เที่ยวปทุมธานี คลองหลวง หออัครศิลปิน (Hall of Artists)
หออัครศิลปิน ศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรมและพระอัจฉริยภาพทางศิลปะ
หออัครศิลปิน เป็นสถานที่ที่จัดแสดงพระราชประวัติและผลงานศิลปะฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในฐานะที่ทรงเป็น "อัครศิลปิน" และผลงานของศิลปินแห่งชาติในสาขาต่างๆ เพื่อเชิดชูและอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทย
หออัครศิลปิน ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี บนถนนเลียบคลองห้า สามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือแท็กซี่จากกรุงเทพมหานคร ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง
Google map https://maps.app.goo.gl/xE2xZRdxRjtKWpc6A
หออัครศิลปินก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในฐานะที่ทรงเป็น "อัครศิลปิน" และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและแสดงผลงานของศิลปินแห่งชาติทุกสาขา
หออัครศิลปิน จัดตั้งขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2539 ในโอกาสเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีบนพื้นที่ 5 ไร่ ในรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย ตั้งอยู่ที่ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
ตัวอาคารประกอบด้วยอาคารหลักที่ใช้จัดแสดงนิทรรศการพระราชประวัติและผลงานศิลปะฝีพระหัตถ์ขององค์อัครศิลปิน รายล้อมด้วยอาคารรูปตัวยู ที่จัดแสดงนิทรรศการประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติภายใต้แนวคิดอัครศิลปิน ซึ่งรายล้อมด้วยศิลปินแห่งชาติที่ทรงให้การอุปถัมภ์ สถานที่จัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับพระอัจฉริยภาพทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะเป็น “อัครศิลปิน” และ พระปรีชาสามารถของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่ทรงเป็น “วิศิษฏศิลปิน” และจัดแสดงประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ ทั้ง 3 สาขา นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านต่างๆ ของศิลปินแห่งชาติ อีกด้วย หออัครศิลปิน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิดหออัครศิลปินอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 ภายในหออัครศิลปิน แบ่งส่วนจัดแสดงเป็น
@ ชั้น 2 และ 3 จัดแสดงเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระปรีชาสามารถทางด้านศิลปะ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รวมถึงจัดแสดงผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ และภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ขององค์ "อัครศิลปิน" ไว้เป็นจำนวนมาก และได้นำเสนอบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรูปแบบดนตรี 3 มิติ เป้นแห่งแรกของประเทศไทย
@ นิทรรศการประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ภายในห้องนิทรรศการมีการจัดแสดงรายชื่อของศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ พร้อมลายเซ็นของทุกคน และยังแสดงประวัติ ผลงานที่ทรงคุณค่าของศิลปินแห่งชาติ อาทิ ด้านประติมากรรม ด้านถ่ายภาพ ด้านจิตรกรรม ด้านหัตถศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรม เป็นต้น
@ นิทรรศการประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ การจัดแสดงในห้องนี้ ประกอบด้วย แผ่นป้ายพร้อมลายเซ็นของศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ รวมถึงประวัติ ผลงาน และเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรม และยังมีส่วนของห้องสมุดที่รวบรวมผลงานวรรณกรรมอันทรงคุณค่า เป็นคลังความรู้ให้ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาค้นคว้าได้
@ นิทรรศการประวัติและผลงานของศฺลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง จัดแสดงแผ่นป้ายรายชื่อพร้อมลายเซ็นของศิลปินแห่งชาติ จัดแสดงผลงานในด้านต่างๆ อาทิ เพลงไทยลูกทุ่ง เพลงไทยสากล ดนตรีไทย การแสดงพื้นบ้าน เช่น หนังตะลุง กลองสะบัดชัย การแสดงนาฏศิลป์ เช่น โขน หุ่นกระบอก หุ่นละครเล็ก ลิเก มโนราห์ และดุริยางคศิลป์ โดยมีการจำลองบรรยากาศของโรงละครและโรงฉายภาพยนต์ 3 มิติ สำหรับฉายภาพยนต์ประวัติผลงานของศิลปิน มีเวทีการแสดงประกอบแสงสีเสียง สำหรับใช้ถ่ายทอดภูมิปัญญา นอกจากนี้ยังมีห้องฉายภาพยนต์ขนาด 20 ที่นั่ง ห้องคาราโอเกะ อีกด้วย
ส่วนจัดแสดงที่สำคัญ
ห้องอัครศิลปิน: จัดแสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจด้านศิลปะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 รวมถึงผลงานด้านศิลปะของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ห้องศิลปินแห่งชาติ: จัดแสดงประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติในสาขาต่างๆ เช่น วรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ และศิลปะการแสดง
หออัครศิลปินเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวและผู้สนใจในศิลปวัฒนธรรมไทยไม่ควรพลาด ด้วยการจัดแสดงผลงานที่สะท้อนถึงพระอัจฉริยภาพและความสามารถของศิลปินไทยในสาขาต่างๆ ทำให้ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้และแรงบันดาลใจที่สำคัญของประเทศ
.
----------------------
ที่มาข้อมูล
-
ชมอัลปั้มภาพเพิ่มเติมที่
https://www.facebook.com/udomtanateera.k/media_set?set=a.2718277311540042&type=3
----------------------