การเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจ (Platform Revolution) ธุรกิจในปัจจุบันมักพบว่ามีการทำในรูปแบบที่นิยมเรียกกันว่า Platform หากพิจารณาในการทำธุรกิจรูปแบบ Platform ก็จะพบว่ามีขั้นตอนวิธีการดำเนินงานที่มีความแตกต่างไปจากแนวการทำธุรกิจในแบบเดิม สามารถเทียบธุรกิจรูปแบบเดิมและแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้
1. ธุรกิจแบบท่อ (Pipe) เป็นรูปแบบการทำอุตสาหกรรมแบบเดิม ที่ดำเนินการไปเชื่อมต่อกันตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) มีรูปแบบขั้นตอนการทำงานเรียงไปตามลำดับเป็นแนวแบบเส้นตรง การทำธุรกิจแบบนี้มีลำดับการทำงานเหมือนกับน้ำไหลตามท่อ ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจซื้อวัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้า แล้วก็จะนำมาจัดเก็บก่อนจะส่งไปขายให้กับลูกค้าที่ซื้อหรือผู้บริโภค ธุรกิจรูปแบบท่อนี้ได้มีการใช้ในการทำธุรกิจมายาวนาน มูลค่าเศรษฐกิจจะมีเกิดขึ้นตลอดโซ่อุปทาน หรือมีในทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
2. ธุรกิจรูปแบบใหม่ Platform เป็นรูปแบบการทำอุตสาหกรรมแบบใหม่ ไม่มีการทำงานตามลำดับเมือนเดิม จะเน้นไปที่การนำลูกค้าที่เป็นคนต่างกลุ่มกันมาพบปะกัน บางครั้งเรียกว่า ธุรกิจแบบการจับคู่ (Matchmakers) ธุรกิจเหล่านี้จะเน้นการเป็นตัวเชื่อมระหว่างคนในกลุ่มเพื่อหาสิ่งที่ต้องการร่วมกัน ธุรกิจรูปแบบ Platform จะไม่เน้นในการไปผลิตสินค้าอะไรเลย จะพยายามให้ผู้ผลิตสินค่าสร้างมูลค่าเศรษฐกิจบน Platform เพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้สอย
ความได้เปรียบของธุรกิจ Platform มาจากปัจจัยหลายด้าน เช่น
- ธุรกิจแบบ Platform สามารถขจัดขั้นตอนของงานที่เรียกว่า “ยามเฝ้าประตู” (Gatekeeper) หรือผู้ควบคุมในแต่ละขั้นตอน ทำให้ลดขั้นตอนการทำงานที่สร้างรายจ่าย เกิดผลดีในราคาที่ลดลงและเวลาที่เร็วมากขึ้น
- ธุรกิจแบบ Platform สามารถเพิ่มความสามารถในการตอบสนองแก่ลูกค้า หรือที่เรียกว่าอุปทาน (supply) ให้เพิ่มากขึ้นใหม่ได้อย่างไม่จำกัด เช่น บริการรถเช่าที่สามารถหาเพิ่มสมาชิกมาใ้บริการโดยที่ตัวเองไม่ต้องไปซื้อรถเลยสักคัน หรือบริการที่พักที่สามารถมีห้องให้เช่าเพิ่มมากมายต่เนื่อง โดยไม่ได้ก่อสร้างเลยแม้แต่ห้องเดียว
- ธุรกิจแบบ Platform อาศัยการตอบสนองที่รวดเร็ว โดยจะใช้การรับรู้ที่ได้จากข้อมูลที่ตอบกลับมา (feedback) ของลูกค้า นำเอาข้อมูลที่ได้มาสร้างและกำหนดคุณค่าผลิตภัณฑ์ เกิดเป็นความสามารถในการปรับตัวความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ง่ายเพราะไม่ต้องเสียเวลาในการลงทุน จัดหาอุปทาน
- ธุรกิจแบบ Platform สามารถหันเหความสนใจจากภายในองค์กรสู่ภายนอก ทำให้สามารถแสวงหาลู่ทางธุรกิจได้มากขึ้น ธุรกิจ Platform เปลี่ยนรูปแบบจากองค์กรที่หมกมุ่นกับเรื่องการวางแผนทรัพยากรต่างๆ จากภายในองค์กรมาเป็น องค์กรที่เน้นลูกค้าภายนอก บริษัท Platform ที่มีชื่อเสียงจึงมีจำนวนพนักงานไม่มากนัก เช่น Uber มีพนักงานราว 2 พันคน Air bnb มีอยู่ 600 คน ส่วน Wikipedia มีคนทำงาน 35 คน ทำให้ไม่ต้องมีภาระในเรื่องการบริหารห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) แต่อาศัยทรัพยากรเศรษฐกิจหรือสินทรัพย์ของคนในชุมชน
ได้มีการศึกษาภายใต้ชื่อ The Rise of the Platform Enterprise: A Global Survey ซึ่งได้ศึกษา Platform จำนวน 176 บริษัททั่วโลก โดยแต่ละบริษัทที่ศึกษานั้นจะต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจากการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้แบ่งประเภทของ Platform ที่มีอยู่ในโลกนี้ออกเป็นสี่ประเภท
- Innovation platform เป็น Platform ที่เปิดโอกาสให้บริษัทหรือบุคคลอื่นได้พัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่แล้วนำมาวางไว้ใน Platform ของตนเอง เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ต่อยอดกันไปเรื่อยเช่น Apple iOS หรือ Google Android ที่เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้พัฒนาแอพแล้วนำมาวางไว้หรือให้ลูกค้าได้ใช้ผ่าน Platform ตนเอง
- Transaction platform เป็น Platform ที่เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาเจอกันและเกิดการซื้อขายสินค้าหรือบริการขึ้น Platform ในลักษณะนี้เป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่ Sharing Economy ในหลายอุตสาหกรรมเช่น กรณีของ Uber หรือ Airbnb เป็นตลาดกลางที่ช่วยให้ผู้ซื้อหรือผู้ขายได้มีโอกาสเจอและจับคู่กันมากขึ้น
- Integration platform เป็น Platform ที่เป็นพวกบริษัทใหญ่ที่มีทั้งแบบ innovation และ transaction platform รวมกัน เช่น Apple กับ Google เน้นนวัตกรรม แต่ขณะเดียวกันก็เป็นตลาดกลางให้ผู้ซื้อผู้ขายมาเจอกัน
- Investment platform เป็น Platform ที่เน้นการเข้าไปลงทุนในบริษัทที่ใช้ platform หลายๆ บริษัท เช่น Priceline Group ที่เน้นเรื่องการท่องเที่ยวและเดินทางก็เข้าไปลงทุนทั้งใน Priceline, Kayak, Open Table เป็นต้น
.
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------