-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
ระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) คือ แนวคิดในการบริหารจัดการการผลิตภายในองค์กร เพื่อให้เกิดมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อลูกค้าและองค์กร โดยตั้งเป้าหมายว่าการผลิตที่ดีจะต้องไม่มีความสูญเปล่า (Waste) (ภาษาญี่ปุ่นเรียกความสูญเปล่าว่า “มุดะ (Muda)”) ระบบลีน (LEAN) มุ่งเน้นไปที่การระบุและกำจัดของเสียและสร้างวัฒนธรรมของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ระบบลีน (LEAN) ได้รับการพัฒนาขึ้นในทศวรรษที่ 1930 โดย Toyota และตั้งแต่นั้นมาได้ถูกนำไปใช้โดยธุรกิจและองค์กรต่างๆ ทั่วโลก ลีนได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในหลากหลายอุตสาหกรรมรวมถึงการผลิต การบริการ และการทำงานในหน่วยราชการ
ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับ Lean
- Lean002 ความรู้และความเชี่ยวชาญในงานแบบ LEAN
- Lean003 ขั้นตอนการสร้างระบบ Lean (5 Lean principles)
- Lean003 การระบุปัญหาที่จะแก้ ตามเทคนิค 5W 2H
- Lean003 ขั้นตอนการสร้างระบบ Lean (5 Lean principles)
- Lean003 ขั้นตอนในการจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
- Lean003 แนวคิดในการนำระบบลีน มาใช้ในกระบวนการทำงาน
- Lean003 แผนผังสายธารคุณค่า (Value Stream Mapping; VSM)
- Lean004 เป้าหมายของการผลิตแบบลีน (goals of lean manufacturing)
- Lean005b คุณค่าที่ลูกค้าได้รับ (Customer Value)
- Lean005b คุณค่าที่ลูกค้าได้รับ (Customer Value) ระหว่างความจำเป็น (Needs) และความต้องการ (Wants)
- Lean005b มุ่งให้ความสำคัญไปที่ 3 Ps (Lean Focus on 3Ps)
- Lean005b แนวคิดการจัดการลีน กิจกรรมเพิ่มคุณค่า (Value-Added Activities หรือ VA)
-
- Lean013 การเปลี่ยนแปลงซัพพลายเชนด้วยระบบลีน (Lean Supply Chain Transformation)
-----
ความสูญเสีย 8 ประการ (8 Wastes DOWNTIME) ประกอบด้วย
Lean D ความสูญเสียจากการมีของเสียมากเกินไป (Defect lost)
Lean O ความสูญเสียจากการผลิตที่มากเกินไป (Overproduction lost)
Lean W ความสูญเสียจากการรอคอยงาน (Waiting lost)
Lean N ความสูญเสียเนื่องจากไม่มีการใช้ความคิดจากทีมงาน (None use idea from team Lost)
Lean T ความสูญเสียเนื่องจากการขนส่งเคลื่อนย้าย (Transportation lost)
Lean I ความสูญเสียเนื่องจากการมีสินค้าคงคลังมากเกินไป (Inventory lost)
Lean M ความสูญเสียจากการเคลีอนไหวมากเกินไป (Motion lost)
Lean E ความสูญเสียจากการมีกระบวนการมากเกินไป (Extra Processing)
-
- lean021 Lean และ Agile ในกลยุทธ์ซัพพลายเชน (Lean and Agile in supply chain strategy)
--------
------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
lm การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) รวมข้อมูล
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) คำจำกัดความของคำว่า โลจิสติกส์ มีหลายระดับ แต่โดยทั่วไปเป็นคำนิยามในระดับธุรกิจเน้นความหมายของคำว่า การบริหารจัดการโลจิสติกส์ หรือการบริหารการรับส่ง และดูแลสินค้าและบริการเป็นสำคัญ
ระบบโลจิสติกส์ระดับมหภาค (Macro Logistics System Framework) โดย ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้ให้คำนิยามว่า ลักษณะขององค์ประกอบสำคัญของระบบโลจิสติกส์ในกรอบการพัฒนาของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) กรอบกลไกด้านสถาบันและกฎระเบียบ (Institutional Framework) กลุ่มผู้ค้าและผู้ผลิต (Traders/Manufacturers) และกลุ่มผู้ให้บริการ (Service Providers)
.
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม
- lm การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management)
- lm โลจิสติกส์ (Logistics) คืออะไร
- lm พันธกิจของการจัดการโลจิสติกส์
- lm การจัดการโลจิสติกส์ในการผลิต (production logistics management)
- lm การใช้ช่องทางที่หลากหลายในงานโลจิสติกส์ (Omni Channel Logistics)
- lm รูปแบบในข้อกําหนดในการส่งมอบสินค้า (International Commercial Terms, Incoterms)
- lm Logistics Scorecard มีประโยชน์อย่างไร
- lm การขนส่งแบบเที่ยวไปกลับ (Backhauling) กุญแจความสำเร็จลดต้นทุนการขนส่งสินค้า
- lm การขนส่งแบบมิลค์รัน (milk run)
- lm การใช้ช่องทางที่หลากหลายในงานโลจิสติกส์ (Omni Channel Logistics)
- lm การบูรณาการงานโลจิสติกส์ (Integrated Logistics)
- lm การบูรณาการโลจิสติกส์ภายใน (Internally Integrated Logistics)
- lm การพยากรณ์ความต้องการ (Demand Forecasting) ในการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
- lm การพยากรณ์ความต้องการ การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirements Planning; MRP)
- lm การพยากรณ์ความต้องการ เทคนิคที่เกี่ยวข้อง
- lm การเลือกช่องทางเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า (Transport Mode)
- lm การส่งสินค้าที่ถูกต้อง 7 ประเภทในงาน Logistics (7 Right, 7R)
- lm การให้บริการโลจิสติกส์สำหรับผู้ให้บริการจากภายนอก (LSP, 3PL)
- lm กิจกรรมหลักในงานโลจิสติกส์ (Logistics Activity)
- lm ข้อกําหนดในการส่งมอบสินค้า (International Commercial Terms, Incoterms 2010)
- lm ช่องทางเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า (Transport Mode) ความเปลี่ยนแปลงการขนส่งในยุคใหม่
-
-
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก (Concepts for improving logistics efficiency in the ceramic industry)
เอกสารการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก 2550
สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์
การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมีความท้าทายอันเนื่องมาจากการแข่งขันที่สูงขึ้น นอกจากต้องนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพดีเป็นที่ต้องการของลูกค้า รวมถึงการบริการให้เป็นที่พึงพอใจแล้ว ยังต้องควบคุมต้นทุนรวมให้เป็นที่ยอมรับได้ ในขณะที่ต้นทุนการผลิตและต้นทุนทางธุรกิจอื่นมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดเวลา การดำเนินธุรกิจต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อให้สามารถแข่งขันและดำรงอยู่ได้ การนำเสนอแนวคิดด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในโครงการนำร่องการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์เชิงลึกกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก จะมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเซรามิกจึงควรศึกษาทำความเข้าใจและปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการด้านโลจิสติกส์ รวมทั้งนำแนวคิดดังกล่าวมาจัดทำโครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโลจิสติกส์ขององค์กร ในขณะเดียวกันก็สามารถนำไปใช้สนับสนุนกระบวนการอื่น ๆ ของการดำเนินธุรกิจเช่น กระบวนการตลาดและการขาย กระบวนการผลิต และกระบวนการด้านการเงินของบริษัท เป็นต้น
จากการดำเนินโครงการนำร่องการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์เชิงลึก อุตสาหกรรมเซรามิก ซึ่งสนับสนุนโดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ทำให้มีการรวบรวมแนวคิดเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพโลจิสติกส์อันเกิดจากการปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้ประกอบการกับผู้เชี่ยวชาญในโครงการดังนี้
ธุรกิจปั้นดินให้เป็นดาว แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก
วางแผนให้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก
ผลิตเพื่อขายไม่ใช่ผลิตเพื่อเก็บ แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก
ข้อมูลสินค้าคงคลังแม่นยำแค่ไหน แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก
ทำงานกับตัวเลขบ้าง แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก
รู้จักระยะเวลาส่งมอบหรือยัง แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก
รู้ปัญหาแต่เนิ่น ๆ แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก
เซรามิกตะวันใกล้ตกดินจริงหรือ แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก
ทำอย่างไรกับสินค้าเกรดบี แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก
หลุมพรางการส่งสินค้าตัวอย่าง แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก
ประหยัดทุกอย่างที่ขวางหน้า แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินโครงการ แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก
การพัฒนาบุคลากรในองค์กร แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก
ผู้ประกอบการที่เป็นกิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง ในการศึกษา เรียนรู้เพื่อให้เข้าใจในองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์และองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการควรต้องเริ่มต้นจากเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูงก่อน เพราะการจัดองค์กรภายในอาจยังไม่มีการแบ่งเป็นหน่วยงานชัดเจน จึงควรจัดแบ่งประเภทกิจกรรมโลจิสติกส์ตามบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานในกระบวนการโลจิสติกส์ซัพพลายเชน เช่น องค์กรไม่มีหน่วยงานวางแผน หน่วยงานจัดซื้อ หรือหน่วยงานคลังสินค้า แต่อยู่ภายใต้การบริหารและกำกับดูแลของผู้จัดการโรงงาน ดังนั้นผู้จัดการโรงงานคือบุคลากรที่ควรได้รับการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การจัดซื้อและการจัดการคลังสินค้าเป็นต้น
-----------------------------------------------
การประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก (Assessment of logistics potential in the ceramic industry)
เอกสารการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก 2550
สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
การประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์
เมื่อดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์เชิงลึกในแต่ละโรงงานไปได้ระยะหนึ่งแล้ว ที่ปรึกษาได้รับข้อมูลเชิงลึกของการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ในแต่ละโรงงาน และสามารถนำมาประเมินศักยภาพโลจิสติกส์ด้านต่างๆ ของโรงงานได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ทราบศักยภาพด้านต่างๆ ของการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในองค์กร และนำไปใช้ประกอบการพิจารณาจัดทำโครงการเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับประเด็นที่เป็นจุดอ่อนขององค์กร ซึ่งเป็นหัวข้อที่ได้คะแนนค่อนข้างต่ำจากการประเมินศักยภาพ
การประเมินศักยภาพที่ดีต้องพิจารณาจากการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการโลจิสติกส์ทั้งหมด ซึ่งในช่วงท้ายของการดำเนินงานที่ปรึกษาได้ประเมินร่วมกับเจ้าหน้าที่ของโรงงานที่เป็นตัวแทนมาจากฝ่ายต่างๆ ทำให้ผลการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์นี้มีความน่าเชื่อถือกว่าการสัมภาษณ์ในช่วงต้นของโครงการหรือการขอประเมินจากผู้แทนบางฝ่ายเท่านั้น ทั้งนี้ที่ปรึกษาได้ประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการเซรามิกที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 20 บริษัท โดยการประเมินการจัดการโลจิสติกส์ 5 ด้านหลัก ได้แก่
1. การกำหนดกลยุทธ์สถานประกอบการ
2. การวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติงาน
3. ประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านโลจิสติกส์
4. ระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. ความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการ
ในการวัดศักยภาพแต่ละด้าน จะมีตัวชี้วัดแยกย่อยลงในรายละเอียด และในแต่ละตัวชี้วัดจะแบ่งระดับการให้คะแนนออกเป็น 5 ระดับ คือระดับที่ 1 ถึงระดับที่ 5 เรียงจากระดับศักยภาพต่ำที่สุดไประดับศักยภาพสูงที่สุดตามลำดับ
ผลการประเมินศักยภาพของผู้ประกอบการ ผลการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการผู้เข้าร่วมโครงการนำร่องฯ มาจากข้อมูลเชิงลึกที่ได้ระหว่างการเข้าปฏิบัติงานให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการแต่ละราย และนำมาประมวลผลดังต่อไปนี้ ผลการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการทั้ง 20 บริษัท ผลการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการทั้ง 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์จำนวน 20 ราย มีคะแนนเฉลี่ยของทุกกลุ่มอยู่ที่ 2.69 โดยมีคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 4.30 ของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ในกลุ่มสุขภัณฑ์ และมีคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 1.52 ของผู้ประกอบการขนาดเล็กในกลุ่มเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของชำร่วยและเครื่องประดับ ผู้ประกอบการเซรามิกมีศักยภาพด้านโลจิสติกส์สูงที่สุด 3 อันดับแรก
1.) การมีขั้นตอนการทำงานและกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐานและชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร
2.) มีการกำหนดรหัสมาตรฐานสำหรับสินค้าและกระบวนการทำงาน
3.) การมีระบบในการประเมินและพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า
ส่วนศักยภาพด้านโลจิสติกส์ที่ต่ำสุด 3 อันดับสุดท้ายได้แก่
1.) การเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือทางด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตรกันและระหว่างธุรกิจประเภทเดียวกัน
2.) การเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือทางด้านโลจิสติกส์ระหว่างองค์กรและหน่วยงานวิจัยหรือพัฒนา
3.) การบริหารอัตราหมุนเวียนสินค้าคงคลังและช่วงระยะเวลารอบหมุนเวียนวัฎจักรเงินสด
ผลการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการกลุ่มสุขภัณฑ์ ผลการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการกลุ่มสุขภัณฑ์จำนวน 5 ราย มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.93 โดยมีคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 4.30 ของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ในจังหวัดสระบุรี และมีคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 1.74 ผู้ประกอบการขนาดกลางในจังหวัดสมุทรสาคร ผู้ประกอบการเซรามิกกลุ่มสุขภัณฑ์มีศักยภาพด้านโลจิสติกส์สูงที่สุด 3 อันดับแรกในด้าน
1.) การมีขั้นตอนการทำงานและกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐานและชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร
2.) การเห็นถึงความสำคัญของกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์และมีการวางแผนกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์
3.) การมีระบบในการประเมินและพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า
ส่วนศักยภาพด้านโลจิสติกส์ที่ต่ำสุด 3 อันดับสุดท้ายได้แก่
1.) การเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือทางด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตรกันและระหว่างธุรกิจประเภทเดียวกัน
2.) ความสามารถในการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าและแนวโน้มทางการตลาด
3.) การพัฒนากิจกรรมด้านโลจิสติกส์
ผลการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการกลุ่มกระเบื้อง ผลการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการกลุ่มกระเบื้องจำนวน 4 ราย มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.96 โดยมีคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 3.26 ของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ในจังหวัดสระบุรี และมีคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 2.52 ผู้ประกอบการขนาดกลางในจังหวัดสระบุรี ผู้ประกอบการเซรามิกกลุ่มกระเบื้องมีศักยภาพด้านโลจิสติกส์สูงที่สุด 3 อันดับแรก
1.) การมีขั้นตอนการทำงานและกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐานและชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร
2.) มีการกำหนดรหัสมาตรฐานสำหรับสินค้าและกระบวนการทำงาน
3.) มีการพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านซัพพลายเชนโลจิสติกส์
ส่วนศักยภาพด้านโลจิสติกส์ที่ต่ำสุด 3 อันดับสุดท้ายได้แก่
1.) การเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือทางด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตรกันและระหว่างธุรกิจประเภทเดียวกัน
2.) การเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือทางด้านโลจิสติกส์ระหว่างองค์กรและหน่วยงานวิจัยหรือพัฒนา
3.) การบริหารอัตราหมุนเวียนสินค้าคงคลังและช่วงระยะเวลารอบหมุนเวียนวัฎจักรเงินสด
4. ผลการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการกลุ่มเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของชำร่วย และเครื่องประดับ
ผลการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการกลุ่มเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของชำร่วยและเครื่องประดับ จำนวน 11 ราย มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.49 โดยมีคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 3.70 ของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ในจังหวัดสระบุรี และมีคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 1.52 ผู้ประกอบการขนาดเล็กในจังหวัดลำปางผู้ประกอบการเซรามิกกลุ่มเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของชำร่วยและเครื่องประดับ มีศักยภาพด้านโลจิสติกส์สูงที่สุด 3 อันดับแรก ในด้าน
1.) การกำหนดรหัสมาตรฐานสำหรับสินค้าและกระบวนการทำงาน
2.) มีระบบในการติดตามสถานะของสินค้า วัสดุคงคลังและกิจกรรมด้านโลจิสติกส์
3.) มีระบบในการประเมินและพัฒนาความพึงพอใจลูกค้า
ส่วนศักยภาพด้านโลจิสติกส์ที่ต่ำสุด 3 อันดับสุดท้ายได้แก่
1.) การเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือทางด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตรกันและระหว่างธุรกิจประเภทเดียวกัน
2.) การเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือทางด้านโลจิสติกส์ระหว่างองค์กรและหน่วยงานวิจัยหรือพัฒนา
3.) การเห็นถึงความสำคัญของกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์และมีการวางแผนกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์
-----------------------------------------------
การพัฒนาบุคลากรในองค์กร แนวคิดเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเซรามิก
เอกสารการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก 2550
สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
การพัฒนาบุคลากรในองค์กร
การพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกมีความสำคัญยิ่งและเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ ผู้บริหารระดับสูงควรต้องให้ความสำคัญในการจัดให้มีระบบการพัฒนาบุคลากรในองค์กรอย่างจริงจัง กิจกรรมด้านโลจิสติกส์เป็นกิจกรรมที่มีบุคลากรในองค์กรเกี่ยวข้องมากมาย ต้องผ่านการทำงานของบุคลากรหลายหน่วยงานภายในองค์กร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการส่งมอบสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า พร้อมทั้งต้องมีกระบวนการที่ดีในการลดข้อผิดพลาดในการดำเนินงานและลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวมด้วย ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรให้สามารถดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์รวมทั้งพัฒนาปรับปรุงระบบโลจิสติกส์จะช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ดีขึ้นได้
- การพัฒนาบุคลากรภายในองค์กรต้องจัดทำในหลายรูปแบบตั้งแต่
- การอบรมให้ความรู้ (Knowledge) มีทั้งการให้ความรู้ในระหว่างการทำงาน (On-the-Job Training) โดยผู้มีประสบการณ์ในหน่วยงานช่วยเหลือและให้ความรู้แก่บุคลากรที่มาใหม่ และรูปแบบการฝึกอบรมจัดภายในองค์กร (In-House Training) และการเข้าร่วมการฝึกอบรมกับผู้เชี่ยวชาญภายนอก
- การมอบหมายงานให้มีการฝึกทักษะ (Skills) ในการทำงานประจำและงานประเภทปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้น มีการมอบหมายงานที่ชัดเจน และพัฒนาระบบการทำงานที่ต่อเนื่องกัน พร้อมกับจัดให้มีระบบการวิเคราะห์และแก้ปัญหา และมีระบบการเรียนรู้ร่วมกันอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
- การมอบหมายงานให้เกิดการสร้างประสบการณ์ในการทำงาน (Experiences) มีการกำหนดแผนงานของแต่ละโครงการให้ชัดเจน และฝึกฝนให้สามารถดำเนินงานร่วมกัน ติดตามความคืบหน้าและผลักดันให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
- การพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ภายในองค์กร ที่ครอบคลุมถึงการให้มีความรู้ ฝึกทักษะ และสั่งสมประสบการณ์ในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ ต้องประกอบด้วยการจัดการองค์ความรู้ 2 ส่วนได้แก่ องค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์ และองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ
หมวดองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์ มีความจำเป็นเพื่อให้เข้าใจระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาในการทำงาน และสามารถสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหาองค์ความรู้ควรครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
- การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
- การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management)
- การจัดการขนส่ง (Transport Management)
- การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Control Management)
- การจัดการจัดซื้อ (Purchasing Management)
- การจัดการกระจายสินค้า (Distribution Management)
- การจัดการวัสดุ (Materials Management)
- การจัดการทรัพยากร (Resources Management)
- การจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management)
การจัดการโจลิสติกส์เฉพาะด้านที่จำเป็นสำหรับองค์กรเช่น การให้บริการ การค้าระหว่างประเทศ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ซัพพลายเชน การนำเข้าส่งออกและระบบพิธีการศุลกากร เป็นต้น
หมวดองค์ความรู้ด้านการบริการจัดการ มีความจำเป็นเพื่อพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร ให้สามารถมีเครื่องมือในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะหัวใจของการบริหารจัดการโลจิสติกส์ไม่เพียงแต่ต้องการความเข้าใจในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์เท่านั้น หากยังต้องการความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ในองค์กรในการประสานงานร่วมมือกันทำงาน ตั้งแต่จุดเริ่มต้นกระบวนการ จนถึงจุดสุดท้ายที่มีการส่งมอบสินค้าและบริการทุกอย่างให้ถึงลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เนื้อหาองค์ความรู้ควรครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
- การบริหารจัดการโครงการ (Project Management)
- การบริหารคุณภาพและการพัฒนาระบบคุณภาพ (Quality Management)
- การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Work Process Improvement)
- การสืบค้นให้ถึงต้นเหตุของปัญหา (Root Cause Investigation)
- การทำงานร่วมกันเป็นทีม (Team Effectiveness)
- การรู้จักใช้เครื่องมือในการบริการจัดการต่างๆ (Management Tools)
ผู้ประกอบการที่เป็นกิจการขนาดเล็กและขนาดกลาง ในการศึกษา เรียนรู้เพื่อให้เข้าใจในองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์และองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการควรต้องเริ่มต้นจากเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูงก่อน เพราะการจัดองค์กรภายในอาจยังไม่มีการแบ่งเป็นหน่วยงานชัดเจน จึงควรจัดแบ่งประเภทกิจกรรมโลจิสติกส์ตามบุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานในกระบวนการโลจิสติกส์ซัพพลายเชนเช่น องค์กรไม่มีหน่วยงานวางแผน หน่วยงานจัดซื้อ หรือหน่วยงานคลังสินค้า แต่อยู่ภายใต้การบริหารและกำกับดูแลของผู้จัดการโรงงาน ดังนั้น ผู้จัดการโรงงานคือบุคลากรที่ควรได้รับการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การจัดซื้อและการจัดการคลังสินค้าเป็นต้น
-----------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward