iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

CT51 Logistics and Supply Chain ต้นน้ำในอุตสาหกรรมกาแฟ กรณีศึกษา บริษัทเนสกาแฟ

ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

โดย ผศ.ดร.วันชัย รัตนวงษ์

ในปัจจุบันไทยมีผู้ผลิตกาแฟผงสําเร็จรูปเพียง 3 รายในประเทศ โดยมีบริษัท ควอลิตี้คอฟฟี่โปรดัคส์ จํากัด ที่ผลิตกาแฟยี่ห้อ “เนสกาแฟ” มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด ดังนั้นการมีผู้ผลิตภายในประเทศน้อยรายและมีรายหนึ่งที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงกว่ามาก อุตสาหกรรมกาแฟผงสําเร็จรูปเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 โดยมีบริษัท กาแฟผงไทยจํากัด เป็นผู้ผลิตรายแรกในตรา “เนสกาแฟ” แต่ต่อมาเมื่อบริษัท เนสท์เล่ (สวิตเซอร์แลนด์) เข้ามาเป็นผู้ร่วมทุน จึงได้ตั้งบริษัทชื่อ บริษัท ควอลิตี้คอฟฟี่โปรดัคส์ จํากัด ขึ้นมาเป็นผู้ผลิตกาแฟผงสําเร็จรูปแทน ส่วนบริษัท เขาช่องอุตสาหกรรม 1979 จํากัด และ บริษัท ซาราลี(ประเทศไทย) จํากัด (เดิมชื่อ บริษัท สยามโคน่า จํากัด) นั้นเข้ามาเป็นผู้ผลิตกาแฟผงสําเร็จรูป

ในภายหลังในปี 2543 ประเทศไทยมีกําลังการผลิตกาแฟผงสําเร็จรูปทั้งอุตสาหกรรมประมาณ 15,690 ตัน โดยมีปริมาณการผลิตประมาณ 10,000 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 64 ของกําลังการผลิตทั้งหมด ซึ่งกาแฟผงสําเร็จรูปยี่ห้อ “เนสกาแฟ” มีส่วนแบ่งตลาดโดยคำนวณจากปริมาณการผลิตในปี 2544 มากที่สุดถึงร้อยละ 88 ส่วนยี่ห้อ “เขาช่อง” และ “มอคโคน่า” มีส่วนแบ่งตลาดใกล้เคียงกันคือร้อยละ 3 และ 4 ตามลำดับ

ส่วนกาแฟผงสําเร็จรปูที่นำเข้าจากต่างประเทศนั้นยังมีปริมาณไม่มากนักซึ่งมักเป็นกาแฟผงสําเร็จรูปที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศไทย ตลาดหลักกาแฟผงสําเร็จรูปของผู้ผลิตในประเทศมากกว่าร้อยละ 90-95 คือ ตลาดในประเทศ ขณะที่ปริมาณการส่งออกและนําเข้ามีเพียงเล็กน้อย โดยผู้ผลิตกาแฟผงสําเร็จรูปในประเทศมีช่องทางการจัดจําหน่าย โดยมี 2 บริษัท คือ บริษัทควอลิตี้คอฟฟี่โปรดัคส์ และ บริษัทเขาช่องอุตสาหกรรม ที่มีการตั้งตัวแทนจําหน่ายเพียง 1-2 ราย และตัวแทนเหล่านั้นจะเป็นผู้ขายสินค้าต่อให้แก่ร้านค้าส่ง ร้านค้าปลีก หรือกลุ่ม Modern Trade อีกทอดหนึ่ง ซึ่งบริษัทควอลิตี้ คอฟฟี่โปรดัคส์ ได้แต่งตั้งให้ บริษัท เนสท์เล่ โปรดักส์ ไทยแลนด์อิงค์ เป็นตัวแทนจําหน่ายสินค้าให้ ส่วนบริษัทเขาช่องอุตสาหกรรม มีตัวแทนจํ าหน่ายคือ บริษัทคอฟฟี่เซลส์ (ขายในกรุงเทพ) และบริษัทซีพีคอนซูเมอร์โปรดักส์ (ขายในต่างจังหวัด) ส่วนบริษัทซาราลี นั้นไม่ได้ตั้งตัวแทนจําหน่าย โดยบริษัททําการจัดจําหน่ายแก่ผู้ค้าส่งและกลุ่ม modern trade เอง จะเห็นได้ว่าผู้ผลิตทั้ง 3 รายมิได้ขายตรงให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งจะแตกต่างกับในกรณีของปูนซีเมนต์ กระเบื้องมุงหลังคา ยางรถยนต์ ฯลฯ ที่มีการขายโดยตรงให้แก่ผู้บริโภครายใหญ่ เช่น บริษัทรับเหมาก่อสร้างหรือโรงงานประกอบรถยนต์ เป็นต้น

อุปสรรคและปัญหาการแข่งขันของตลาดกาแฟผงสําเร็จรูป

1. ความภักดีในสินค้าสูงผู้ผลิตกาแฟผงสําเร็จรูปยี่ห้อ “เนสกาแฟ” เป็นผู้ผลิตกาแฟรายแรกในประเทศไทยทําให้ผู้บริโภค โดยทั่วไปคุ้นเคยกับยี่ห้อและรสชาติของกาแฟนี้มานาน อีกทั้งผู้ผลิต “เนสกาแฟ” ยังมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นการตอกยํ้ายี่ห้อสินค้าและสร้างภาพลักษณ์ให้ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าตนเองมากขึ้น เมื่อมีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาในตลาดจึงไม่สามารถแย่งชิงตลาดจากเนสกาแฟได้ อีกทั้งราคาของเนสกาแฟก็อยู่ในระดับปานกลาง ผู้บริโภคจึงสามารถหาซื้อมาบริโภคได้

2. ภาษีนําเข้ากาแฟผงสําเร็จรูปดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า กาแฟผงสําเร็จรูปที่นําเข้ามาในประเทศจะเป็นชนิดที่ผู้ผลิตไทยไม่สามารถผลิตเองได้เท่านั้น คือ เป็นกาแฟแบบเกล็ดแข็ง หรือกาแฟประเภทไม่มีคาเฟอีน ส่วนกาแฟที่ผู้ผลิตไทยผลิตได้ เช่น กาแฟชนิดเกล็ดฟู จะไม่มีผู้ผลิตรายใดนําเข้ามาเนื่องจากภาษีนําเข้ากาแฟผงสําเร็จรูปสูงถึง 40% หากนําเข้าจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียน แต่ถ้านําเข้ากาแฟผงสําเร็จรูปจากกลุ่มประเทศอาเซียนจะมีอัตราภาษี 0-5% อย่างไรก็ตาม กาแฟผงสําเร็จรูปที่นําเข้าโดยส่วนใหญ่จะนําเข้ามาจากประเทศเยอรมันและฮอลแลนด์ ทําให้ราคากาแฟนําเข้าสูงกว่ากาแฟที่ผลิตในไทย

3. ราคาเมล็ดกาแฟดิบแม้ว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตเมล็ดกาแฟดิบได้เป็นจํานวนมาก แต่รัฐบาลยังมีการคุ้มครองราคาเมล็ดกาแฟดิบภายในประเทศอยู่ โดยกําหนดให้ผู้ผลิตกาแฟผงสํ าเร็จรูปต้องซื้อเมล็ดกาแฟดิบในราคาประกัน ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาในตลาดโลกประมาณ 50% ทําให้ผู้ผลิตกาแฟโครงการสํารวจพฤติกรรมทางการตลาดเพื่อสนับสนุนระบบการแข่งขันตามโครงการส่งเสริมระบบการแข่งขันทางการค้าที่เกื้อหนุนต่อการส่งออก

Supply Chain Management of Nestle

จากในตอนต้นที่เราได้กล่าวถึงกาแฟ และตลาดกาแฟในไทยไปแล้ว ต่อไปจะเข้าสู่ระบบห่วงโซ่อุปทานของบริษัทควอลิตี้ คอฟฟี่โปรดัคส์ “Nestle” เพื่อทำการติดตามดู ตั้งแต่ที่มาของเมล็ดกาแฟ การอบรมชาวสวน จุดรับซื้อตลอดจนการผลิตและการกระจายสินค้าให้แก่ผู้บริโภค

Nestle มี Supplier หลักอยู่ทางภาคใต้ ดังนั้นวัตถุดิบทั้ง 100% จึงได้แก่กาแฟพันธุ์โรบัสต้าโดย Nestle จะมีศูนย์อยู่ทางภาคใต้ทั้งหมด 5 แห่งได้แก่

Nestle มีรูปแบบขั้นตอนในการหา Supplier โดยการแจก ต้นอ่อนของกาแฟให้แก่เกษตร เพื่อนำไปปลูกโดยจะแจกให้ที่อัตรา ไร่ละ 500 ต้น หรือในกรณีที่ประสบกับภาวะที่มีต้นกาแฟไม่เพียงพอ ก็จะใช้วิธีกำหนดโควต้าแทน

สำหรับการเพาะพันธุ์กาแฟ ที่ทาง Nestle ต้องการจะอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสและเมื่อเพาะพันธุ์ได้ที่ 3-5 ปี จะทำการขนส่งไปยัง บริษัทฯในเครือทั้งหมดเพื่อทำการแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรสำหรับการเพาะปลูก โดยทาง Nestle ประเทศไทยเอง ยังมีการจัดตั้งศูนย์อบรม เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรอีกด้วย

นอกเหนือจากนั้น ทาง Nestle ได้มีการจัดตั้งศูนย์ทดลองที่ อ.สวี จังหวัดชุมพรอีกด้วย ส่วนวิธีการปลูกนั้นจะเป็นไปตามรายละเอียดที่ได้กล่าวไว้ในเรื่องการเพาะปลูก ในเนื้อหาก่อนหน้านี้ จากนั้นเมื่อทำการปลูกและได้ผลผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงทำการ บรรจุลงถุงกระสอบเพื่อส่งต่อไปยังจุดรับซื้อของทางบริษัทฯดังรูป

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward