iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

CT51 การปรับปรุงกระบวนการโลจิสติกส์ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหาร (Improving Logistics Operations across the Food Industry Supply Chain)

ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้ต้องการแสดงถึงแนวทางในระบบโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหาร โดยการนำหลักการของระบบการจัดการโลจิสติกส์ และการกระจายสินค้า นอกจากนั้นยังรวมถึงเชื่อมโยง Business-to-Business (B2B) และ e-commerce ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนระบบการจัดการโลจิสติกส์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารในอนาคต

บทนำ

Food and Agriculture Organization (FAO) แห่ง สหประชาชาติ ได้กล่าวว่า ปริมาณความต้องการปริมาณสินค้าประเภทอาหารที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค ส่งผลให้เกิดต้นทุนของการผลิตอาหารที่สูง ซึ่งส่งผลถึงราคาขายที่สูงขึ้น (ดังแสดงในแผนภาพที่ 1 และ 2) ดังนั้นทั้งผู้ผลิต ผู้ขนส่งและกระจายสินค้า รวมถึงร้านค้าปลีกต่าง ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับตัว และวิธีการกลยุทธ์ต่าง เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจอุตสาหกรรมของต้น ซึ่งกลยุทธ์ ของการจัดการโลจิสติกส์ และ โซ่อุปทานจึงแนวทางเลือกที่น่าสนใจ ที่จะสามารถช่วย ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อ และบริหารสินค้าคงคลัง เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการลดต้นทุนในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งจากการศึกษาของสมาพันธ์โลจิสติกส์แห่งยุโรบ (European Logistics Association) นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนโลจิสติกส์ที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ ถึง ประมาณ 30% ดังแสดงในแผนภาพที่ 3

แผนภาพที่ 1 แนวโน้มความต้องการอาหารโลก   แผนภาพที่ 2 World Food Price Indices

แผนภาพที่ 3 เปรียบเทียบต้นทุน Logistics ระหว่างอุตสาหกรรมอาหาร กับอุตสาหกรรมหลักประเภทอื่น ๆ ในทวีปยุโรปโดย European Logistics Association

โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ของอุตสาหกรรมอาหาร

ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหาร เป็นระบบที่ซับซ้อนและหลากหลายโดยมีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยต่าง ๆ ตั้งแต่ วัตถุดิบจากเกษตรกร วัตถุดิบปรุงแต่ง กระบวนการขนส่งและกระจายสินค้า โรงงานผลิตอาหาร ผู้ค้าส่งและค้าปลีก จนถึงมือผู้บริโภค (ดังแสดงในแผนภาพที่ 4) โดยผ่านกระบวนการสนับสนุนของทั้งการ เคลื่อนย้ายและจัดเก็บ หรือ กิจกรรมโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าซ้ำยังทำให้เป็นภาระต้นทุนและสูญเสียความสามารถในการแข่งขันอีกด้วย ดังนั้น

แผนภาพที่ 4 โซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหาร

ดังนั้นในการแข่งขันที่รุนแรงที่ผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มีราคาถูกและคุณภาพดีนั้น ความสามารถในการจัดการกิจกรรมโลจิสติกส์นั้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่ส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็ว ลดต้นทุนของสินค้าคงคลัง พัฒนาระบบอุตสาหกรรมอาหารให้เป็นระบบ Just in Time (JIT) นอกจากนั้นในระบบการผลิตยังมีการนำระบบการ Outsourcing มาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการผลิตในบางส่วน ซึ่งผู้ผลิตสามารถมอบหมายให้บริษัทอื่นผลิตในผลิตภัณฑ์ในส่วนที่บริษัทหลักไม่ถนัด ผลิตไม่คุ้มตามจำนวน หรือไม่ได้ (Economy of Scale) การ Outsourcing ยังสามารถทำให้ทั้ง บริษัทหลัก และ Outsourcing ได้รับผลประโยชน์ร่วมกันทั้งในด้านต้นทุน การพัฒนา และผลกำไรในระยะยาว รวมถึงการสร้างพันธมิตรทางการค้าอีกด้วย ซึ่งในหลายอุตสาหกรรมนั้น ผู้ผลิตจึงได้พยายามวางแผนและแก้ไขปรับปรุงประสิทธิภาพในลักษณะของโซ่อุปทานตั้งแต่ Supplier จนถึง Customer

แนวทางพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหาร

ในการพัฒนาจะสร้างความสัมพันธ์เครือข่ายโครงสร้างของระบบโซ่อุปทานระหว่าง ลูกค้า และ Supplier เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของระบบการผลิตนั้นจำเป็นต้องมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบการสื่อสารส่งข้อมูลที่ชัดเจนโปร่งใส ถูกต้อง และสามารถตรวจสอบติดตามได้ ซึ่งระบบต่อไปนี้จะต้องประกอบด้วยระบบพื้นฐาน ดังต่อไปนี้

  1. Purchasing: กิจกรรมการจัดซื้อนับว่าเป็นกิจกรรมที่ท้าทายสำหรับผู้ผลิต

กิจกรรมนี้ จะเป็นตัวแปรสำคัญในการนำไปสู่ความสำเร็จของการเป็นผู้ผลิตที่มีระบบ Just-in-Time ที่ทำให้มีระบบสินค้าคงคลังอย่างพอเพียง และมีสินค้ามาส่งตรงตามเวลาที่ได้นัดหมายไว้ ซึ่ง จุดมุ่งหมายของ JIT มีดังต่อไปนี้

  1. รักษาเสถียรภาพของการไหลของวัตถุดิบในกระบวนการผลิต
  2. ลด lead-time สำหรับ required for ordering product
  3. ลดจำนวนของสินค้าคงคลังในระบบโซ่อุปทาน
  4. ลดต้นทุนการจัดซื้อวัตถุดิบ
  5. Scheduling: สิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิด JIT ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีการนัด

หมายถึง การรับส่งสินค้าที่แน่นอน ซึ่งผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อจะต้องมีการประสานงานถึงความต้องการวัตถุดิบจากฝ่ายผลิตว่าต้องการเท่าไหร่ เมื่อใด รวมถึงจะต้องมีการคาดการณ์พยากรณ์ถึงปริมาณและจำนวนวัตถุดิบ ราคา ในอนาคต รวมถึงความสามารถในการจัดส่ง กับ supplier เพื่อที่จะนำมาจัด schedule plan

สรุป

ในอุตสาหกรรมอาหาร การพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอาหารจะสามารถช่วยให้เกิด การลดต้นทุน และปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต และความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ผลิต ลูกค้า และ supplier อย่างไรก็ตามเพื่อให้การพัฒนาระบบ ทั้งในด้านการจัดซื้อ และ JIT ให้มีประสิทธิภาพจะต้องมีการพัฒนา ประสิทธิภาพของบุคลากรในแง่ของการบริหารจัดการ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการผลักดัน JIT รวมถึงระบบตรวจสอบติดตามต่าง ๆ เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ ลดความผิดพลาดจากงานเอกสาร รวมถึงการลด Transaction Cost ต่าง ๆ พัฒนาประสิทธิภาพของระบบการคาดการณ์พยากรณ์การจัดซื้อ และการจัดผังการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับการงาน ซึ่งการพัฒนานี้จะสามารถลดต้นทุนในการบวนการผลิตอาหาร ซึ่งจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตอุตสาหกรรมอาหารได้

เอกสารอ้างอิง

Aghazadeh, S.-M. (2001), “A comparison of just-in-time inventory and the quantity discount model in retail outlets”, Logistic Information Management, Vol. 14 No. 3.

Burton, T.T. (1997), “Outsource: increasing supply chain agility”, Electronic Buyer News, p. 15.

Business Wire (2001), “Synchronization savings for foodservice to exceed $1.1 billion; efficient foodservice response study results document potential impact”, Business Wire, Vol. 13 No. 16.

Kinsley, J. (2000), “A faster, leaner, supply chain: new uses of information technologies”, American Journal of Agricultural Economics, Vol. 14 No. 2.

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward