iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ

พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก (Hauy Tak Teak) จังหวัดลำปาง

 

 

พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก (Hauy Tak Teak) จังหวัดลำปาง ขึ้นทะเบียนเมื่อ พ.ศ. 2520

พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก (Hauy Tak Teak) ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2520 ตั้งอยู่ที่ ป่าสงวนแห่งชาติแม่งาว อำเภองาว จังหวัดลำปาง เป็นป่าไม้สักธรรมชาติที่เป็นแหล่งพันธุกรรมที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกจากนั้น ยังมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและคุณค่าในฐานะ แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ อย่างแหล่งภาพเขียนสีประตูผา และแหล่งภาพเขียนโบรณาบ้านห้วยหก พื้นที่แกนกลางของเขตสงวนชีวมณฑลประกอบด้วย ต้นสัก (Tectona grandis) สลับกับต้นไม้ในป่าเบญจพรรณ เป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท ที่กำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์พืชและสัตว์พื้นเมือง

พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก (Hauy Tak Teak) อยู่ในพื้นที่ 3 ตำบล คือ ต.บ้านหวด ต.บ้านอ้อน ต.บ้านโป่ง อ.งาว จ.ลำปาง ภายใต้ชื่อพื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าไม้สักห้วยทาก เริ่มต้นจากป่าสาธิตงาว และขยายไปยังพื้นที่ใกล้เคียงครอบคลุมพื้นที่ 184,000 ไร่ เพื่อตอบสนองบทบาทของความเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ ในฐานะพื้นที่สาธิตทั้งด้านการสร้างการอนุรักษ์ ส่งเสริมการพัฒนา และสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่พื้นอื่นๆในระดับนานาชาติ ด้วยความโดดเด่นของพื้นที่ที่เป็นแหล่งไม้สักที่มีพันธุกรรมที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ส่วนกลไกการกำกับดูแลและให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของพื้นที่สงวนชีวมณฑล ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการโครงการมนุษย์และชีวมณฑล ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก จ.ลำปาง โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธาน และมีผู้จัดการพื้นที่สงวนชีวมณฑล แต่งตั้งจากบุคลากรของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

การดำเนินงานที่ผ่านมาของ พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก เน้นที่การสร้างการรับรู้เกี่ยวกับความสำคัญของพื้นที่สงวนชีวมณฑลในจังหวัดลำปาง โดยเฉพาะ การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของท้องถิ่นและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้แก่เยาวชนในพื้นที่ เช่นกิจกรรมค่าย การเป็นวิทยากรให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ การส่งเสริมความรู้เพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในท้องที่ เช่น ความพยายามในการสร้างเครือข่ายของกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากไผ่ การรับฟังความคิดเห็นของท้องถิ่นถึงทิศทางการพัฒนาที่สร้างความยั่งยืน

ลักษณะทางนิเวศวิทยา

พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก (Hauy Tak Teak) เป็นตัวแทนของป่าเบญจพรรณอันเก่าแก่ที่โดดเด่นด้วยต้นสัก (Tectona grandis) ที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ในประเทศไทย ปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นธนาคารยีนของไม้สักแห่งประเทศไทย ลิกไนต์ที่ทับถมอยู่ใต้พื้นดินบ่งบอกว่าพืชและสัตว์เคยถูกครอบงำ ยิ่งไปกว่านั้น ภาพเขียนสีในถ้ำที่มีอายุตั้งแต่ 2,500-3,000 ปีที่แล้ว ยังบ่งบอกถึงความสำคัญของสังคมมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์ที่มีอารยธรรม ภูมิประเทศขรุขระที่ล้อมรอบด้วยป่าหนาทึบเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าของการสกัดไม้ที่ได้รับใบอนุญาตในอดีต พื้นที่แกนกลางส่วนใหญ่ยังคงไม่ถูกรบกวน ป่าธรรมชาติมีอยู่ 6 ประเภท ได้แก่ ป่าสนเขา ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง

ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม

ประมาณ 59,500 คนอาศัยอยู่ในเขตสงวนชีวมณฑล (1999) กลุ่มชาติพันธุ์ไทยตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มในขณะที่ชาวเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ภูเขา ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำนา ข้าวโพด ยาสูบ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง หรือทำสวนผลไม้และเลี้ยงสัตว์ ผลกระทบหลักของมนุษย์ต่อระบบนิเวศมาจากการลักลอบตัดไม้ การขยายตัวของเมือง เกษตรกรรม และการทำไร่เลื่อนลอย ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศประมาณ 32,000 คนในแต่ละปี (พ.ศ. 2542) การท่องเที่ยวยังมีบทบาททางเศรษฐกิจที่สำคัญในเขตสงวนชีวมณฑลอีกด้วย

ประวัติ

บริเวณที่ตั้งของพื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก มีหลักฐานของการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ย้อนไปได้ถึงประมาณสามพันปี จากหลักฐานภาพเขียนสีที่พบในพื้นที่หลายแห่ง อย่างเช่น ภาพเขียนสีประตูผา สภาพป่าไม้เมืองงาวเมื่อครั้งอดีตเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประชากรในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทั้งชาวล้านนา ม้ง เมี่ยน อาข่า ลาหู่ ลีซู ขมุ มีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายไม่ฟุ้งเฟ้อ การทำมาหากินในสมัยก่อนนั้นได้อาศัยทรัพยากรจากป่าไม้เพื่อการยังชีพเป็นหลัก โดยมีบทบาททั้งการเป็นผู้ใช้ประโยชน์และผู้รักษาทรัพยากรป่าไม้เรื่อยมา

จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ทำให้ทราบว่า ในสมัยอดีตเมื่อยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ถนนพหลโยธินซึ่งเป็นถนนสายหลักของประเทศ ที่ทอดแนวยาวผ่านพื้นที่แห่งนี้ยังเป็นถนนแคบๆ คดโค้งไปตามขอบเขา ในแต่ละวันจะมีรถยนต์วิ่งผ่านเพียงไม่กี่คัน ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานสองล้อ (รถถีบ) เป็นยานพาหนะ และใช้เกวียนเทียมวัวหรือความเป็นยานพาหนะขนส่ง วิถีชีวิตของชาวบ้านมีการดำรงชีพอย่างเรียบง่าย แบบพอเพียง จัดหาเท่าที่พออยู่พอกิน สภาพภูมิอากาศมีฝนตกต้องตามฤดูกาลในลำห้วยสายสำคัญๆทุกสายจะมีน้ำไหลสม่ำเสมอทั้งปีมีสัตว์น้ำชุกชุม ในป่ามีต้นไม้ใหญ่น้อยหนาแน่น และต่างก็ได้ทำหน้าที่ดีที่สุดในระบบนิเวศของตนเอง ส่งผลให้สภาพแวดล้อมของพื้นที่อยู่ในสภาวะที่ดีตลอดมา ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ เช่นสัตว์ป่าก็มีมากมาย ผู้เฒ่าบางท่านยังจำได้ดีว่าในครั้งนั้นขณะนอนหลับอยู่ที่บ้านยังได้ยินเสียงของสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือโคร่ง เก้ง มาปลุกให้ตื่นยามดึกถึงหน้าบ้าน

เมื่อปี พ.ศ. 2507 กระทรวงเกษตร ได้จัดให้พื้นที่ป่าแม่งาวเป็นป่าสาธิต เพื่อสาธิตการจัดการป่าเพื่อเศรษฐกิจตามหลักวิชาการ โดยดำเนินการตามแผนการจัดการป่าแม่งาว พ.ศ. 2504-14 ที่เสนอโดย Sir Harry G. Champion ผู้เชี่ยวชาญของ FAO ต่อมากรมป่าไมมีนโยบายปรับปรุงให้เป็นป่าสาธิตสาหร สำหรับการศึกษา ทดลอง และวิจัยด้านการจัดการป่าไม้แบบประณีต โดยความร่วมมือระหว่างกรมป่าไม้ องคการอุตสาหกรรมป่าไม้ และคณะวนศาสตร์ ทำให้บริเวณป่าแม่งาวเป็นที่ตั้งของหน่วยงานวิชาการป่าไม้หลายหน่วยงาน ครอบคลุมทั้งด้านการป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า วนวัฒนวิจัย กีฎวิทยา รุกขวิทยา การจัดการลุ่มน้ำ และการจัดการพื้นที่อนุรักษ์

คุณค่าของการเป็นแหล่งศึกษาวิจัยที่สำคัญได้นำไปสู่การประกาศเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลเมื่อ พ.ศ. 2520 เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลลำดับที่ 3 ของประเทศไทย พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก ในปัจจุบันมีความสำคัญในด้านการอนุรักษ์ทางชีวภาพ และให้ความรู้ทางด้านวิชาการหลายแขนง กล่าวคือ เป็นแหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ สมควรคงไว้ซึงระบบนิเวศที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ตลอดจนการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ตลอดจน เป็นการศึกษารูปแบบการใช้ที่ดินตามจารีต ประเพณีของท้องถิ่น นอกจากนี้ พื้นที่แห่งนี้ยังเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำยม เป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ไม้หลายชนิด โดยเฉพาะเมล็ดไม้สัก เป็นป่าสาธิตที่มีประวัติคู่กับการพัฒนาวิชาการจัดการป่าไม้ในปประเทศไทยตั้งแต่ยุคการทำไม้สู่ยุคของการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

 

 

 

ที่มาข้อมูล

https://www.facebook.com/huaytakteakbiosphere

https://th.wikipedia.org/wiki/

World Network of Biosphere Reserves (unesco.org)

ข้อมูลและรูปภาพ www.iok2u.com

-----------------------------------------

เครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลโลก (WNBR) รวมข้อมูล

-----------------------------------------

 

 

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward