Smart City เมืองอัจฉริยะ
ปัจจุบันกระแสการพัฒนาเมืองภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ (Smart City) ได้รับความนิยมจากนานาประเทศทั่วโลก จากรายงานของ Smart City Tracker 1Q18 ซึ่งจัดทำโดยสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับโลก Navigant Research ได้ทำการสำรวจจำนวนโครงการที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City พบว่าปัจจุบันมีโครงการเมืองอัฉริยะมากถึง 355 โครงการใน 221 เมืองทั่วโลก
นิยามขอบเขตและองค์ประกอบของเมืองอัจฉริยะ
คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ได้กำหนดนิยามของเมืองอัจฉริยะว่า "เป็นเมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่าย และการใช้ทรัพยากร โดยการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิด การพัฒนาเมืองน่าอยู่ ทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ มีมิติการพัฒนาได้หลายด้าน มิติที่สำคัญ คือ
1) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
2) การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)
3) การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living)
4) พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People)
5) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
6) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)
7) การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
เมืองอัจฉริยะ คือ เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม
- smart city เมืองอัจฉริยะ คืออะไร
- smart city องค์ประกอบพื้นฐาน เมืองอัจฉริยะ (Smart City) 7 ด้าน
- smart city การแบ่งกลุ่มเมืองอัจฉริยะเพื่อการพัฒนา
- smart city แผนปฏิบัติการเมืองอัจฉริยะและขั้นตอนการนำไปใช้ (Action plan & Implement)
----
- การวางแผนและการจัดการเมืองอัจฉริยะด้วย Google Earth Engine
-
-
-
-----
.
ที่มาข้อมูล
-
ที่มาภาพและรวบรวมโดย
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ระบบการดำเนินงานอัจฉริยะ (Smart Operation)---------------------------------------------