CT51 การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบสามารถจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันจริงหรือ (Multimodal Transportation, Increasing Competitiveness)
ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
โดย ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
1 บทนำ
สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนี้ ผู้ประกอบการจะต้องเผชิญสภาวะการแข่งที่สูงขึ้นทั้งจากการที่ผู้ใช้บริการ มีทางเลือกมากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผู้ให้บริการทั้งในจากในประเทศ และจากต่างประเทศ ผนวกกับปัจจัยแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคต่าง ๆ เช่น การแข็งค่าของเงินบาท ราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว รวมถึงต้นทุนในการผลิตต่าง ๆ ที่ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการขนส่งสินค้าภายในประเทศไทยนั้น กระทรวงคมนาคม[1]ได้รายงานว่าการขนส่งทางถนนเป็นการขนส่งที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดเนื่องจากมีความรวดเร็วและสามารถรับและขนส่งสินค้าได้แบบ Door-to-Door ซึ่งมีสัดส่วนถึง ร้อยละ 90 เมื่อเปรียบกับการขนส่งในรูปแบบ (Mode) อื่น ๆ เช่น ทางระบบราง ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ประมาณ แต่กลับมีต้นทุนในการขนส่งสินค้าต่อตันต่อกิโลเมตรสูงกว่าหมวดการขนส่งสินค้าประเภทอื่น ๆ เนื่องจากปัจจัยทั้งในการความสามารถในการบรรทุกต่อครั้งต่อการขนส่งของรถบรรทุกนั้นน้อยกว่าหมวดการขนส่งประเภทอื่น
ดังนั้นหากผู้ประกอบการต้องการลดค่าขนส่งโดยรวมนั้นจะต้องมีการวางแผนการขนส่งทีมีประสิทธิภาพ มีการวางแผนการเลือก Mode ของการขนส่งสินค้า เช่น การขนส่งระยะไกลควรเลือกการขนส่งทางรถไฟ การขนผลิตภัณฑ์นั้นเป็นต้องการส่งเร็วหรือไม่ ต้นทางปลายทางนั้นสามารถใช้ Mode การขนส่งอะไรบ้าง ซึ่งระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบนั้นเป็นอีกทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบนั้นอาจไม่ได้ช่วยให้ผู้ประกอบการได้เปรียบด้านต้นทุนในทุก ๆ กรณี ซึ่งบางครั้งอาจสร้างภาระและเป็นการเพิ่มต้นทุนซึ่งเป็นอุปสรรคขององค์กรอีกด้วย ึ่งบางครั้งอาจสร้างภาระและเพิ่มต้นทุนในทุก ๆ กรณี ดังนั้นนอาจไม่ได้คุ้มค่าแลเร็วหรือไม่ ต้นทางปลายทางนั้นสามารถใช้ ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องมีหลักการในการประเมินเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกวิธีการขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันารเป็นการเพิ่มต้นทุนซึ่งเป็นอุปสรรคขององค์กรอีกด้วย
2 การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation)
การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเป็นรูปแบบการขนส่งสินค้าจากต้นทางจนถึงปลายทางไม่ว่าจะเป็นการขนส่งภายในประเทศหรือการขนส่งระหว่างประเทศ โดยใช้หมวดการขนส่งมากกว่าหนึ่งหมวดการขนส่งในการขนส่งสินค้า เช่น รถบรรทุก รถไฟ เรือ เครื่องบิน หรือแม้กระทั่งทางท่อ ดังแสดงในแผนภาพที่ 1
ที่มา: กระทรวงคมนาคม
แผนภาพที่ 1 การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
ซึ่งระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อการขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งใน ด้านต้นทุนคงที่ (Fix Cost) ต้นทุนแปรผันหรือต้นทุนในการปฏิบัติการ (Operation Cost) และ ต้นทุนในด้านเวลา (Time Consuming Cost)
3 การตัดสินใจการเลือกใช้การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation Decision Making)
จากที่กล่าวมาในข้างต้น จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบน่าจะเป็นแนวทางที่จะทำให้ผู้ประกอบการขนส่งมีศักยภาพใน ด้านต้นทุน และด้านเวลา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบนั้นอาจไม่ได้สร้างความสามารถในการแข่งขันเสมอไปแต่กลับลดความสามารถในการแข่งของทั้งต้นทุนและเวลา เนื่องจากการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบจะต้องอาศัย เงินทุนที่สูง ความชำนาญในการบริหารงาน และที่สำคัญความยากของการ Integrate ทั้งในด้านของ Infrastructure Management System, Fleet Management (Rail, Truck, Ship, Air-Cargo), Port, Terminal Management, การประสานของบุคลากร เป็นต้น ดังนั้นในปัจจัยหลักในการตัดสินใจการใช้การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบก็คือเรื่องต้นทุนที่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ข้อ ดังนี้
3.1 ต้นทุนรวมของทั้งระบบการขนส่งสินค้าตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดหมายปลายทาง
3.2 ต้นทุนด้านเวลาซึ่งก็คือความต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง
3.1 ต้นทุนรวมของทั้งระบบการขนส่งสินค้าตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดหมายปลายทาง
ในการวิเคราะห์ต้นทุนผู้ประกอบการต้องวิเคราะห์ต้นทุนทั้งในด้าน Fix Cost (หากมีการลงทุนในด้าน Fix Asset ด้วยตนเอง) ได้แก่ อาคารสำนักงาน, Terminal, Yard และนอกจากนั้นในด้านของต้นทุนแปรผัน (Operation Cost) เช่น ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ซึ่งผู้ประกอบการอาจพิจารณาเป็น บาท ต่อ หน่วยการขนส่ง ต่อ ระยะทาง เช่น บาท ต่อตัน ต่อกิโลเมตร หรืออาจคิดเป็นเที่ยวต่อระยะทางก็ได้
นอกจากนั้นในการคิดต้นทุนของการขนส่งนั้นผู้ประกอบการสามารถพิจารณาถึงในรูปของการบริหารโครงการก็ได้เนื่องจาก ยานพาหนะ เครื่องจักรต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งอาคาร นั้นมีอายุการใช้งานที่จำกัด รวมทั้งการคำนวณความเสี่ยง ภาษี และดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น รวมถึงการคาดการณ์ และประเมิน รายรับที่จะเกิดขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการใช้ระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และเมื่อรวมต้นทุนราคาค่าขนส่งสินค้าตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ค่าขนส่งจะต้องมีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการของผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการ และ ลูกค้าผู้รับบริการ
3.2 ต้นทุนด้านเวลาซึ่งก็คือความต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง
ในระบบการขนส่งสินค้า ต้นทุนด้านเวลา นับว่าเป็นต้นทุนที่สำคัญไม่แพ้ต้นทุนด้านราคาในการขนส่งสินค้า เนื่องการบริหารเวลาในการขนส่งสินค้า (Scheduling Management) ในการบริหารการขนส่ง (Fleet Management) มีอิทธิพลต่อการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะการขนส่งหลายรูปแบบ ซึ่งในการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบจะต้องมีการ Integrate ระบบขนส่งให้ต่อเนื่อง รวมถึงการประสานงานกับการปฏิบัติงาน ณ จุดขนถ่าย จะต้องมีประสิทธิภาพ สินค้าไม่ควรจะมีการรอคอยที่นานจนเกินไป และเหมาะสมกับสินค้าประเภทนั้น ๆ อีกด้วย
ดังนั้น จากหัวข้อที่ 3.1 และ 3.2 ผู้ประกอบการ จะต้องนำเปรียบเทียบต้นทุนด้านราคา และเวลา ระหว่างการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและการขนส่ง โดยใช้หมวดการขนส่งสินค้าแบบ Single Mode ดังแสดงในแผนภาพที่ 2 และตัวอย่างผลการเปรียบเทียบการขนส่งสินค้าระหว่างการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและการขนส่งโดยใช้ Mode การขนส่งสินค้าเพียงโหมดเดียวโดยยกกรณีของการขนส่งสินค้าทางรถบรรทุก กับ การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบโดยใช้รถบรรทุกผสมการขนส่งทางรถไฟโดยจะใช้กรณีขนส่งทางรถไฟที่ 300 กิโลเมตร ดังแสดงในแผนภาพที่ 3
แผนภาพที่ 2 แนวทางในการตัดสินใจการเลือกวิธีการขนส่งสินค้าโดยใช้ปัจจัยของต้นทุน
แผนภาพที่ 3 การเปรียบเทียบต้นการขนส่งระหว่าง Multimodal (รถบรรทุก + รถไฟ) กับ Single Mode (รถบรรทุก)
4 สรุป
จากการเปรียบเทียบในแผนภาพที่ 3 จะเห็นได้ว่าการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบไม่ใช่ว่าจะช่วยลดต้นทุนเสมอไป การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบจะมีประสิทธิภาพด้านต้นทุนในระยะทางที่จำกัดเท่านั้น ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องคำนวณอย่างละเอียดเนื่องจากในแต่ละช่วงทั้งการขนส่ง การเปลี่ยน Mode ของประเภทยานพาหนะ ล้วนแต่เกิดค่าใช้จ่ายทั้งสิน นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงเวลาในการขนส่งด้วยเนื่องการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบจะต้องใช้เวลาในการถ่ายสินค้าไปสู่อีก Mode ซึ่งจะต้องใช้เวลา หากประสิทธิภาพของการขนถ่ายไม่มีประสิทธิภาพก็จะทำให้เสียเวลามากขึ้น ฉะนั้นผู้ประกอบการจึงควรใช้ของต้นทุนราคาในการขนส่ง และต้นทุนในด้านเวลามาพิจารณาเพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพสูงสุดและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
[1] กระทรวงคมนาคม,2008 available at www.mot.go.th
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่