iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
Plan การวางแผนกลยุทธ (Strategic Planning)
 

การวางแผน (Planning) คือ งานที่มีความสำคัญยิ่งในการทำหน้าที่ของนักบริหารและนักวิชาการ ซึ่งองค์การทั้งหลายต่างใช้แผนต่าง ๆ (Plan) เป็นเข็มทิศนำทางหรือเป็นตัวกำหนดแนวทางไปสู่จุดหมายที่ต้องการ และเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างความสำเร็จในการบริหารงาน

ความสำคัญของการวางแผน ถือเป็นความรับผิดชอบของนักบริหาร นักบริหารที่ดีจะต้องใช้ทักษะที่สำคัญในการจัดการ 3 ด้าน คือ เก่งงาน (Technical skill), เก่งคน (Human skill) และเก่งคิด (Conceptual skill) นักบริหาร จะต้องใช้ทักษะที่มีเพื่อกำหนดเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ตามระดับการทำงาน (strategic intent) ในทางวิชาการ เจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์หมายถึง จุดมุ่งหมายสูงสุดขององค์การหรือเป้าหมายปลายทางที่องค์การต้องการบรรลุผล ที่มีการประกาศในลักษณะของ วิสัยทัศน์และภารกิจ (Vision and Mission) และจุดมุ่งหมายกับวัตถุประสงค์ (Goals and Objectives)

1.1 วิสัยทัศน์ (Vision) ในการบริหารเชิงกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ หมายถึง เจตจำนงหรือความตั้งใจที่กว้างขวางครอบคลุมทุกเรื่องขององค์การ และที่สำคัญมากคือ คิดไปข้างหน้า (Forward thinking) วิสัยทัศน์เป็นการแสดงให้เห็นถึง ความคาดหวังในอนาคตโดยมิได้ระบุวิธีการดำเนินงาน วิสัยทัศน์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ สิ่งที่สามารถจุดประกายความคิดให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในองค์การที่จะร่วมกันทำงานเพื่อมุ่งไปสู่สภาพที่ดีที่สุด (The best) มากที่สุด (The most) และยิ่งใหญ่ที่สุด (The greatest)

1.2 ภารกิจ หรือพันธกิจ (Mission) เพื่อให้วิสัยทัศน์ที่กำหนดซึ่งมักมีสภาพที่ค่อนข้างเป็นนามธรรมสามารถแปรเปลี่ยนเป็นรูปธรรม คือ เป็นสิ่งที่เห็นได้ หรือเป็นจริงได้ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องกำหนดภารกิจหรือพันธกิจขึ้น ข้อความที่แสดงแนวคิดและวิธีการดำเนินงานเพื่อบรรลุถึงวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้แล้ว แนวคิดทางการบริหารของปีเตอร์ ดรัคเกอร์ กล่าวว่า การกำหนดภารกิจขององค์การที่ดี คือ การที่นักบริหารจะต้องตอบคำถามต่อไปนี้ให้ชัดเจน

- ธุรกิจของเรา คืออะไร (What is our business ?)

- ลูกค้าของเรา คือใคร (Who is our customer ?)

- คุณค่าหรือค่านิยมที่ลูกค้าต้องการ คืออะไร (What is value to the customer ?)

- ธุรกิจของเราจะเปลี่ยนแปลง อย่างไรต่อไป (What will be our business ?)

- ธุรกิจของเราควรมีลักษณะ เช่นใดในอนาคต (What should our business be ?)

1.3 จุดมุ่งหมาย (Goals) เพื่อให้ภารกิจที่วางไว้มีความเป็นไปได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น จุดมุ่งหมายคือผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (End results) ที่กิจการหนึ่ง ๆ วางไว้ล่วงหน้า เพื่อบรรลุภารกิจที่กำหนดไว้

1.4 วัตถุประสงค์ (Objectives) เพื่อให้จุดมุ่งหมายด้านต่าง ๆ ที่กำหนด สามารถนำไปสู่การดำเนินงานได้ จึงจะต้องระบุลักษณะของผลงานที่จะปฏิบัติ (Outputs) ซึ่งจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๔ ประการ คือ

- คุณลักษณะของผลงาน (Attributes)

- เครื่องชี้วัด (Index)

- เป้าหมาย (Target)

- ห้วงเวลา (Time frame)

เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และตรวจสอบวัตถุประสงค์ หลักนิยมที่ใช้กันในหมู่นักวางแผน คือ หลัก SMART หรือ SMART Principle เป็นการตรวจสอบวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่คำนึงถึงหลักความสำคัญ 5 ประการ คือ

1. ต้องมีความเป็นไปได้ และระบุเครื่องชี้วัดที่ชัดเจน (Sensible and Specific = S)

2. ต้องระบุเป้าหมายที่วัดได้ (Measurable Targets = M)

3. ต้องระบุผลที่ต้องการ กับสามารถมอบหมายได้ (Attainable and Assignable = A)

4. ต้องอธิบายได้ และทำให้เป็นจริงได้ (Reasonable and Realistic = R)

5. ต้องกำหนดกรอบเวลาอย่างเหมาะสม (Time available = T)

1.5 แผนหรือกลยุทธ์ (Plans of Strategies) สิ่งที่จะกำหนดในระดับล่างสุด คือ แผนต่าง ๆ ที่จะบรรลุกลยุทธ์และกลวิธี (Strategies and Tactics) ที่มอบหมายให้นักบริหารระดับต้นรับผิดชอบ เพื่อการดำเนินงานทั้งในส่วนของงานประจำและงานชั่วคราวหรือโครงการอย่างไร ซึ่งถือเป็นการกำหนดวิธีการ (Means) การวางแผนในระดับล่างสุดนี้ จะประกอบด้วยการวางแผนการดำเนินงาน (Operation Plans) ที่ชี้ให้เห็นว่าองค์การจะมอบหมายให้พนักงาน

1. ทำกิจกรรมที่เป็นงานประจำอะไรบ้าง อย่างไร

2. แต่ละกิจกรรมจะได้รับการจัดสรรทรัพยากรในรูปของงบประมาณ และอัตรากำลังเท่าไร

3. การมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบแก่ผู้ปฏิบัติงาน

4. การจัดวางกำหนดการ หรือตารางเวลา การทำงาน (Scheduling) เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดจุดตรวจสอบและรายงานผล การทำงาน

 

 ---------------------------------------------

สนใจเรื่องราว การวางแผนกลยุทธ (Strategic Planning) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
-
-
 
 
ที่มาข้อมูล https://www.ocsc.go.th/learningPortal

---------------------------------------------

ดูเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ที่ 

E-Book แนะนำแหล่งเรียนรู้ออนไลน์​ สำนักงาน กพ. (OCSC-E-learning)

 VDO แนะนำ Youtube สำนักงาน กพ. (OCSC-Youtube)

---------------------------------------------

ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com

-------------------------------------------------

สนใจเรื่องราว การวางแผนกลยุทธ (Strategic Planning) เพิ่มเติมคลิกที่นี่

Plan การวางแผนกลยุทธ (Strategic Planning) รวมข้อมูล

-------------------------------------------------

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward