อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks)
ประเภทของอุทยานธรณี (Geoparks) แนวทางการจัดตั้งอุทยานธรณีโลกสตูล การพัฒนาของอุทยานธรณีโลกสตูล
1. อุทยานธรณีระดับท้องถิ่น (Local Geopark) หมายถึง อุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยา ตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติอุทยานธรณีระดับท้องถิ่น โดยในประเทศไทยมี 4 แห่ง ได้แก่
- Geoparks Thailand อุทยานธรณี เพชรบูรณ์ (Phetchabun Geopark)
- Geoparks Thailand อุทยานธรณี ตาก (Tak Geopark)
- Geoparks Thailand อุทยานธรณี ชัยภูมิ (Chaiyapum Geopark)
- Geoparks Thailand อุทยานธรณี ลำปาง (Lamphang Geopark)
-
2. อุทยานธรณีระดับจังหวัด (Provincial Geoparks) หมายถึง อุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยา ตามที่กำหนดไว้คุณสมบัติอุทยานธรณีระดับจังหวัดและมีแผนบริการจัดการอุทยานธรณี
3. อุทยานธรณีระดับประเทศ (National Geoparks) หมายถึง อุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยา ตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติอุทยานธรณีระดับประเทศและมีการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการแล้ว โดยในประเทศไทยมี 2 แห่ง ได้แก่
- Geoparks Thailand อุทยานธรณี โคราช (Korat Geoparks)
- Geoparks Thailand อุทยานธรณี ผาชันสามพันโบก (PhachanSamphanbot Geoparks)
-
4. อุทยานธรณีระดับโลก (Global Geopark) หมายถึง อุทยานธรณีที่มีคุณสมบัติด้านธรณีวิทยา ตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติของอุทยานธรณีระดับโลก โดยในประเทศไทยมี 1 แห่ง ได้แก่
- Geoparks Thailand SATUN UNESCO GLOBAL GEOPARKS
.
-------------------------------------------------
ที่มา
- https://www.geopark-thailand.org
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุทยานธรณีโลกยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks)
-------------------------------------------------