-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
Lean และ Agile ในกลยุทธ์ซัพพลายเชน (Lean and Agile in supply chain strategy)
Lean และ Agile ในกลยุทธ์ซัพพลายเชน (Lean and Agile in supply chain strategy) เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากห่วงโซ่อุปทาน ในกรณีที่มีการผลิตตามความต้องการที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงแปรผันมากนัก ฝ่ายวางแผนสามารถพยากรณ์คาดการณ์ตลาดได้ บริษัทควรใช้กลยุทธ์แบบ Lean และระบบ Kanban เพื่อทำให้ได้สินค้าหรือบริการที่ได้เป็นไปตามแผนที่วางและคาดการณ์ไว้ แต่ในกรณีที่ความต้องการในตลาดนั้มีความแปรผันสูงมากบางครั้งไม่อาจคาดการณ์ได้ ผู้ผลิตควรใช้กลยุทธ์แบบ Agile ที่เน้นความคล่องตัว และทำให้ได้สินค้าส่งลูกค้าได้ตามสั่งและตรงความต้องการ
1. การเลื่อนและการออกแบบช่องทาง (Postponement and Funnel Design) คือ จุดการชลอการผลิตเพื่อรอ และการจัดแยกย่อยกลุ่มของลูกค้า จะใช้สำหรับรายการที่มีระยะเวลาในการผลิตที่ยาวนานกว่าที่ลูกค้าต้องการจะรอ รายการจะจัดหาโดยใช้กลยุทธ์แบบ Lean เพื่อรักษามาตรฐานในการผลิตไว้ให้มากที่สุดในงานโซ่อุปทาน จะมุ่งมั่นเฉพาะกับการกำหนดค่าเฉพาะเมื่อทราบข้อกำหนดของลูกค้าที่แน่นอน โดยจะผลิตในส่วนความต้องการพื้นฐานรอไว้ (Production, P) เนื่องจากมีปริมาณที่แน่นอนและระยะเวลาในการผลิตช่วงนี้ที่ยาวมาก เมื่อมีคำสั่งซื้อหรือมีความต้องการเพิ่ม (Demand, D) ก็จะเริ่มดำเนินการต่อ ซึ่งการดำเนินการแบบนี้ได้เนื่องจากช่วงที่ใช้ในการตอบสนองความต้องการลูกค้ามีระยะเวลาที่สั้น
2. การแยกความต้องการพื้นฐานและความต้องการเพิ่ม (Base and Surge Demand Separation) คือ การพยายามแยกความต้องการพื้นฐานและความต้องการที่ไม่แน่ชัด โดยอาจได้จากการศึกษาประวัติการขายที่มีการเก็บมา สังเกตบางองค์ประกอบของความต้องการที่คาดการณ์ได้ชัดเจน เรียกว่าความต้องการพื้นฐาน ดำเนินการจัดเตรียมในส่วนนี้ไว้ได้ และเรียกส่วนที่มีมาเกินที่คาดเดาไว้ ไม่ได้เตรียมการเรียกว่า ความต้องการเพิ่มขึ้น ควรศึกษาเพื่อหาจุดปลอดภัยที่จะใช้ในการผลิตที่จะช่วยตอบสนองความต้องการลูกค้าที่ดีที่สุด ส่วนในจุดที่เพิ่มควรใช้รูปแบบ agility มาช่วยในการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องความต้องการที่มีเพิ่มเกินปริมาณที่จัดเตรียมไว้ เพื่อให้มีการผลิตสินค้าคงคลังให้เหลือน้อยที่สุด
3. การวิเคราะห์แบบ Pareto จากกฎของ Pareto ที่ใช้หลัก 20/80 ที่พยายามชี้ให้เห็นว่า 20% ของสินค้าของบริษัท นั้นจะมีความสำคัญและมีส่วนช่วยทำรายได้จากการขายได้ถึง 80% ของรายได้ทั้งหมดในองค์กร เราจึงควรหาสินค้าเหล่านี้ให้พบเนื่องจากเป็นสินค้าปริมาณสูงทำให้ง่ายต่อการคาดการณ์ความต้องการสินค้า 20% จากนั้นใช้วิธีการแบบ Lean มาใช้ผลิตตามที่คาดการณ์ไว้ได้ แต่ในอีก 80% ที่ทำรายได้น้อยแต่กลับมีความต้องการมีความผันผวนมากนั้น ควรใช้การผลิตแบบ Agile ที่จะมีความว่องไวในการผลิตและปรับเปลี่ยนในการสั่งทำสินค้า
------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
Logistics Scorecard มีประโยชน์อย่างไร
เกณฑ์ประเมินศักยภาพการจัดก
Logistics Scorecard ประกอบไปด้วยขอบเขตแนวการปร
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
Backhauling กุญแจความสำเร็จ ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า
ที่มาจาก: Logistics Forum ปีที่ 5 ฉบับที่ 17 เดือนกรกฏาคม 2556
ตามที่การขนส่งสินค้าทางถนน
หัวใจของการจัดการรถขนส่งเท
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการ
โครงการนี้ มีความน่าสนใจเป็นพิเศษเนื่
จึงขอเชิญชวนผู้ให้บริการรถ
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
การขนส่งแบบมิลค์รัน (milk run)
การขนส่งแบบมิลค์รัน (milk run) มีแนวคิดมาจากการส่งนมสดจากฟาร์มไปตามบ้าน โดยจะจัดส่งไปตามบ้านที่หน้าบ้านมีขวดนมเปล่ามาวางรอไว้ ทางฟาร์มจะเก็บขวดเปล่าแล้วน้ำนมขวดใหม่วางแทนเท่าจำนวนเดิม ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ กับบ้านทุกหลังในทุก ๆ เช้า ต่อมาเมื่อโลกเราก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมก็ได้มีการประยุกต์วิธีการดังกล่าวมาใช้สำหรับขนส่งวัตถุดิบ เพื่อสนับสนุนการผลิตในทันเวลาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บสต็อคหรือไม่ทำให้สายการผลิตวางงาน โดยการผลิตแบบทันเวลาในที่นี้เรารู้จักกันดีในชื่อ Just in Time ที่อุตสาหกรรมชั้นนำยึดเป็นหลักปฏิบัติมาอย่างยาวนาน
รูประบบการขนส่งแบบปกติที่ Supplier แต่ละรายส่งสินค้ามายังผู้ผลิตโดยตรง
มิลค์รัน (milk run) เป็นรูปแบบการจัดการการขนส่งที่ทำการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน เพื่อนำไปใช้ทำการผลิต เพื่อลดปริมาณสินค้าคงคลังโดยการรับของจาก Supplier ทุกรายในเส้นทางที่กำหนดไว้แล้ว จากนั้นเดินทางกลับมายังโรงงานผลิต โดยลักษณะการขนส่งจะเป็นวงรอบและต้องตรงเวลาพอดี ดังนั้นการวางแผนเส้นทาง ศักยภาพของรถบรรทุกและคนขับ ย่อมเป็นสิ่งสำคัญมาก อีกทั้งการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมและสามารถวางได้พอดีกับพื้นที่รถบรรทุกก็จะช่วยให้สามารถสร้างความคุ้มค่าให้ผู้ประกอบการได้ยิ่งขึ้น
ขั้นตอนการทำงาน ช่วงแรกเป็นการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลของ Supplier ทั้งในเรื่องข้อมูลการผลิต ข้อมูลการจัดส่ง ข้อมูลเส้นทาง เพื่อสนับสนุนการผลิตสู่บริษัทผู้ผลิตแล้วทำการกำหนด ตารางเวลาการเดินรถ ว่าออกจากบริษัทผู้ผลิตแล้ว จะต้องไปรับชิ้นส่วนที่ Supplier ที่ไหน เวลาใด ซึ่งการกำหนดตารางเวลาการเดินรถจะมีการใช้ระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงระหว่างบริษัทผู้ผลิตและ Supplier เข้าด้วยกัน ทำให้ Supplier สามารถที่จะรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าจากผู้ผลิตได้ ส่วนระยะเวลาในการส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อล่วงหน้านั้นจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการผลิตของ Supplier แต่ละราย ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำระบบขนส่งแบบมิลค์รันไปใช้ มีดังนี้
1. ลดต้นทุนรวมของการขนส่ง กล่าวคือ การที่ Supplier แต่ละรายจัดส่งวัตถุดิบมาให้โรงงานทำให้ Supplier แต่ละรายต้องจัดหารถขนส่ง และการนำส่งอาจจะมาโดยไม่ตรงต่อเวลา ทำให้ผู้ผลิตต้องแบกรับต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นในราคาซื้อวัตถุดิบจาก Supplier
2. ลดต้นทุนในการจัดเก็บ (Stock) ของผู้ผลิตและ Supplier โดยเน้นให้ผลิตออกมาทันเวลาพอดี ขนส่งทันเวลาพอดี และส่งมอบให้ลูกค้าแบบทันเวลาพอดี ทำให้ไม่จำเป็นต้องเก็บวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จ แต่จะทำแบบนี้ได้ต้องมีการประเมินความต้องการของลูกค้าให้แม่นยำและสั่งผลิตให้แม่นยำและรอบคอบจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดี
3. สามารถกำหนดตารางการผลิตได้แน่นอนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตเป็นผู้ดำเนินการส่งรถออกไปรับสินค้าจาก Supplier เอง ทำให้กำหนดและควบคุมเวลาการดำเนินการได้เป็นอย่างดี
4. ลดปัญหาการจราจรหน้าโรงงานเพราะหากให้ Supplier แต่ละรายมาส่งด้วยตัวเอง การจัดการจราจรหน้าโรงงานจะยากลำบาก และการตรวจรับสินค้าก็ยิ่งล่าช้า แต่ระบบมิลค์รันต้องตรวจเช็คสินค้าก่อนรับขึ้นรถอยู่แล้วทำให้สามารถถ่ายสินค้าเข้าโรงงานผลิตได้ทันที่ที่รถมาถึง
5. สิ่งแวดล้อมรอบๆโรงงานดีขึ้น เมื่อลดปริมาณรถบรรทุกที่เข้ามาส่งของลงได้ มลพิษรอบโรงงานก็ยิ่งลดลง ชุชมในบริเวณนั้นก็จะไม่ได้รับความเดือดร้อนและจะไม่เกิดข้อร้องเรียนที่อาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงองค์กร
การขนส่งแบบมิลค์รัน (milk run) ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจชั้นนำของโลกมากมาย แต่ที่เห็นได้ชัดคืออุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ ที่ต้องรับชิ้นส่วนยานยนต์มาจาก Supplier หลายๆ รายเพื่อนำมาประกอบยังโรงงานประกอบรถยนต์โดยที่ผลิตออกมาทันเวลาพอดี ดังนั้นหัวใจสำคัญของการนำระบบมิลค์รันไปใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด คือ การควบคุมเวลา หากสามารถควบคุมเวลาได้แล้วผู้ประกอบการจะเห็นว่าต้นทุนรวมทั้งระบบจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดอีกทั้งจะทำให้ศักยภาพในการผลิตสูงขึ้นโดยไม่มีความสูญเปล่า
ที่มา
- https://www.dip.go.th/th/category/2020-05-23-10-39-13/2020-05-23-11-19-07
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management)
การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการโซ่อุปทาน เพื่อช่วยในการวางแผน การสนับสนุน การควบคุมการไหลของวัตถุดิบและสินค้าให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล และการเก็บรักษาสินค้าหรือการบริการ และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ความสำคัญอันดับแรกของการจัดการระบบโลจิสติกส์ในระบบธุรกิจ คือ การสร้างประโยชน์จากเวลาและสถานที่ หรือการสร้างคุณค่าโดยการนำสินค้าจากต้นกำเนิดไปสู่สถานที่ ที่มีความต้องการ หน้าที่นี้ก็คือ การนำสินค้าจากแหล่งที่ถูกต้องในรูปแบบ จังหวะเวลา คุณภาพ และปริมาณด้วยต้นทุนที่พอเหมาะไปสู่สถานที่ที่ถูกต้อง
จากนิยามการจัดการซัพพลายเชน (CSCMP 2006) ได้มีการกล่าวถึงการจัดการโลจิสติกส์ โดยให้เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในขอบเขตของการจัดการซัพพลายเชน ได้มีการจำกัดความโดย CSCMP ไว้ดังนี้
“Logistics management is that part of supply chain management that plans, implements, and controls the efficient, effective forward and reverse flow and storage of goods, services, and related information between the point of origin and the point of consumption in order to meet customers’ requirements. Logistics management activities typically include inbound and outbound transportation management, fleet management, warehousing, materials handling, order fulfilment, logistics network design, inventory management, supply/demand planning, and management of third party logistics services providers. To varying degrees, the logistics function also includes sourcing and procurement, production planning and scheduling, packaging and assembly, and customer service. It is involved in all levels of planning and execution-strategic, operational, and tactical. Logistics management is an integrating function which coordinates and optimizes all logistics activities, as well as integrates logistics activities with other functions, including marketing, sales, manufacturing, finance, and information technology.” (Council of Supply Chain Management Professional 2010)
จากนิยามข้างต้น การจัดการโลจิสติกส์ คือ ส่วนหนึ่งของการจัดการซัพพลายเชน ซึ่งเกี่ยวกับการวางแผนและการนำแผนไปปฎิบัติ รวมทั้งการควบคุม การไหลและการจัดเก็บสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นของโซ่อุปทาน (วัตถุดิบ) และปลายทางสู้ผู้บริโภค โดยรวมถึงการไหลกลับจากฝั่งผู้บริโภค (Reverse logistics) ให้มีทั้งประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลด้วย
พันธกิจของการจัดการโลจิสติกส์ คือ การวางแผน การดำเนินงานและประสานการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งบรรลุผลในด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการนำเสนอบริการและคุณภาพในระดับที่เหนือกว่า ด้วยต้นทุนการดำเนินที่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของโลจิสติกส์
- โลจิสติกส์เป็นต้นทุนที่สำคัญสำหรับธุรกิจต่างๆและจะส่งผลกระทบและได้รับผลกระทบจากกิจกรรมอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจ การปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการด้านโลจิสติกส์ จะส่งผลโดยตรงต่อการปรับปรุงสภาพเศรษฐกิจโดยรวมให้ดีขึ้น
- การจัดการโลจิสติสก์ที่ดีจะส่งเสริมการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ตลอดห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้าอุตสาหกรรม
- โลจิสติสก์เป็นการเพิ่มอรรถประโยชน์ทางด้านเวลาและสถานที่ โดยให้มีการนำสินค้าที่ลูกค้าต้องการเพื่อบริโภคหรือเพื่อการผลิตไปยังสถานที่ที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ และต้นทุนที่ต้องการ
วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการโลจิสติกส์
- ทำให้กิจกรรมโลจิสติกส์มีต้นทุนที่ต่ำลง (Low Cost)
- ทำให้กิจกรรมโลจิสติกส์สามารถจัดหาวัตถุดิบและส่งสินค้าตรงตามเวลาที่ต้องการ (Time Deliveries)
- ทำให้ระยะเวลาในการตอบสนองคำสั่งซื้อและส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าลดลง (Shorten Lead Time)
- กิจกรรมโลจิสติกส์ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการต่างๆของลูกค้าได้เป็นอย่างดี (Meeting Customer Requirement/Expectation)
- กิจกรรมโลจิสติกส์ทำให้มีศักยภาพและขีดความสามารถสูงสุด ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ตลาด (Being Flexibility and Responsiveness)
- กิจกรรมโลจิสติกส์ทำให้สามารถรองรับความต้องการของฝ่ายต่างๆในบริษัทได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายผลิตและฝ่ายการตลาด (Good Supportive Roles)
- กิจกรรมโลจิสติกส์เป็นกิจกรรมที่เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Adding Product / Service Value)
พันธกิจของการจัดการโลจิสติกส์ คือ การวางแผน การดำเนินงานและประสานการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งบรรลุผลในด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการนำเสนอบริการและคุณภาพในระดับที่เหนือกว่า ด้วยต้นทุนการดำเนินที่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
ที่มา
เอกสาร สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 2558 www.logistics.go.th
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward