-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
lm การส่งสินค้าที่ถูกต้อง 7 ประเภทในงาน Logistics (7 Right, 7R)
Logistics Flow คือการทำให้เกิดความรวดเร็วของการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการอย่างราบรื่น ไม่ติดขัด ด้วยการทำความเข้าใจกระบวนการทำงานภายใน ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และจุดวิกฤตขององค์กรให้เข้าใจ อธิบายและสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กรให้ดียิ่งขึ้นได้อยู่ตลอด หลักสำคัญ 3 ประการของการทำ Logistics Flow คือ
1. ทำให้กิจกรรมต่างๆใน Logistics นั้นต่อเนื่องกันให้ได้ (Closely Tied)
2. สร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของ Flow ที่รวดเร็วอยู่ ตลอดเวลา
คือ กิจกรรมโลจิสติกส์จะต้องถูกออกแบบเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า เช่น กิจกรรมโลจิสติกส์ของชิ้นส่วนการผลิต ก็จะต้องเน้นความการไหลที่เป็นไปตามแผนการผลิต เพื่อไม่ให้เกิดการหยุดชะงัก เป็นต้น
3. สร้างกลยุทธ์เพื่อทำให้ Flow นั้นสำเร็จตามเป้าหมาย
การส่งสินค้าที่ถูกต้อง 7 ประเภทในงาน Logistics (7 Right, 7R) ประกอบด้วย
1 Right Product สินค้าถูกต้อง ส่งผลิตภัณฑ์ถูกต้องมีคุณภาพหรือข้อกำหนดคุณสมบัติ (Specifications) ตามความต้องการของลูกค้า
2. Right Quantity จำนวนถูกต้อง ส่งสินค้าในจำนวนที่ถูกต้อง ปริมาณตรงตามความต้องการไม่ขาดไม่เกิน ควรมีการประสานงานกับคลังสินค้า
3. Right Conviction สภาพถูกต้อง ส่งสินค้าในสภาพที่ดีไม่แตกหักเสียหาย
4. Right Customer ลูกค้าถูกต้อง ส่งสินค้าให้ถูกตัวผู้รับสินค้า ให้บริการด้วยศักยภาพที่สามารถตอบสนองได้ตรงตามความต้องการหรือเกินความคาดหวัง ก่อให้เกิดความพึงพอใจจากการส่งสินค้าเช่น มีการรับประกันสินค้า มีการบริการหลังการขาย หรือมีอุปกรณ์ให้ใช้ทดแทนขณะซ่อม
5. Right Place สถานที่ถูกต้อง ส่งสินค้าให้ถูกที่ถูกที่ตั้ง ส่งสินค้าได้ตรงตามสถานที่ที่ต้องการ ต้องระบุสถานที่ในการจัดส่ง มีการแนบแผนที่ ชื่อและเบอร์โทรศัพท์ผู้ติดต่ออย่างชัดเจน เพื่อให้ได้รับสินค้าที่ถูกต้องในสถานที่ที่ถูกต้อง
6. Right Time เวลาถูกต้องส่งสินค้าทันเวลาตรงตามเวลาที่กำหนดนัด ต้องระบุเวลาในการจัดส่งที่แน่นอน (Lead Time) ไม่เร็วไปหรือช้าไป การกำหนดเวลาในการส่งสินค้าให้ได้ในเวลาที่ต้องการ มีความสำคัญในกิจกรรมของลูกค้า หากมีการส่งสินค้าช้ากว่ากำหนดที่ต้องการอาจส่งผลทำให้โครงการ กระบวนการผลิตหยุดชะงัก
7. Right Cost ต้นทุนที่ถูกต้อง ไม่เวอร์จนเกินไปซึ่งมีผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานขององค์กรด้วย
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
การให้บริการโลจิสติกส์สำหรับผู้ให้บริการจากภายนอก (LSP, 3PL)
การให้บริการโลจิสติกส์สำหรับผู้ให้บริการจากภายนอก (LSP, 3PL) ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ จากรูปของ กิจกรรมของโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ มีความเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ตั้งแต่ผู้ขายปัจจัยการผลิต (Suppliers) ผู้ซื้อ (Buyer) โดยมีกิจกรรมหลักในโลจิสติกส์ คือการขนส่งทั้งทางบก (รถไฟ และ รถยนต์) ทางเรือและทางอากาศ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และผู้ให้บริการจัดเก็บสินค้า (Storage)
ส่วนในประเทศไทยมีขอบเขตของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ซึ่งต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างเอกชนและรัฐบาล ซึ่งในภาคเอกชนประกอบด้วย ผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้ผลิตหรือโรงงานแปรรูป (Factory) ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงผู้บริโภค สถาบันการเงิน ผู้รับประกันภัย ส่วนภาครัฐบาลจะประกอบด้วย กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กรมศุลกากร โดยมีปัจจัยแวดล้อมสนับสนุนคือ กฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์ ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ บุคลากรในงานโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานคือ ท่าเรือ สนามบิน รางรถไฟ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมโลจิสติกส์ที่ขนส่งผ่านทั้ง ทางรถไฟ ทางรถยนต์ ทางน้ำ และทางเส้นท่อ ทั้งในระดับพื้นที่ภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งกิจกรรมโลจิสติกส์หลักได้แก่ การจัดซื้อ การผลิต การจัดส่ง การจัดการสินค้าคงคลัง และกิจกรรมอื่นๆ ทั้ง 15 กิจกรรม โดยการดำเนินงานจะเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน การประกันภัย ซึ่งทุกกิจกรรมจะดำเนินการผ่านกระบวนการในโลจิสติกส์ ในปัจจุบันจึงเกิดรูปแบบธุรกิจการให้บริการด้านโลจิสติกส์ขึ้น เรียกว่า ผู้ให้บริการด้าน
โลจิสติกส์จากภายนอก (The Third Party Logistics Services Provider : 3PL หรือ LSP)
ผู้ให้บริการโลจิสติกส์จากภายนอก (Third Party Logistics :3PL) การให้บริการแบบนี้ส่วนมากบริษัทที่เป็นผู้ให้บริการมักจะเป็นเจ้าของยานพาหนะ และอุปกรณ์ที่ใช้อำนวยความสะดวกในการขนส่งเอง แต่จะใช้ระบบพันธมิตรทางการค้ากับผู้ขนส่งและจะประสานงานกับผู้ขนส่งที่เหมาะสม ในการให้บริการการขนส่ง ซึ่งลักษณะการบริการแบบนี้มีดังนี้
- ผู้ให้บริการขนส่ง (Transportation brokers) บริษัทที่ให้บริการขนส่งทางเรือ และผู้รับขน (Carrier) โดยวางแผนและประสานงานการขนส่งสินค้า
- ผู้รับจองระวาง (Freight forwarders) องค์กรที่รวบรวมการขนส่งขนาดเล็กจากผู้ขายหลายราย จากหลายสถานที่ เพื่อให้ขนาดขนส่งใหญ่ขึ้นเพื่อลดต้นทุน
- สมาคมเพื่อขนส่งทางเรือ (Shippers’ association) สมาคมที่ให้ความช่วยเหลือในการรวบรวมการขนส่งขนาดเล็ก ให้เป็นการขนส่งเต็มคันรถสำหรับบริษัทในสมาชิก
- บุคคลที่ 3 (Third parties) บริษัทที่ให้บริการประสานงานและบริหารงานด้านโลจิสติกส์ให้กับลูกค้า บางบริษัทขนาดใหญ่ได้ว่างจ้างบุคคลภายนอก (Outsource) ทำกิจกรรมทางโลจิสติกส์ให้บริษัทผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 เป็นผู้บริหารงานแทน ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานในสิ่งที่ตนเองถนัด
โดยกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้งหมด ที่ดำเนินการโดยองค์กรหรือหน่วยเศรษฐกิจ (Economic Unit) ในระบบเศรษฐกิจ สามารถจำแนกการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวตามขอบเขตการดำเนินธุรกิจของผุ้ประกอบการได้ 2 รูปแบบ คือ
- กิจกรรมโลจิสติกส์ซึ่งผู้ประกอบการดำเนินการเองในองค์กร (In-house Logistics)
- กิจกรรมโลจิสติกส์ที่ผู้ประกอบการได้ว่าจ้างองค์กรอื่นมาดำเนินการให้ (Outsourcing)
ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์เองทั้งหมด หรือเลือกดำเนินการเพียงบางส่วนก็ได้ เนื่องจากในปัจจุบันสภาวะการแข่งขันเป็นตัวผลักดันให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องเร่งพัฒนาความสามารถหลัก (Core Competency) และมีความต้องการพันธมิตรทางธุรกิจมากขึ้นกว่าในอดีต จึงมีความนิยมในการใช้บริการจากผู้ให้บริการทางโลจิสติกส์ โดยเฉพาะ (Logistics Service Provider : 3PL) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งกิจกรรมที่เกิดจากการให้บริการด้านโลจิสติกส์ของผู้ให้บริการทั้งระบบ เรียกว่า อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (Logistics Industry)
------------------------------------------------------------------
ที่มา
เอกสาร สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 2558 www.logistics.go.th
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
กิจกรรมหลักในงานโลจิสติกส์ (Logistics Activity)
กิจกรรมหลักในงานโลจิสติกส์ (Logistics Activity)โลจิสติกส์มีหลายกิจกรรม คือ การพยากรณ์อุปสงค์ การวางแผน การผลิต การจัดซื้อ บรรจุภัณฑ์ การเคลื่อนย้ายภายในองค์กร การผลิต คลังสินค้า การขนส่ง การกระจายสินค้า การบริการลุกค้า เป็นต้น ทุกกิจกรรมในโลจิสติกส์ต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง และเกี่ยวข้องกันเป็นกระบวนการ การวัดผลงานการดำเนินงานในกระบวนการของบริษัททั้งหมด การแบ่งขอบเขตของโลจิสติกส์ เป็น 2 กลุ่มกิจกรรมหลัก ดังต่อไปนี้1. การจัดการวัสดุ (Material Management) หรือโลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) หรือโลจิสติกส์เพื่อการผลิต (Manufacturing Logistics) จะสนับสนุนในการผลิตเป็นหลัก มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องคือ เป็นการศึกษาอุปสงค์ของพื้นที่จัดเก็บและการเคลื่อนย้ายของวัตถุดิบ สินค้า ชิ้นส่วน บรรจุภัณฑ์ ที่ต้องจัดซื้อ จัดหา เพื่อการผลิต รวมถึงต้นทุนและการบริการ เพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มในกิจกรรมทางเลือกที่ดีที่สุด2. การจัดการการกระจายสินค้า (Physical Distribution Management) หรือโลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) จะสนองความต้องการในการขาย และการตลาดเป็นหลัก มีหน้าที่หลักคือ การจัดการคลังสินค้า และการขนส่ง โดยคลังสินค้าจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ต่างๆ ระบบการจัดการคลังสินค้าและโครงสร้างบริหารจัดการ ส่วนงานขนส่งจะเกี่ยวข้องกับการเลือกพนักงาน ที่มีทักษะ รูปแบบการขนส่ง วิธีการขนส่ง และมูลค่าจากการทำงาน ------------------------------------------------------------------
ที่มา
เอกสาร สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 2558 www.logistics.go.th
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
ข้อกําหนดในการส่งมอบสิ
ข้อกําหนดในการส่งมอบสิ
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
ช่องทางเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า (6 Transport Mode) ความเปลี่ยนแปลงการขนส่งในยุคใหม่
6 ช่องทางเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า (6 Transport Mode) ในอดีตที่ผ่านมาเราอาจคุ้นเคยกับการพูดถึงช่องทางในการขนส่งที่มี 5 ประเภทคือ
1. การขนส่งทางรถไฟ (rail)
2. การขนส่งรถยนต์หรือรถบรรทุก
3. การขนส่งทางน้ำ (water)
4. การขนส่งทางอากาศ (air)
5. การขนส่งทางท่อ (pipeline)
และ 6. การขนส่งทางดิจิตอล (Data)
ในอนาคตอาจจะเจอช่องทางหรือรูปแบบการส่งสินค้าในรูปข้อมูลดิจิตอล นับเป็นรูปแบบของการขนส่งแบบใหม่ตามเทคโนโลยีที่เริ่มมีการพัฒนา โดยเฉพาะในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่จะมีการใช้ระบบอัตโนมัติและข้อมูลสารสนเทศ จะพบเห็นการส่งสินค้าไปตามเครือข่ายในรูปของ Data และเมื่อไปถึงลูกค้าที่มีอุปกรณ์ที่สามารถรับและนำสินค้าออกมาได้เลย ในปัจจุบัน ตัวอย่างง่ายๆ ที่พบคือ หนังสือ E-Book ที่เราสามารถพิมพ์เองได้จากเครื่องพิมพ์ที่บ้านเรา ซึ่ง จากการพัฒนาเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่มีการพัฒนาในอนาคต จะทำให้เราสามารถผลิดชิ้นส่วนอุปกรณ์หลายชิ้นโดยการพิมพ์ 3D ได้เลย
-------------------------------------------
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward