iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้

ยืนหยัด เข้มแข็ง และกล้าหาญ (Stay Strong & Be Brave)
ขอเป็นกำลังใจให้คนดีทุกคนในการต่อสู้ความอยุติธรรม ในยุคสังคมที่คดโกงยึดถึงประโยชน์ส่วนตนและพวกฟ้องมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม จนหลายคนคิดว่าพวกด้านได้อายอดมักได้ดี แต่หากยึดคำในหลวงสอนไว้ในเรื่องการทำความดีเราจะมีความสุขครับ
มิสเตอร์เรน (Mr. Rain) และมิสเตอร์เชน (Mr. Chain)
Mr. Rain และ Mr. Chain สองพี่น้องในโลกออฟไลน์และออนไลน์ที่จะมาร่วมมือกันสร้างสื่อสารสนเทศ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องราวต่างๆ มากมายสร้างสังคมในการเรียนรู้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา
Pay It Forward เป้าหมายเล็ก ๆ ในการส่งมอบความดีต่อ ๆ ไป
เว็ปไซต์นี้เกิดจากแรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward ที่เล่าถึงการมีเป้าหมายเล็ก ๆ กำหนดไว้ให้ส่งมอบความดีต่อไปอีก 3 คน หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลยโดยไม่ต้องตอบแทนกลับมา อยากให้ส่งต่อเพื่อถ่ายทอดต่อไป

พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง (Ranong) จังหวัดระนอง

พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง (Ranong) จังหวัดระนอง ขึ้นทะเบียนเมื่อ พ.ศ. 2540

พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง (Ranong) อยู่ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดระนอง ระยะทางจากกรุงเทพมหานครประมาณ 650 กิโลเมตร มีอาณาเขตครอบคลุม ตำบลหงาวทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลปากน้ำ ตำบลราชกรูด และตำบลบางริ้น รวมพื้นที่ทั้งหมด 189,431 ไร่ หรือ 303.09 ตารางกิโลเมตร ทางทิศตะวันออกจรดแนวสันปันน้ำของเทือกเขาจอมแหลม เขาน้ำตก เขานมสาว ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติในบริเวณพื้นที่ลาดชัน ส่วนพื้นที่ตั้งแต่บริเวณพื้นลาดเชิงเขาถึงที่ราบเป็นพื้นที่ถือครองของเกษตรกรที่ใช้ทำการเกษตร เป็นที่ตั้งชุมชน บางแห่งเป็นพื้นที่ที่เคยทำเหมืองแร่ดีบุกมาก่อน ทางด้านตะวันออกจากเหนือจรดใต้จะเป็นพื้นที่น้ำทะเลท่วมถึงเป็นพื้นที่ป่าชายเลนที่สมบูรณ์ ดินที่พบเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินหลัก 2 ชนิด คือตะกอนจากทะเล และจากการสลายตัวของหินต้นกำเนิดประกอบด้วยหินแกรนิต หินไน้ส์ หินดินดานและหินฟิลไล้ท์ หินเหล่านี้เมื่อสลายตัวจะให้กำเนิดดินที่มีความอุดมสมบูร์ค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง โดยพวกหินดินดานและหินฟิลไล้ท์จะให้กำเนิดดินตื้นเป็นส่วนใหญ่ การใช้ประโยชน์ที่ดินประกอบด้วยป่าบก ป่าชายเลน พื้นที่ปลูกไม้ผลและพืชไร่ ในบริเวณพื้นที่น้ำรอบป่าชายเลนเป็นแหล่งประมงที่สำคัญของชุมชนท้องถิ่นที่มีรายได้หลักจากการประมงชายฝั่งด้วย การกำหนดเขตแหล่งสงวนชีวมลฑลระนองได้พิจารณาจากลักษณะทางกายภาพที่ดินตลอดจนพืชพรรณ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ทางน้ำธรรมชาติ ร่องน้ำลึกที่ใช้ในการเดินเรือ และแนวเขตแดน

พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง (Ranong) แบ่งพื้นที่โดยอาศัยภูมิประเทศและความอุดมสมบูรณ์ของป่า รวมทั้งกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย พื้นที่เขตแกนกลาง มีเนื้อที่ 28,588 ไร่ เป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์และไม่ถูกรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์ล้อมรอบด้วยลำคลองและทะเล จึงเหมาะเป็นแหล่งสงวนและอนุบาลสัตว์น้ำ และป้องกันการพังทลายของชายฝั่ง อันเนื่องมาจากความรุนแรงของคลื่นลม พื้นที่ต่อมาคือพื้นที่กันชน มีเนื้อที่ 121,250 ไร่ อยู่นอกเขตแกนกลางเป็นพื้นที่ที่สามารถจัดการให้มีการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในรูปแบบต่างๆ อย่างยั่งยืน และพื้นที่สุดท้ายคือพื้นที่รอบนอก มีเนื้อที่ 39,594 ไร่ เป็นพื้นที่ที่มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมกัน เช่น การเกษตร แหล่งชุมชน และอุตสาหกรรม ซึ่งการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่รอบนอกจะต้องส่งผลกระทบให้น้อยที่สุดต่อพื้นที่เขตแกนกลางของพื้นที่สงวนชีวมณฑล

พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง (Ranong) ได้กำหนดเป็น

- พื้นที่แกนกลาง (Core area) มีพื้นที่ 40,762 ไร่ มีสภาพเป็นป่าขายเลน ที่อุดมสมบูรณ์ 28,588 ไร่ ล้อมรอบด้วยคลองและทะเล เหมาะเป็นแหล่งสงวน และอนุบาลสัตว์นํ้า และมีส่วนที่เป็นป่าดิบขื้น 12,174 ไร่

- พื้นที่รอบนอก (Transition area) มีพื้นที่ 40,631 ไร่ มีสภาพเป็น แหล่งขุมขน ถนน สวนยาง สวนปาล์ม สวนมะพร้าว เหมืองแร่ร้าง และอุตสาหกรรม

- พื้นที่กันชน (Buffer zone) มีพื้นที่ 108,038 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นป่าขายเลน มีบางส่วนเป็นขุมขน นากุ้ง พื้นที่เกษตรกรรม และป่าบก

 

สภาพทั่วไปของพื้นที่ ที่ตั้งและสภาพภูมิประเทศ

พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ในเขตท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดระนอง อาณาเขตทิศเหนือติดกับคลองระนองและปากน้ำระนอง ทิศใต้ติดกับคลองทรายขาว อำเภอเมืองและทะเลอันดามัน ทิศตะวันออกติดกับอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว และทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามัน บริเวณเส้นละติจูดที่ 9 ° 43¢ เหนือ ถึงเส้นละติจูดที่ 9 ° 57¢ เหนือ และเส้นลองจิจูดที่ 98 ° 29¢ ตะวันออก ถึงเส้นลองจิจูดที่ 98 ° 39¢ ตะวันออก พื้นที่ชายฝั่งทะเลของจังหวัดระนองเกิดจากการจมตัวของชายฝั่งอันเนื่องมาจากการเกิดรอยเลื่อนในคาบสมุทรทำให้เกิดพื้นที่ดินเลนกว้างและได้รับอิทธิพลจากการท่วมถึงของน้ำทะเลเป็นประจำ นอกจากนี้ในบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง ยังมีลำคลองต่างๆ หลายสายที่ไหลลงสู่ทะเล ที่สำคัญได้แก่ คลองหงาว คลองละออง คลองบางริ้น และคลองทรายขาว จึงทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีป่าชายเลนกระจายเป็นบริเวณกว้าง นับว่าเป็นพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่และมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ

สภาพภูมิอากาศ

จังหวัดระนองตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ จากข้อมูลสภาพภูมิอากาศจากสถานีอุตุนิยมวิทยา จังหวัดระนอง ในคาบ 10 ปี (พ.ศ. 2546-พ.ศ. 2555) พบว่า ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีมีค่าเท่ากับ 4,078.26 มิลลิเมตร เดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกเฉลี่ยสูงสุดถึง 669.46 มิลลิเมตร และเดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่มีฝนตกเฉลี่ยต่ำสุดเพียง 21.83 มิลลิเมตร ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยในรอบ 10 ปี มีค่า 27.42 องศาเซลเซียส เดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอุณหภูมิสูงสุดคือ 36.16 องศาเซลเซียส สำหรับความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยในรอบ 10 ปี มีค่าร้อยละ 78.72 เดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงสุดคือร้อยละ 96.90 และเดือนกุมภาพันธุ์เป็นเดือนที่มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยต่ำสุดคือ ร้อยละ 38.1

ลักษณะดิน

ดินป่าชายเลนบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง เกิดจากการทับถมของตะกอนทั้งที่มาจากบนบก และทะเล แล้วมีการพัฒนาตัวของดินตามช่วงเวลาต่างๆ กัน เมื่อดินมีการพัฒนาตัวมากขึ้นก็จะมีพันธุ์พืชป่าชายเลนขึ้นปกคลุม โดยทั่วไปดินป่าชายเลนจัดเป็นดินที่เกิดใหม่ ดินมีการพัฒนาชั้นดินน้อยเนื่องจากมีน้ำทะเล แช่ขังอยู่ตลอดเวลา มีอัตราการสะสมวัตถุต่างๆ มากกว่าการสูญเสีย ตลอดจนมีการเคลื่อนย้ายหรือการเปลี่ยนแปลงของวัตถุ หรือสารประกอบต่างๆ ในดินน้อย ดังนั้นจึงมีชั้นดินหลักเพียง 2 ชั้น คือ ดินชั้นบนหรือชั้นเอ และดินชั้นล่างหรือดินชั้นซี โดยดินชั้นบนหรือดินชั้นเอส่วนใหญ่จะมีความลึกไม่เกิน 30 เซนติเมตร จากผิวดิน มีสีน้ำตาลปนเทาหรือน้ำตาลและพบจุดประคล้ายสีสนิมเหล็กกระจายอยู่ทั่วไป ส่วนดินชั้นล่างดินชั้นซีหรือมีสีเทาปนน้ำเงินเนื่องจากมีน้ำทะเลท่วมขังอยู่เกือบตลอดเวลาดินเป็นเลนมาก และดินมีความสามารถในการรองรับน้ำหนักได้น้อย นอกจากนี้ดินป่าชายเลนบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง มีศักยภาพเป็นดินกรดจัดเนื่องจากมีสารประกอบกำมะถันอยู่ในระดับสูงมาก ดินมีเกลือสะสมอยู่มากซึ่งได้รับจากน้ำทะเลนั่นเอง ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงจัดเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง อย่างไรก็ ตามดินป่าชายเลนนี้ไม่เหมาะในการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาสภาพดินป่าชายเลนเอาไว้ให้เป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ตลอดไป

ลักษณะการขึ้นลงของน้ำทะเล

ชายฝั่งทะเลบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนองได้รับอิทธิพลจากการท่วมถึงของน้ำทะเลเป็นประจำ โดยมีการขึ้นลงของน้ำวันละ 2 ครั้ง หรือเรียกน้ำขึ้นน้ำลงเป็นแบบน้ำคู่ (semidiurnal tide) มีความแตกต่างของน้ำขึ้นน้ำลงเฉลี่ยเท่ากับ 1.3 เมตร ในช่วงน้ำตาย (ประมาณ 7-11 ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม) และ 3.5 เมตร ในช่วงน้ำเกิด (ประมาณ 12-6 ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม) โดยในขณะน้ำใหญ่หรือน้ำเกิด จะมีน้ำในลำคลองมากกว่าปกติ น้ำจะไหลเชี่ยวมากการขึ้นลงของน้ำทะเลค่อนข้างเร็ว โดยในช่วงน้ำใหญ่นี้น้ำทะเลจะท่วมถึงป่าชายเลนสูงประมาณ 1 เมตร และเมื่อน้ำลงน้ำในลำคลองแห้งบางบริเวณ เช่น บริเวณปลายคลองอาจแห้งสนิท ส่วนในช่วงน้ำตาย น้ำในลำคลองจะมีปริมาณไม่มากนักน้ำจะไม่ไหลเชี่ยว เหมือนช่วงน้ำใหญ่หรือน้ำเกิดและที่สำคัญพื้นที่ส่วนใหญ่ในป่าชายเลนน้ำทะเลจะท่วมไม่ถึงจึงเป็นช่วงเวลาลา ที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานด้านป่าชายเลน

สังคมพืชในป่าชายเลน

ป่าชายเลนในบริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดที่พบมากที่สุดอยู่ในวงศ์ Rhizophoraceae จากการสำรวจชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลนในพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง พบว่าประกอบด้วยพันธุ์ไม้ ป่าชายเลน 26 วงศ์ 38 สกุล และ 52 ชนิด

สัตว์ในป่าชายเลน

ชนิดพันธุ์สัตว์ที่พบในพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง พบว่ามีปลาอยู่ 98 ชนิด แพลงค์ตอนพืช 124ชนิด สัตว์พวกคลัสตาเซี่ยน 28 ชนิด สัตว์หน้าดิน 77 ชนิด แมลง 30 ชนิด แบคทีเรีย 20 ชนิด และ รา (ฟังไจ)จำนวน 59 ชนิด

ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม

พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่หลายชุมชนทั้งในเขตแกนกลาง เขตกันชน และเขตรอบนอก ในเขตแกนกลางและเขตกันชนมีประชากรอาศัยอยู่ไม่มากนักแต่จะหนาแน่นในพื้นที่เขตรอบนอก สำหรับชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตแกนกลางและเขตกันชนนั้นเป็นชุมชนที่อยู่ในป่าชายเลนและชุมชนเหล่านี้ตั้งอยู่ก่อนที่ทางองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโกประกาศให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล เมื่อปี พ.ศ. 2540 ซึ่งชุมชนที่อยู่ในเขตแกนกลาง ประกอบด้วย 3ชุมชนได้แก่ บ้านหาดทรายขาว ประชากร 20 คน บ้านเกาะจาก ประชากร 100 คน และบ้านเกาะกำประชากร 23 คน โดยมีประชากรในเขตแกนกลางรวมกันประมาณ 143 คน ส่วนในพื้นที่เขตกันชนประกอบด้วย 3 ชุมชนได้แก่ บ้านหาดทรายดำ ประชากร 532 คน บ้านเกาะเหลา ประชากร 507 คน และบ้านเกาะเหลานอก (บ้านชาวเล) ประชากร 278 คน โดยมีประชากรในเขตกันชนรวมกันประมาณ 1,317 คน(ข้อมูลจากการสำรวจปี พ.ศ.2556) ซึ่งประชากรที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนเหล่านี้ได้อาศัยป่าชายเลนเป็นแหล่งทำมาหากินโดยส่วนใหญ่ยึดอาชีพประมงเป็นหลักได้แก่ การจับสัตว์น้ำต่างๆ ได้แก่ ปลา หอย ปูดำและปูแสม รวมทั้งจับกุ้งสำหรับทำกะปิ โดยเฉพาะบ้านเกาะเหลาซึ่งจะยึดอาชีพทำกะปิเป็นหลัก นอกจากนี้ยังทำฟาร์มปูนิ่มและเลี้ยงปลาในกระชังอีกด้วย ส่วนในพื้นที่รอบนอกนั้นประกอบด้วย 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางริ้น มีประชากร 4,504 คน ตำบลหงาว มีประชากร 7,973 คน และตำบลราชกรูด มีประชากร 2,726 คน ซึ่งตำบลเหล่านี้ตั้งอยู่นอกเขตพื้นที่ป่าชายเลน มีประชากรรวมกัน ประมาณ 15,203 คน โดยประชากรส่วนใหญ่ยึดอาชีพเลี้ยงกุ้ง ทำเกษตรกรรม ได้แก่ สวนยางพารา และปา ล์มน้ำมัน ตลอดจนรับจ้างและอื่นๆ

เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง

e-book พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง

-

-

--

 

ที่มา

ข้อมูล World Network of Biosphere Reserves (unesco.org)

ข้อมูลและรูปภาพ www.iok2u.com

-----------------------------------------

เครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลโลก (WNBR) รวมข้อมูล

-----------------------------------------

ขอต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
www.iok2u.com
แหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อคุณ

เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward