iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
ลักษณะของผู้ประกอบการสตรีที่ประสบความสำเร็จ (Characteristics of Successful Women Entrepreneurs)
ลักษณะของผู้ประกอบการสตรีที่ประสบความสำเร็จ (Characteristics of Successful Women Entrepreneurs) จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการนักธุรกิจสตรีที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ พบว่าแนวทางปฏิบัติที่นักธุรกิจสตรีใช้เพื่อสร้างธุรกิจจนมีความสำเร็จ มักมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน คือมีความโดดเด่นในการตัดสินใจ ส่วนใหญ่หลงใหลในงานที่ทำมีเป้าหมายที่ชัดเจนและมุ่งมั่นที่จะไล่ติดตาม ส่วนใหญ่ประสานเป้าหมาย ความหลงใหล มาเข้ากับพรสวรรค์ที่มีของตน การสร้างธุรกิจต้องมีวินัยและความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการสตรีที่ประสบความสำเร็จรู้ดีว่าการมุ่งมั่นติตามเฝ้าดูรางวัลที่ได้รับในขณะที่พวกเธอทำงาน ได้ผลตอบแทนที่ได้ก็คุ้มค่ากับความพยายาม ตัวอย่างแนวคิดที่ได้จากการรวบรวมมา ได้แก่
- ผู้ประกอบการสตรีที่ประสบความสำเร็จใช้ความกล้าในการเริ่มต้นธุรกิจ การละทิ้งความสะดวกสบายของงานประจำหรือเงินเดือนที่มีตามปกติ ก้าวเริ่มต้นการเดินทางออกนอกกรอบพร้อมกล้าเสี่ยง ซึ่งในช่วงระยะเริ่มต้นเป็นเรื่องที่น่ากลัว แต่ผู้หญิงเหล่านี้มีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างมาก และเต็มใจที่จะก้าวออกจากเขตความสะดวกสบายของตนเอง หากแผนเริ่มแรกไม่ประสบผลสำเร็จ ก็จะมีแผน B อยู่เสมอ ผู้นำหญิงเหล่านี้มองว่าความเสี่ยงเป็นความท้าทายที่จำเป็น โดยจะมีรางวัลที่มีมากกว่าการสูญเสียหรือคุ้มค่าในการเสี่ยง
- พวกเขาสร้างโครงสร้างธุรกิจตามข้อกำหนด หากต้องการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จต้องเต็มใจที่จะสร้างโครงสร้างองค์กรที่เหมาะกับตัวเองในโลกธุรกิจ โครงสร้างองค์กรได้รับการจัดตั้งขึ้นสำหรับบุคลากร พนักงานรู้กฎของสถานที่ทำงานและรู้วิธีที่จะบรรลุความรับผิดชอบในการทำงาน พวกเขาปรากฏตัวและติดตามตารางงาน ผู้ประกอบการหญิงมีความแตกต่างกัน พวกเขาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพวกเขาพัฒนาโครงสร้างธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตารางเวลาส่วนตัวของพวกเขา หากต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของบุตรหลาน เช่น มีการสร้างโครงสร้างธุรกิจเพื่อรองรับ หากพวกเขาต้องการทำงานจากที่บ้าน พวกเขาจะสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อรองรับ สำหรับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ความยืดหยุ่นเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากความต้องการความยืดหยุ่น ผู้ประกอบการสตรีที่ประสบความสำเร็จจึงไม่เดินตามเส้นทางที่ผู้อื่นออกแบบ พวกเขาค่อนข้างสบายใจที่จะปลอมมันขึ้นมาเอง
- พวกเขาเป็นนักแก้ปัญหาและขจัดปัญหาคอขวดอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในความพยายามของผู้ประกอบการ คุณจะต้องสบายใจและเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหา คุณต้องสามารถคิดออกได้ ช่วงนั้น “ฉันจะหาคำตอบ” เกิดขึ้นซ้ำโดยผู้หญิงหลายคนที่ฉันสัมภาษณ์ เราพบว่าการเป็นนักแก้ปัญหาที่เชี่ยวชาญช่วยให้ผู้หญิงเหล่านี้ขจัดปัญหาคอขวดได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเกิดขึ้นเมื่อธุรกิจพัฒนาขึ้น เมื่อเงื่อนไขข้อหนึ่งได้รับการแก้ไขในธุรกิจ ก็มีอีกสถานการณ์หนึ่งเกิดขึ้น และผู้หญิงเหล่านี้ก็รู้เรื่องนี้
- พวกเขาทำงานเพื่อสร้างความรู้สึกในการควบคุม ซึ่งนำไปสู่ความมั่นใจในตนเอง ผู้นำสตรีเหล่านี้มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะควบคุมชะตากรรมของตนเอง ผู้หญิงเหล่านี้เลือกที่จะไม่ทำงานให้คนอื่น—บ่อยครั้งด้วยเหตุผลหลายประการ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้พบว่าพวกเขาต้องการเป็นนายของตัวเองและกำลังพัฒนาการพึ่งพาตนเองในการตัดสินใจของตนเอง การสร้างธุรกิจของตนเองทำให้พวกเขาสามารถควบคุมชีวิตของตนเองได้มากขึ้น และการตัดสินใจที่พวกเขาทำก็สะท้อนถึงความมั่นใจในตนเองที่เพิ่มมากขึ้นของพวกเขา
- ผู้ประกอบการสตรีให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่าย ผู้ประกอบการสตรีจำนวนมากเน้นย้ำว่าการสร้างเครือข่ายมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของธุรกิจ พวกเขาสร้างความสัมพันธ์ที่สำคัญกับเจ้าของธุรกิจรายอื่นผ่านระบบเครือข่าย กิจกรรมสร้างเครือข่ายช่วยให้พวกเขาสามารถขยายความสามารถในการระบุลูกค้าใหม่ ปลูกฝังการอ้างอิง และเป็นที่รู้จัก บ่อยครั้งที่ความรับผิดชอบทางธุรกิจทำให้พวกเขาอยู่ในที่ทำงาน แต่การใช้เครือข่ายเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดยังคงเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนที่แข็งแกร่ง การเลือกเป็นผู้ประกอบการอาจเป็นเส้นทางอาชีพที่น่าตื่นเต้นและคุ้มค่า การใช้ภูมิปัญญาของผู้ประกอบการสตรีที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้สามารถช่วยให้เส้นทางราบรื่นขึ้นเล็กน้อย
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
ผู้ประกอบการธุรกิจหญิงอัจฉริยะ (Smart Women Entrepreneur)
-------------------------------------------------
Tool หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20)
หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20) ตั้งขึ้นในปี 1895 ตามชื่อผู้สร้างกฎ "วิลเฟรโด พาเรโต" ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลี่ยนอธิบายถึง ในทุกกิจกรรมจะสิ่งที่สำคัญหรือมีประโยชน์ที่จำเป็นจำนวนที่น้อย และมีสิ่งที่ไม่สำคัญหรือไม่มีประโยชน์จำนวนที่มากกว่า ประมาณในอัตราส่วน 20 ต่อ 80 หรือเรียกว่า กฎ 80/20 ของพาเรโต เป็นกฎที่แสดงถึงความไม่สมดุลที่สามารถพบเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน จุดสำคัญอยู่ที่ว่าการที่เราตัดสินใจที่จะเลือกเน้นสิ่งที่สำคัญมากซึ่งเป็นกิจกรรมที่มี 20 % ที่สำคัญให้สำเร็จก่อนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ 80 % การเลือกทำเพื่อให้การใช้แรงเพียง 20 % จะได้ผลลัพธ์ 80 %
หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20) หมายความว่า สิ่งที่สำคัญจะมีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ของสิ่งที่ไม่สำคัญอีก 80 เปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น
- มีคนที่รวยเพียง 20 % ของคนทั้งประเทศที่มีทรัพย์สินมั่งคั่งรวมกันเป็น 80 % ของคนทั้งประเทศ
- ผลผลิตที่เสียหาย 20 % มาจากปัญหาประมาณ 80 % และ 20 % ของงานที่ทำได้จะต้องใช้เวลาและทรัพยากรไปถึง 80 %
- มีลูกค้าเพียง 20 % จะสร้างรายได้ให้กับบริษัทถึง 80 % ของรายได้รวมทั้งหมด
- มียอดขาย 80 % ของยอดขาย มาจาก 20 % ของพนักงานขายที่มีประสิทธิภาพ
- มีผลผลิตในบริษัท 80 % ที่มาจากพนักงานเพียงประมาณ 20 %
- พนักงานในบริษัท 80 % สร้างผลผลิตให้บริษัท 20 %
ฯลฯ ดังนั้นเราจึงอาจใช้กฎ 80/20 นี้ช่วยในการจัดกลุ่มคัดงานลำดับงานที่จะทำได้ในแทบทุกเรื่อง
หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20)
กฎข้อที่ 1 การตัดสินใจที่มีตลอดเวลา จะมีเพียงไม่กี่ครั้งที่เป็นการตัดสินใจที่สำคัญมาก
กฎข้อที่ 2 การตัดสินใจที่สำคัญที่สุดมักเกิดโดยบังเอิญ เพราะจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการตัดสินใจมักจะมาและไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันตั้งตัว
กฎข้อที่ 3 การรวบรวมข้อมูลมักใช้เวลา 80 % และจะมีการใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์เพียง 20 % เท่านั้น ที่จะนำมาใช้ในการตัดสินใจ
กฎข้อที่ 4 ถ้าสิ่งที่ตัดสินใจลงมือกระทำแล้วหากไม่ได้ผลให้รีบปรับเปลี่ยน หรือกลับมาจุดตั้งต้นใหม่
กฎข้อที่ 5 ถ้าสิ่งที่ทำไปได้ดีก็อย่ารีรอที่จะตัดสินใจลงทุนเพิ่มเเพิ่มเท่าตัว
หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20) จะช่วยในชีวิตจริงได้อย่างไร สืบเนื่องจากการที่ในชีวิตจริงของเรามีเรื่องมากมายที่ต้องดำเนินการ แต่เราไม่สามารถจะดำเนินการจัดการทำได้กับทุกเรื่องได้ ดังนั้นก่อนที่จะลงมือทำเรื่องอะไรแล้วควรมองว่าเราจะทำอะไรก่อนหลัง หากให้ดีควรเลือกเรื่องทัี่ทำน้อยหรือจัดการง่าย แต่จะได้รับผลตอบแทนคืนมาก เราในฐานะผู้บริหารควรจะต้องให้ความสำคัญกับ 20 % ที่สำคัญนี้เช่น
ในกรณีที่บริษัทหรือองค์กรกำหนดนโยบายว่า ลูกค้าคือเป้าหมายที่จะให้บริการที่ดีที่สุด หากเป็นเช่นนั้นลูกค้าทุกคนจะต้องได้รับการปฏิบัติจากพนักงานของบริษัทอย่างดีเท่าเทียมกัน แต่เราไม่สามารถจะดำเนินการจัดการทำได้กับลูกค้าทุกคนได้จริงหรืทอได้ก็สูญเสียทรัพยากรที่มาก หากใช้กฎ 80/20 มาช่วยจะโดย เราควรหายอดขายรายได้รวมจำนวน 80 % ของบริษัท ว่ามาจากลูกค้าคนใดบ้าง โดยควรเลือกมาเพียง 20 % เพื่อมาจัดลำดับในการปฏิบัติต่อลูกค้าให้ดี และในส่งนของลูกค้า 80 % ที่ไม่ได้สร้างรายได้ให้กับบริษัทมากนัก หลายรายที่จ่ายเงินช้า, ประวัติการชำระเงินไม่ดี, มีเรื่องบ่นหรือต่อว่าอยู่ตลอด รวมไปจนถึงหลายรายที่เป็นหนี้สงสัยจะสูญ ฯลฯ ซึ่งหาลูกค้าคนกลุ่มนี้มาวางแผนจัดการในอีกแบบ เพราะทำให้บริษัทมีรายได้เพียงแค่ 20 % เท่านั้น ไม่ค่อยสร้างรายได้ สร้างปัญหามากกว่าสร้างรายได้ ให้คงสภาพไว้แต่อาจดูแลน้อยลง หรืออาจจะส่งลูกค้าที่มีปัญหากับบริษัทหรือจัดความเข้มข้นในการดูแลที่ลดลง เพื่อลดต้นทุนในการให้บริการลูกค้าที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้กลุ่มนี้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้อีกทาง แล้วไปทุ่มเวลาดูแลเอาใจใส่กลุ่มลูกค้ารายใหญ่ที่มีเพียง 20 % ที่เป็นผู้มีอุปการคุณตัวจริงที่ทำให้บริษัทอยู่ได้จะดีกว่า อาจกล่าวได้ว่า เราควรทุ่มเทให้กับ 20 % ที่จะทำให้มีมูลค่ากลับคืน 80 % ดีกว่าไปเสียเวลากับ 80 % ที่สรา้งรายได้กลับคืนเพียง 20 %
* ที่มา : www.iok2u.com
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพเพิ่มเติมคลิกที่นี่
Tool เครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพ (Tools for quality management) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------
WIM การวิเคราะห์โดยการใช้หลักการพาเรโต (Pareto 80/20)
หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20) อธิบายถึง ในทุกกิจกรรมจะสิ่งที่สำคัญหรือมีประโยชน์ที่จำเป็นจำนวนที่น้อย และมีสิ่งที่ไม่สำคัญหรือไม่มีประโยชน์จำนวนที่มากกว่า ประมาณในอัตราส่วน 20 ต่อ 80 หรือเรียกว่า กฎ 80/20 ของพาเรโต เป็นกฎที่แสดงถึงความไม่สมดุลที่สามารถพบเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน จุดสำคัญอยู่ที่ว่าการที่เราตัดสินใจที่จะเลือกเน้นสิ่งที่สำคัญมากซึ่งเป็นกิจกรรมที่มี 20 % ที่สำคัญให้สำเร็จก่อนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ 80 % การเลือกทำเพื่อให้การใช้แรงเพียง 20 % จะได้ผลลัพธ์ 80 %
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20)
หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20) หมายความว่า สิ่งที่สำคัญจะมีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ของสิ่งที่ไม่สำคัญอีก 80 เปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น
- สินค้าที่มีการใช้หรือมูลค่าหรือความสำคัญเพียง 20 % ของสินค้าในคลัง จะรวมกันเป็น 80 % ของสินค้าในคลังสินค้านั้น
- สินค้าที่เสียหาย 20 % อาจสร้างปัญหาความสูญเสียมากถึง 80 % และ 20 % ของสินค้าที่มีอาจจะต้องใช้เวลาและทรัพยากรไปถึง 80 % ในการจัดการ
- มียอดขายสินค้า 80 % ของยอดขาย มาจาก 20 % ของสินค้าที่สำคัญและมีประสิทธิภาพ
- มีสินค้าในคลังสินค้า 80 % ที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ มีเพียงประมาณ 20 % ที่สำคัญและใช้บ่อย
- เวลาการทำงานในคลังสินค้า 80 % สร้างผลผลิตให้บริษัทเพียง 20 %
เราอาจใช้กฎ 80/20 นี้ช่วยในการจัดกลุ่มสินค้า คัดสินค้าที่สำคัญที่จะทำมาพิจารณาในการจัดการได้
หลักการพาเรโต (Pareto 80/20) จะช่วยในงานสินค้าคงคลังได้มากเนื่องจากการทำงานในคลังสินค้า จะพบว่ามีสินค้ามากมายที่ต้องดำเนินการ หากเราไม่สามารถจะเลือกดำเนินการจัดการที่เหมาะสมได้ ก็จะกลายเป็นต้องเราทำงานกับทุกสินค้าเหมือนกันหมด ซึ่งในความเป็นจริงสินค้าแต่ละชนิดมีความต้องการในการจัดการที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนที่จะลงมือทำการจัดการสินค้าคงคลัง เราควรมองว่าเราจะทำอะไรกับสินค้าในคลังอย่างไรให้ความสำคัญเพียงไหนและทำอะไรก่อนหลัง หากให้ดีควรเลือกให้งมีการจัดการสินค้าคงคลังให้มีเหลือน้อยที่สุดเพื่อให้จัดการได้ง่ายและจะต้องได้รับผลตอบแทนคืนมากที่สุด ในฐานะผู้บริหารสินค้าคงคลังควรจะต้องให้ความสำคัญกับ สินค้า 20 % ที่สำคัญ
ในกรณีที่การจัดการคลังสินค้า กำหนดนโยบายว่า ลูกค้าหรือผู็มาเบิกสินค้า คือ เป้าหมายที่จะให้บริการที่ดีที่สุด หากเป็นเช่นนั้นทุกคนที่เบิกสินค้าจะต้องได้รับการปฏิบัติจากพนักงานของคลังอย่้งหทดางดีเท่าเทียมกัน เราอาจไม่สามารถจะดำเนินการจัดการสินค้าในคลังได้ทั้งหมด แต่เราสามารถเลือกจัดการเพื่อให้สามารถให้บริการลูกค้าทุกคนได้สินค้าที่ดีมีคุณภาพถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม หากมีการใช้กฎ 80/20 มาช่วย เช่น หายอดสินค้าที่เบิกที่มีมูลค่ารวมจำนวน 80 % ของคลัง ว่ามีสินค้าใดบ้าง โดยเลือกสินค้ามาเพียง 20 % เพื่อมาจัดลำดับให้ความสำคัญในการเตรียมเพื่อให้บริการลูกค้าที่มาเบิกให้ดี และในส่วนของสินค้าอีกกว่า 80 % ในคลังที่ไม่ได้สร้างรายได้หรือมีคุณค่ามากนักกับคลัง เช่น สินค้าเคื่อนไหวช้า, สินค้าราคาถูก, สินค้ามีความเปราะบาง สินค้าที่ได้รับการบ่นหรือต่อว่าอยู่ตลอด รวมไปจนถึงเป้าหมายที่เราสนใจ ซึ่งหาสินค้ากลุ่มนี้นำมาวางแผนจัดการเฉพาะพิเศษในอีกแบบอาจจะทำให้คลังที่ได้ผลผลิตในกลุ่มนี้เพียงแค่ 20 % เท่านั้น หรือไม่ค่อยสร้างรายได้ สร้างปัญหามากกว่าสร้างรายได้ ให้คงสภาพไว้แต่อาจดูแลน้อยลง
เราควรทุ่มเทให้กับ 20 % ที่จะทำให้มีมูลค่ากลับคืน 80 % ดีกว่าไปเสียเวลากับ 80 % ที่สรา้งรายได้กลับคืนเพียง 20 %
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward