iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

เที่ยวปทุมธานี คลองหลวง พิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์

 

 

โครงการ “พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2535 ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้ง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ขึ้น มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัด กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นหน่วยงานบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ดำเนินการพัฒนา “พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์” ซึ่งตั้งอยู่ ณ เทคโนธานี เลขที่ 39 หมู่ 3 ถนนเลียบคลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีจนแล้วเสร็จสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ว่า “อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มหาราชินี”

อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นด้วย รูปทรงลูกบาศก์ 3 ลูกเชื่อมติดกัน ภายในอาคารประกอบด้วย พื้นที่นิทรรศการ 6 ชั้น ในพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร มีการจัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พื้นฐานวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และวิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2543

การออกแบบและก่อสร้างอาคาร

อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มหาราชินี เป็นสถาปัตยกรรมที่มีรูปทรงทันสมัย เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นและสร้างภาพพจน์ใหม่ของพิพิธภัณฑ์ สะท้อนถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเป็นรูปธรรม นายเฉลิมชัย ห่อนาค รองผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในขณะนั้น เป็นหัวหน้าคณะออกแบบ ได้สร้างสรรค์ความแปลกใหม่ของรูปทรงอาคารเชิงเรขาคณิตมาใช้ในงานสถาปัตยกรรมและโครงสร้างทางวิศวกรรม โดยการนำมุมแหลมของรูปทรงลูกบาศก์มาเป็นฐาน ใช้ลูกบาศก์ 3 ลูก พิงกันอย่างมีเสถียรภาพ มีฐานรับน้ำหนักเพียง 3 จุดๆ ละ 4,200 ตัน โครงสร้างอาคารเป็นโครงเหล็กป้องกันสนิมโดยเคลือบด้วยสี Epoxy พื้นทั้ง 5 ชั้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ออกแบบให้รับน้ำหนักบรรทุกได้ 500 กิโลกรัมต่อตารางเมตร รับแรงลมที่มาปะทะอาคารได้ 120 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ส่วนผนังอาคารเป็นแผ่นเหล็กเคลือบผิวด้วยเซรามิก (Ceramic Steel) มีคุณสมบัติที่ดีด้านความคงทนถาวร โดยไม่ต้องทาสีตลอดอายุการใช้งาน เป็นฉนวนป้องกันความร้อนซึ่งช่วยประหยัดพลังงานในการควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารได้เป็นอย่างดีและอาคารสูงประมาณ 45 เมตร นิทรรศการในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แต่ละชั้นประกอบด้วย สาระดังนี้

ชั้นที่ 1 นักวิทยาศาสตร์รุ่นบุกเบิก กิจกรรมเสริมศึกษา โลกของหนูน้อยนักประดิษฐ์ (Enjoy Maker Space), Engineering Design, ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์แบบโดม, การแสดงทางวิทยาศาสตร์ และนิทรรศการหมุนเวียน

ชั้นที่ 2 ประวัติและความเป็นมาของทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

ชั้นที่ 3 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน อุโมงค์พลังงาน และ โรงภาพยนตร์พลังงาน 4 มิติ

ชั้นที่ 4 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย

ชั้นที่ 5 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน

ชั้นที่ 6 เทคโนโลยีภูมิปัญญาไทย

อาคารพิพิธภัณฑ์ใกล้เคียงในบริเวณ

เที่ยวปทุมธานี คลองหลวง พิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์

เที่ยวปทุมธานี คลองหลวง พิพิธภัณฑ์ พระรามเก้า

เที่ยวปทุมธานี คลองหลวง พิพิธภัณฑ์ ธรรมชาติวิทยา

เที่ยวปทุมธานี คลองหลวง พิพิธภัณฑ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ

-

.

----------------------

ที่มาข้อมูล

รวบรวมรูปภาพ

www.iok2u.com

-----------------------

เที่ยวปทุมธานี (Travel Pathumthani)

เที่ยวไทย (Travel Thailand)

-----------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward