iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา

CT51 การวัดประสิทธิภาพด้วยดัชนีโลจิสติกส์

ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

ผู้เขียน ผศ.ดร.สถาพร อมรสวัสดิ์วัฒนา

ปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ ส่งผลให้บริษัทธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องกลับมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการขนส่งและโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่อยู่สุดท้ายในโซ่อุปทาน

ธนาคารโลกหรือ World Bank ได้ทำการสำรวจประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ แล้วนำมาพัฒนาเป็นดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) โดยดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ได้พัฒนามาจากข้อมูลจากแบบสอบถามบนเว็บไซต์ที่มีการตอบกลับมามากกว่า 800 บริษัททั่วโลก ซึ่งบริษัทเหล่านี้ได้ทำการประเมินประสิทธิภาพของบริษัทที่ทำการขนส่งสินค้าและบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการทำพิธีการนำเข้าและส่งออกที่ครอบคลุมประเทศต่างๆ จำนวน 150 ประเทศ ตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโลจิสติกส์

ดัชนีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ได้ทำการสำรวจตามเกณฑ์ที่สำคัญ 7 เกณฑ์ ดังนี้

  1. ประสิทธิภาพในการดำเนินพิธีการศุลกากรที่ชายแดนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. คุณภาพของสาธารณูปโภคพื้นฐานของการขนส่งและระบบสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์
  3. ความสะดวกในการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ
  4. ความสามารถของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในประเทศ
  5. ความสามารถในการติดตามและตรวจสอบย้อนกลับของการส่งสินค้าระหว่างประเทศ
  6. ต้นทุนโลจิสติกส์ภายในประเทศ
  7. ระยะเวลาในการขนส่งสินค้าไปปลายทาง

ดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์นี้ได้แบ่งเป็นคะแนนจาก 1 ถึง 5 โดยที่คะแนน 1 หมายถึงความไม่มีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ในขณะที่คะแนนเต็ม 5 หมายถึงว่ามีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์เป็นอย่างดี นอกจากนี้ตัวเลขของดัชนีสามารถบอกได้ว่า การที่ดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์มีค่าต่ำลง 1.0 (อาทิ 2.5 กับ 3.5) หมายถึงประเทศนั้นมีระยะเวลาในการนำสินค้าจากท่ามายังคลังสินค้านานขึ้น 6 วัน และมีระยะเวลาในการส่งออกนานขึ้น 3 วัน และยังสามารถบอกได้ว่ามีโอกาสถูกสุ่มตรวจสินค้าที่ท่านำเข้ามากขึ้น 5 เท่า

สำหรับดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศสามารถแสดงได้ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ดัชนีวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ

ที่มา: บทความเรื่อง “The Logistics Performance Index and Its indicators” ของ Jean-Francois Arvis, Monica Alina Mustra, John Panzer, Lauri Ojala, and Tapio Naula ในรายงานเรื่อง Connecting to Compete: Trade Logistics in the Global Economy ของสถาบัน World Bank ปี 2550 

จากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ของ 150 ประเทศทั่วโลก โดยสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ดีที่สุดในโลกด้วยคะแนน 4.19 จาก 5 และประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นอันดับที่ 2 มีคะแนน 4.18 สำหรับประเทศไทยอยู่อันดับที่ 31 ได้คะแนน 3.31 โดยที่ประเทศที่คู่แข่งการผลิตสินค้าที่สำคัญ อย่างประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ 30 มีคะแนน 3.32 ประเทศเวียดนามอยู่อันดับที่ 53 ได้คะแนน 2.89

นอกจากนี้ดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์สามารถบอกถึงแนวโน้มของต้นทุนโลจิสติกส์ได้อีก ดังแสดงในภาพที่ 1

ที่มา: บทความเรื่อง “The Logistics Performance Index and Its indicators” ของ Jean-Francois Arvis, Monica Alina Mustra, John Panzer, Lauri Ojala, and Tapio Naula ในรายงานเรื่อง Connecting to Compete: Trade Logistics in the Global Economy ของสถาบัน World Bank ปี 2550 

ภาพที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์กับต้นทุนโลจิสติกส์

ภาพที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทางตรงของการขนส่งสินค้า (Direct Freight Costs) และต้นทุนที่เกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถทำพิธีการออกของและขนส่งสินค้าได้ทันเวลา (Induced Costs) กับดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index) เมื่อดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์มีค่าสูงขึ้น ต้นทุนที่เกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถทำพิธีการออกของและขนส่งสินค้าได้ทันเวลาจะมีค่าลดลงอย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นถึงระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจะสามารถช่วยลดต้นทุนในการขายสินค้าได้เป็นอย่างดี

ที่มา: บทความเรื่อง “The Logistics Performance Index and Its Indicators” ของ Jean-Francois Arvis, Monica Alina Mustra, John Panzer, Lauri Ojala, and Tapio Naula ในรายงานเรื่อง Connecting to Compete: Trade Logistics in the Global Economy ของสถาบัน World Bank ปี 2550 

--------------------------------

สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง

สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง

CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

 --------------------------------

ที่มา

เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551

โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward