iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ (FSN Analysis)
FSN Analysis / การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้
การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ (Fast, Slow, Non-moving analysis: FSN Analysis) เป็นวิธี การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ โดยจัดแบ่งตามความถี่ในการใช้งานตามเกณฑ์การพิจารณาที่กำหนดไว้ เป็นเทคนิคที่ใช้ในการจัดการสต็อกของวัสดุหรือสินค้า เพื่อช่วยในการวางแผนสต็อกและการจัดเก็บสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยการแบ่งสินค้าออกเป็นหมวดหมู่ตามความถี่ในการใช้งาน ดังนี้
- วัสดุที่มีการหมุนเวียนเร็ว (Fast Moving, F) คือ สินค้าหรือวัสดุที่มีการใช้งานบ่อยและมีการขายกันอย่างรวดเร็ว สินค้าหรือวัสดุประเภทนี้มักจะมีความสำคัญสูงในการบริหารจัดการสต็อก เนื่องจากมีการส่งผลกระทบต่อกำไรและการบริการลูกค้า เป็นวัสดุที่มีความต้องการใช้งานถี่มีการเรียกใช้งานบ่อย อาจกำหนดเวลาหมุนเวียนสูงสุดเป็น Y รอบ/เดือน หากมีระยะเวลารอบหมุนเวียนมีมากกว่า Y ก็จะจัดอยู่ในวัสดุกลุ่มที่มีการใช้งานถี่ มีการหมุนเวียนที่มาก วัสดุกลุ่มนี้จะมีการเรียกใช้งานบ่อย ระยะเวลาการหมุนเวียนสั้น มักเป็นวัสดุที่สำคัญต่อการผลิตหรือการให้บริการ
ตัวอย่าง วัตถุดิบหลักในการผลิต ชิ้นส่วนอะไหล่ที่ใช้บ่อย สินค้าขายดี
- วัสดุที่มีการหมุนเวียนช้า (Slow Moving, S) คือ สินค้าหรือวัสดุที่มีการใช้งานหรือการขายน้อยลง สินค้าหรือวัสดุประเภทนี้มักจะไม่มีความสำคัญมากในการบริหารจัดการสต็อก และมักจะเป็นผลที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า เป็นวัสดุที่มีความต้องการใช้งานต่อรอบในช่วงเวลาไม่มากนัก มีค่าที่อยู่ในระหว่างระยะเวลารอบหมุนเวียนขั้นต่ำ X รอบ/เดือน แต่ยังไม่เกินระยะเวลารอบหมุนเวียนสูงสุดที่กำหนด Y รอบ/เดือน วัสดุกลุ่มนี้จะมีการเรียกใช้งานไม่บ่อย ระยะเวลาการหมุนเวียนยาวนาน มักเป็นวัสดุสำรองหรือวัสดุสำรอง
ตัวอย่าง เครื่องมือพิเศษ ชิ้นส่วนอะไหล่สำรอง สินค้าที่ขายช้า
- วัสดุที่ไม่มีการหมุนเวียน (Non Moving, N) คือ สินค้าหรือวัสดุที่ไม่มีการใช้งานหรือไม่มีการขายเลย สินค้าหรือวัสดุประเภทนี้มักจะมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสูง และไม่น่าจะมีความสำคัญในการบริหารจัดการ ในงานสต็อก เป็นวัสดุที่มีความต้องการใช้งานน้อยมาก บางครั้งอาจแทบไม่ได้มีการนำมาใช้เลย ทำให้วัสดุในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่แทบจะไม่มีการหมุนเวียนเลย ใช้ช่วงเวลาที่เก็บนานทำให้มีอัตราการหมุนเวียนรอบต่อเดือนน้อย กำหนดเวลาหมุนเวียนต่ำกว่า X รอบ/เดือน วัสดุกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะไม่ได้มีการเรียกใช้งาน สินค้าค้างสต๊อก อาจเป็นสินค้าตกรุ่น สินค้าหมดอายุ หรือสินค้าที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด
ตัวอย่าง สินค้าที่ตกรุ่น สินค้าหมดอายุ สินค้าที่เลิกผลิต
การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ นั้นในส่วนของค่า X และ Y นั้น จะมีความแตกต่างกันในแต่ละบริษัท การได้มาซึ่งความถี่นั้นต้องอาศัยการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อกำหนดความถี่ทางสถิติ ข้อมูลนี้ทางฝ่ายคลังสินค้าควรเป็นผู้เก็บข้อมูลและเป็นฝ่ายกำหนด ควรมีการการปรับระดับความสำคัญอยู่เสมอ เพราะในระยะเวลาที่เปลี่ยนไป การตลาดที่ทำให้ความต้องการในการผลิตอาจเปลี่ยนแปลงทำให้ความสำคัญของวัสดุก็เปลี่ยนไปด้วย การแบ่งแบบนี้โรงงานที่มีการผลิตหลายแบบอาจจะยากมากเพราะต้องพิจารณาในระดับการผลิตที่
วัตถุประสงค์ ช่วยให้จัดการคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคุมระดับสต๊อกสินค้า ลดต้นทุนการเก็บรักษา ป้องกันสินค้าค้างสต๊อก เพิ่มพื้นที่จัดเก็บ
วิธีการ รวบรวมข้อมูลการใช้ วัสดุย้อนหลัง คำนวณอัตราการหมุนเวียนของวัสดุ จัดแบ่งวัสดุตามกลุ่ม F, S, N กำหนดกลยุทธ์การจัดการวัสดุแต่ละกลุ่ม
ข้อดี ช่วยให้จัดการคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคุมระดับสต๊อกสินค้า ลดต้นทุนการเก็บรักษา ป้องกันสินค้าค้างสต๊อก เพิ่มพื้นที่จัดเก็บ
ข้อจำกัด ข้อมูลการใช้ วัสดุย้อนหลังต้องมีความถูกต้อง ต้องมีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้
- โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ วิเคราะห์ FSN Analysis เพื่อจัดการคลังอะไหล่ ช่วยให้สามารถจัดสรรอะไหล่ได้อย่างเหมาะสม ลดเวลาการรอคอย และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
- ห้างสรรพสินค้า วิเคราะห์ FSN Analysis เพื่อจัดการสินค้าคงคลัง ช่วยให้สามารถลดสินค้าค้างสต๊อก เพิ่มพื้นที่ขาย และเพิ่มยอดขาย
- ในธุรกิจค้าปลีก เช่น ร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้า ที่ต้องการรู้ว่าสินค้าชนิดใดมีการขายดีที่สุด เพื่อวางแผนการจัดการสต็อกและการสั่งซื้อสินค้าใหม่
- ในโรงงานผลิต เช่น การใช้วัสดุในการผลิตสินค้า ที่ต้องการรู้ว่าวัสดุชนิดใดมีการใช้งานบ่อยที่สุด เพื่อวางแผนการสั่งซื้อวัสดุให้เหมาะสมและลดการเสียหายของสต็อก
- ในสำนักงาน เช่น การจัดการเอกสารและวัสดุอื่นๆ ที่ต้องการรู้ว่าเอกสารชนิดใดมีการใช้้งานมากที่สุด เพื่อให้การจัดเก็บเอกสารมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งาน
สรุป
FSN Analysis เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการจัดการคลังสินค้า ช่วยให้จัดการวัสดุได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มพื้นที่จัดเก็บ และเพิ่มผลกำไร ช่วยให้ผู้จัดการสต็อกสามารถระบุสินค้าหรือวัสดุที่สำคัญและค่อนข้างสำคัญ โดยสามารถวางแผนการจัดเก็บสต็อกและการสั่งซื้อสินค้าได้อย่างเหมาะสม
ที่มา
ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความสำคัญกับการผลิต (VED Analysis)
VED Analysis / การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความสำคัญกับการผลิต คือ การจัดแบ่งกลุ่มวัสดุที่เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดแผนการจัดเก็บ จะเป็นการแยกกลุ่มวัสดุตามความสำคัญในงานที่มีอาจใช้เกณฑ์การพิจารณา คือ
- วัสดุสำคัญ (Vital, V) คือ วัสดุที่มีความสำคัญในการผลิตมาก อาจใช้ในการผลิตมาก หรือหากขาดวัสดุดังกล่าวจะส่งผลให้การทำงานหรือระบบงานต้องหยุดลงมีผลต่อเนื่องในด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม หรือ มีผลกระทบต่อกระบวนการผลิต การดำเนินธุรกิจ ที่ต้องหยุดชะงัก อาจรวมถึงวัสดุที่ต้องได้รับการจัดเก็บเฉพาะตามระเบียบข้อกำหนดทางกฎหมายด้วย
- วัสดุจำเป็น (Essential, E) คือ วัสดุที่มีความสำคัญปานกลาง หากวัสดุอะไหล่ชิ้นนี้เสียหายจะส่งผลกระทบต่อการผลิต อาจทำให้จำนวนผลผลิตที่ได้ออกมาจะลดต่ำลงกว่าปกติ อาจจะมีคุณภาพงานที่ได้ต่ำลง อาจต้องมีการทำซ้ำเพื่อปรับปรุงคุณภาพ (reprocess) อาจมีผลต่อเนื่องในด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม หรือมีผลกระทบต่อกระบวนการผลิต การดำเนินธุรกิจ ที่ได้ผลลัพท์ออกมาไม่เต็มปประสิทธภาพ
- วัสดุสนับสนุน (Desirable, D) คือ วัสดุทั่วไปสำหรับใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ทุกระดับ การขาดวัสดุในกลุ่มนี้อาจจะไม่ส่งผลใดๆ ต่อกระบวนการผลิตหรือการดำเนินธุรกิจมากนัก
การแบ่งในด้านนี้ต้องให้ฝ่ายซ่อมบำรุงหรือวิศวกรผู้ปฎิบัติงานเป็นผู้กำหนด การแบ่งแบบนี้หากเป็นโรงงานขนาดใหญ่จะเป็นการยากมาก เนื่องจากต้องพิจารณาละเอียดลึกลงไปถึงในระดับอะไหล่ ควรมีการการปรับระดับความสำคัญอยู่เสมอ เพราะในระยะเวลาที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีในการผลิตอาจเปลี่ยนแปลงทำให้ความสำคัญของวัสดุก็เปลี่ยนไปด้วย
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามมูลค่าราคา (HML Analysis)
HML Analysis / การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามมูลค่าราคา คือ การพิจารณาคัดแยกประเภทของวัสดุตามมูลค่าหรือราคา โดยมีเกณฑ์การพิจารณา คือ
- วัสดุราคาแพง (High, H) คือ วัสดุที่มีราคาสูง เป็นวัสดุที่มีราคาสูงกว่าค่ากำหนดราคาขั้นสูง Y บาท
- วัสดุราคาปานกลาง (Medium, M) คือ วัสดุที่มีราคาปานกลาง เป็นวัสดุที่มีราคาอยู่ในช่วงของค่ากำหนดราคาขั้นต่ำ X บาท แต่ไม่เกินค่ากำหนดราคาขั้นสูง Y บาท.
- วัสดุราคาถูก (Low, L) คือ วัสดุที่มีราคาต่ำ เป็นวัสดุที่มีราคาต่ำกว่าค่ากำหนดราคาขั้นต่ำ X บาท.
การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามมูลค่าราคา นั้นในส่วนของค่าราคาขั้นต่ำ X และราคาขั้นสูง Y จะมีความแตกต่างกันในแต่ละบริษัท การได้มาซึ่งระดับสูงหรือต่ำจะขึ้นอยู่กับ นโยบายของฝ่ายบริหาร กำหนดโยฝ่ายจัดซื้อ ที่มาของข้อมูลอาจมาจากรายการที่เคยซื้อมาแล้ว ไม่เกินมีระยะเวลานานมากกว่า 6 เดือน หรือให้ฝ่ายจัดซื้อทำการตรวจสอบเทียบราคา ควรมีการการปรับระดับความสำคัญอยู่เสมอ เพราะในระยะเวลาที่เปลี่ยนไป การตลาดที่ทำให้ความต้องการในการผลิตอาจเปลี่ยนแปลงทำให้ความสำคัญของวัสดุก็เปลี่ยนไปด้วย การแบ่งแบบนี้โรงงานที่มีการผลิตหลายแบบอาจจะยากมากเพราะต้องพิจารณาในระดับการผลิตที่มากด้วย
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามระยะเวลาใ
SDE Analysis / การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามระยะเวลาใ
- วัสดุขาดแคลน (Scarce, S)คือ วัสดุหายาก วัสดุที่มีระยะเวลาการรอคอยสินค้าส่งมอบนาน โดยจะนานกว่าระยะเวลาสูงสุด Y วัน
- วัสดุหายาก (Difficult, D) คือ วัสดุหายาก วัสดุที่มีระยะเวลาการรอคอยสินค้าส่งมอบนานกว่าระยะเวลาต่ำสุด X วัน แต่ไม่เกินระยะเวลาสูงสุด Y วัน
- วัสดุหาง่าย (Easily Available, E) เป็นวัสดุที่หาง่ายมีทั่วไป วัสดุที่มีระยะเวลาการรอคอยสินค้าไม่นาน ใช้ระยะเวลารอไม่เกินระยะเวลาต่ำสุด X วัน.
การแบ่ง SDE นั้น ในส่วนของค่า X และ Y นั้น จะมีความแตกต่างกันในแต่ละบริษัท ขึ้นอยู่กับนโยบายของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายจัดซื้อ ที่มาของข้อมูลอาจใช้ข้อมูล จากฝ่ายจัดซื้อ จากการขอข้อมูลจากผู้ขายที่มีหรือชัพพลายเออร์ จากประวัติระยะเวลาในการส่งมอบที่เคยมี ควรมีการการปรับระดับความสำคัญอยู่เสมอ เพราะในระยะเวลาที่เปลี่ยนไป การตลาดที่ทำให้ความต้องการในการผลิตอาจเปลี่ยนแปลงทำให้ความสำคัญของวัสดุก็เปลี่ยนไปด้วย การแบ่งแบบนี้โรงงานที่มีการผลิตหลายแบบอาจจะยากมากเพราะต้องพิจารณาในระดับการผลิตที่มากด้วย
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
WIM การวิเคราะห์โดยการใช้แบบ ABC ร่วมกับแบบ XYZ (ABC & XYZ Analysis)
การจำแนกประเภทของสินค้าบางครั้งอาจมีการใช้ปัจจัยหลายตัว มาช่วยในการวางแผนจัดการสินค้าคงคลังเช่น ใช้การวิเคราะห์แบบ ABC แบ่งโดยใช้ราคาและปริมาณในการจัดเก็บ มาใช้ร่วมกับแบบ XYZ ก็จะช่วยแบ่งกลุ่มที่ชัดเจนเยอะขึ้น สามารถดำเนินการจัดการเฉพาะกลุ่มได้ง่าย เพราะบางครั้งการใช้แบบเดียวอาจจะยังไม่ได้มีความแตกต่างเพียงพอ
1. การวิเคราะห์แบบ ABC เช่น ตามปริมาณมูลค่าการถือครอง หรือมูลค่าการขาย หรือมูลค่าส่วนแบ่งกำไร เพื่อจัดแบ่งกลุ่ม
- A คือ วัสดุในที่ประกอบด้วยสินค้าที่ีมีเพียงไม่กี่รายการ หรือมีจำนวน SKU (Stock Keeping Unit) น้อยอาจเพียง 5-15 % แต่เป็นรายการสินค้าคงคลังที่มีมูลค่าสูงเกิน 70-80 % อาจกำหนดค่าขั้นสูง Y หากมีเก็บขั้นต่ำสูง Y ก็จะจัดอยู่ในวัสดุกลุ่มนี้
- B คือ วัสดุที่เป็นส่วนสินค้าที่มีมูลค่ารองลงไป จะได้รับความสำคัญน้อยลงจะประกอบด้วยสินค้ารายการระหว่าง 15-30 % แต่เป็นรายการสินค้าคงคลังที่มีมูลค่าต่ำกว่า 30 % อาจอยู่ในระหว่างค่าที่่กำหนด โดยมีค่าต่ำกว่า Y แต่ยังสูงกว่าค่าขั้นต่ำ X ก็จะจัดอยู่ในวัสดุกลุ่มนี้ ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าการถือครอง หรือมีมูลค่าการขาย หรือส่วนแบ่งกำไรรองลงไปจะได้รับความสำคัญน้อยลงเป็น B และ C ตามลำดับ
- C คือ วัสดุที่เป็นส่วนสินค้าที่มีมูลค่าน้อยสุด จะให้ความสำคัญน้อยที่สุดจะประกอบด้วยสินค้าที่ีมีรายการมาก 50-60 % แต่เป็นรายการสินค้าคงคลังที่มีมูลค่าต่ำเพียง 5-10 % ต่ำกว่าค่าที่ได้กำหนดขั้นต่ำ X หากมีเก็บขั้นต่ำน้อยกว่า X ก็จะจัดอยู่ในวัสดุกลุ่มนี้
2. การวิเคราะห์แบบ XYZ เช่น ตามปริมาณการใช้งาน
- X มีปริมาณการใช้งานมาก คือ การใช้วัสดุ X มีลักษณะการใช้งานที่ปริมาณมากใช้งานตลอดเวลา
- Y มีปริมาณการใช้งานปานกลาง คือ การใช้วัสดุ Y มีลักษณะการใช้งานที่เริ่มจะไม่คงที่ หรือมีความแปรปรวนเป็นระยะๆ
- Z มีปริมาณการใช้งานน้อยที่สุด คือ การใช้วัสดุ Z ไม่ได้มีการใช้เป็นประจำบางช่วงเวลาไม่มีการใช้งานเลย
ตัวอย่าง แนวคิดและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการรวม ABC / XYZ
- AX, BX, CX, AY, BY, CY มีการหมุนเวียนที่มากและรวดเร็ว ควรมีเก็บให้น้อยเพราะมีมูลค่าสูง เหมาะสำหรับการจัดส่งแบบ Just-In-Time (JIT) ในงานกลุ่มนี้มีจำนวนงานที่มากควรดำเนินงานโดยใช้คอมพิวเตอร์มาช่วย เน้นการทำงานโดยอัตโนมัติ และควรกำหนดจุดรับเก็บวางจ่ายให้อยู่ในพื้นที่ ที่สะดวกที่สุดในการจัดเก็บ
- AZ, BZ และ CZ ควรกำหนดด้วยตนเอง
- ผลิตภัณฑ์ AZ และ BZ มีส่วนแบ่งรายได้สูง แต่ก็เป็นเรื่องยากที่ในการจัดการควบคุม และควรต้องให้ความสสนใจเป็นพิเศษ
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward