iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

CT51 Logistics and Supply Chain ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมกาแฟ กรณีศึกษา บริษัทเนสกาแฟ

ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย รัตนวงษ์

Manufacture/Factory

สำหรับการขนส่งจาก จุดรับซื้อไปส่งยังโรงงานของทาง Nestle ซึ่งอยู่ ณ จังหวัดฉะเทริงเทราดังรูป 1 นั้น จะทำการ Outsource ให้แก่บริษัทฯขนส่งท้องถิ่นดำเนินการให้

รูป 1 โรงงาน Nestle ซึ่งอยู่ ณ จังหวัดฉะเทริงเทรา

โรงงาน Nestle ที่ฉะเทริงเทรานั้นจะทำการผลิตปีละ ประมาณ 120 เมตริกตัน โดยในโรงงานจะทำการผลิตเพียงแค่ Nest Café “Red Cup”เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดังรูป 2

รูป 2 ผลิตภัณฑ์ Nest Café Red Cup

กระบวนการผลิต

Flow Chart ดังรูปที่ 3 แสดงกระบวนการผลิตภายในโรงงาน

รูป 3 แสดงกระบวนการผลิตภายในโรงงานฉะเทริงเทรา

โดยรายละเอียดของขั้นตอนต่างๆมีดังนี้

  • ขั้นตอนที่ 1: Green Bean Cleaning & Storage: เมล็ดกาแฟที่ถูกกะเทาะเปลือกเรียบร้อยและเก็บไว้ใน Bin สำหรับเก็บเมล็ดกาแฟที่ควบคุมความชื้น และอยู่ในที่อุณหภูมิที่ต่ำ จะถูกนำมาทำความสะอาด โดยการใช้เครื่อง Spray drying เป่า เพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออก
  • ขั้นตอนที่ 2: Blending (การผสมกาแฟ) คือ การนำกาแฟพันธุ์ต่างๆ มาผสมกันตามสูตรเฉพาะ เพื่อให้ได้กาแฟที่ต้องการโดยจะนำเอากาแฟ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์อาราบิก้าและพันธุ์โรบัสต้ามาผสมกันซึ่ง  พันธุ์อาราบิก้าจะมีกลิ่นหอมแต่รสชาติไม่เข้มข้น  ส่วนพันธุ์โรบัสต้ามีรสชาติเข้มข้น แต่ความหอมจะด้อยว่าพันธุ์อาราบิก้ามาก

  • ขั้นตอนที่ 3: Roasting (การคั่ว) การคั่วเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการผลิตกาแฟ โดยกลิ่นรสสุดท้ายของกาแฟจะขึ้นกับวิธีการคั่ว ตลอดจนสภาวะที่ใช้คั่ว โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมในการคั่วอยู่ที่ประมาณ 200 องศาเซลเซียส
  • ขั้นตอนที่ 4: Grinding (การบด) การบดมีลักษณะดังนี้คือ

    1) แบบหยาบ

    2) แบบหยาบปานกลาง

    3) แบบละเอียด

    4) แบบละเอียดมาก โดยใช้เครื่องบดมาตรฐาน เรียกว่า motorized grinders ซึ่งการบดเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์

  • ขั้นตอนที่ 5: Aroma Recovery (การแยกสารที่ให้กลิ่นหอม) เป็นการถนอมกลิ่นไม่ให้สูญเสียไปกับกระบวนการผลิต ให้สภาพของกลิ่นคงความหอมและสดใหม่อยู่เสมอ
  • ขั้นตอนที่ 6: Extraction (การสกัดเมล็ดกาแฟ) Countercurrent system กาแฟจะถูกผ่านเข้าสู่ภาชนะควบคุมอุณหภูมิรูปทรงกลมอย่างต่อเนื่อง และจะถูกขนขึ้นด้านบนด้วยสกรูเกลียวที่มีรอบ 
    การหมุน 10-22 รอบต่อชั่วโมง น้ำร้อนจะเข้ามาทางด้านบนเพื่อสกัดของแข็งที่ละลายน้ำได้ในกาแฟ จากนั้นน้ำกาแฟที่ได้จะปล่อยออกทางด้านล่าง การทำงานของระบบต้องใช้ความดันและอุณหภูมิประมาณ 180 องศาเซลเซียส
  • ขั้นตอนที่ 7: Evaporation (การระเหยน้ำ) เป็นกระบวนการสกัดความชื้นของเมล็ดกาแฟโดยมีการปรับอุณหภูมิของตัวเครื่อง เพื่อให้ความร้อนระเหยออกมาเป็นไอ สกัดความชื้นให้เมล็ดกาแฟแห้ง ถ้าเมล็ดกาแฟมีความชื้นจะทำให้เกิดเชื้อรา จะไม่สามารถนำมาใช้ในการผลิตได้ เพราะเมล็ดกาแฟหมดคุณภาพ
  • ขั้นตอนที่ 8: Aroma Recovery (การฉีดสารที่ให้กลิ่นหอม) หลังจากการระเหยน้ำ จะทำการฉีดสารที่ให้กลิ่นหอมกลับเข้ามา เพื่อคืนสภาพของกลิ่นให้กลับมาคงความหอมและสดใหม่อยู่เสมอ
  • ขั้นตอนที่ 9: Standardization (การวัดค่ามาตรฐาน) เป็นการวัดความเข้มข้นของกาแฟให้ได้มาตรฐานตามที่ต้องการ
  • ขั้นตอนที่ 10: Drying(การทำแห้ง): การทำแห้งแบบพ่นฝอยเป็นการทำให้น้ำกาแฟเกิดเป็นละอองเล็กขนาดหยดน้ำ  ในกระแสลมร้อนที่ไหลในทิศทางเดียวกัน  ในถังทำแห้งขนาดใหญ่ กาแฟแห้งที่ได้จะถูกแยกออกไปโดยการใช้ Centrifugal atomizer ส่วนของเหลวจะถูกส่งไปยังภาชนะหมุน เพื่อสร้างขนาดของหยดสารละลายใหม่ในการเสปร์ย
  • ขั้นตอนที่ 11: Filling & Packing (การบรรจุภัณฑ์) เมื่อได้กาแฟผงสำเร็จรูปก็จะนำเข้าสู่กระบวนการบรรจุภัณฑ์ โดยใช้เครื่องมือในการบรรจุภัณฑ์ หลังจากนั้นก็จะทำการ Packaging และขนย้ายไปยังโกดังพักสินค้า เพื่อรอการขนส่งไปยัง DC ต่อไป

หลังจากกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อย สินค้าจะถูกเก็บในคลังสินค้าและพร้อมกระจายสู่ลูกค้า 

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward