งที่ทำให้มั่นใจได้ว่าโครงการลงทุน East-West Economic Corridor ไม่ได้เป็นการลงทุนที่เสียเปล่าของรัฐบาลไทย

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward