iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
AEC LPI 2010 ดัชนีวัดความสามารถด้านโลจิ
เป็นการสร้างดัชนีชี้วัด เพื่อวัดว่าเราปฏิบัติงานหร
1. ประสิทธิภาพของพิธีศุลกากร (customs)
2. คุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure)
3. ความสะดวกในการขนส่งระหว่าง
4. ความสามารถของธุรกิจโลจิสติ
5. ความสามารถในการติดตามและสื
6. การส่งมอบตรงเวลา (timeliness)
จะพบว่าการประเมินนี้ World Bank มุ่งที่จะจัดความสามารถของ External Logistics หรือที่เป็นการขนย้ายเชื่อมโยงในระหว่างปรเทศเป็นหลัก
-------------------------------------------------
LPI ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------
AEC LPI 2016 ดัชนีวัดความสามารถด้านโลจิ
เป็นการสร้างดัชนีชี้วัด เพื่อวัดว่าเราปฏิบัติงานหร
1. ประสิทธิภาพของพิธีศุลกากร (customs)
2. คุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure)
3. ความสะดวกในการขนส่งระหว่าง
4. ความสามารถของธุรกิจโลจิสติ
5. ความสามารถในการติดตามและสื
6. การส่งมอบตรงเวลา (timeliness)
จะพบว่าการประเมินนี้ World Bank มุ่งที่จะจัดความสามารถของ External Logistics หรือที่เป็นการขนย้ายเชื่อมโยงในระหว่างประเทศเป็นหลัก
-------------------------------------------------
LPI ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------
AEC LPI 2016 ดัชนีวัดความสามารถด้านโลจิ
เป็นการสร้างดัชนีชี้วัด เพื่อวัดว่าเราปฏิบัติงานหร
1. ประสิทธิภาพของพิธีศุลกากร (customs)
2. คุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure)
3. ความสะดวกในการขนส่งระหว่าง
4. ความสามารถของธุรกิจโลจิสติ
5. ความสามารถในการติดตามและสื
6. การส่งมอบตรงเวลา (timeliness)
จะพบว่าการประเมินนี้ World Bank มุ่งที่จะจัดความสามารถของ External Logistics หรือที่เป็นการขนย้ายเชื่อมโยงในระหว่างประเทศเป็นหลัก
-------------------------------------------------
LPI ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------
lpi ดัชนีวัดความสามารถด้านโลจิสติกส์ (LPI) กลุ่มประเทศอาเซียน ปี 2016
เป็นการสร้างดัชนีชี้วัด เพื่อวัดว่าเราปฏิบัติงานหร
1. ประสิทธิภาพของพิธีศุลกากร (customs)
2. คุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure)
3. ความสะดวกในการขนส่งระหว่าง
4. ความสามารถของธุรกิจโลจิสติ
5. ความสามารถในการติดตามและสื
6. การส่งมอบตรงเวลา (timeliness)
จะพบว่าการประเมินนี้ World Bank มุ่งที่จะจัดความสามารถของ External Logistics หรือที่เป็นการขนย้ายเชื่อมโยงในระหว่างประเทศเป็นหลัก
-------------------------------------------------
LPI ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------
ตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์..ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Industrial Logistics Performance Index..Key Success Factor)
การกำหนดตัวชี้วัดความสามารถด้านโลจิสติกส์ถูกจัดทำขึ้นทั้งในระดับสากล ระดับชาติ และระดับองค์กร เช่น ตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (Logistic Performance Index: LPI) โดยธนาคารโลก (World Bank) ตัวชี้วัดสมรรถนะของโซ่อุปทานด้วยแบบจำลอง SCOR (Supply Chain Operating Reference Model: SCOR Model) โดยองค์กร Supply Chain Council และตัวชี้วัด
ประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม(Industrial Logistics Performance Index: ILPI)
โดยสำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นต้น สิ่งสำคัญของตัวชี้วัดในทุกระดับ คือ ความมีระบบ หรือความมีมาตรฐานอันเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการด้านโลจิสติกส์ ทำให้เกิดการลดต้นทุน ลดเวลา และสร้างความน่าเชื่อถือซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประเมินมิติต่างๆ ของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานได้
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัดความสามารถด้านโลจิสติกส์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ นอกจากจะทำให้ทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรด้านโลจิสติกส์แล้ว ยังทำให้ทราบถึงศักยภาพหรือขีดความสามารถที่แท้จริงของตนเองว่าอยู่ในระดับใดเพื่อการปรับปรุงการดำเนินงาน
ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนต่อไป บทความนี้ได้นำเสนอ
ตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม(Industrial Logistics Performance Index: ILPI) เพื่อให้สถานประกอบการเห็นถึงความสำคัญของการประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์ของตนเอง และพัฒนาองค์กรสู่เกณฑ์มาตรฐาน
ILPI ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยสำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์เทียบวัด (Benchmark) ผลการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันรวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น จำนวน 24 กลุ่มอุตสาหกรรม 88 หมวดอุตสาหกรรมย่อย ซึ่งเริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา เพื่อส่งเสริมให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาองค์กรสู่มาตรฐานด้านโลจิสติกส์ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Customer Service) ได้ทันเวลาและ
ลดต้นทุนรวมด้านโลจิสติกส์ (Total Logistics Cost) โดยสามารถวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานครอบคลุมกิจกรรม
ด้านโลจิสติกส์ทั้ง 9 กิจกรรม
การประเมินองค์กรด้วย ILPI ในกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้ง 9 กิจกรรม ถูกพิจารณาใน 3 มิติ มีตัวชี้วัดทั้งสิ้น 27 ตัวชี้วัด ซึ่งแต่ละมิติมีแนวทางการประเมินคือ
มิติด้านต้นทุน (Cost Dimension) แสดงถึงสัดส่วนต้นทุนของกิจกรรมโลจิสติกส์เปรียบเทียบกับยอดขายประจำปีของกิจการสามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหรือควบคุมต้นทุนส่วนเกินที่ไม่จำเป็นได้โดยไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพสินค้าหรือการบริการ
มิติด้านเวลา (Time Dimension) ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่ใช้ข้อมูลระยะเวลาของการเคลื่อนย้ายสินค้าที่อยู่นอกเหนือจากช่วงของกระบวนการผลิต และระยะเวลาการเคลื่อนย้ายของข้อมูลที่เริ่มตั้งแต่การรับข้อมูลและสิ้นสุดที่การส่งมอบข้อมูลให้แก่ลูกค้าหรือผู้ใช้สินค้าหรือบริการลำดับถัดไป
มิติด้านความน่าเชื่อถือ (Reliability Dimension) ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่ใช้วัดความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับการส่งมอบสินค้าและข้อมูล โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ตัวชี้วัดด้านการส่งมอบตรงเวลา (On-time) และตัวชี้วัดด้านการส่งมอบครบจำนวน (In-full)
จะเห็นได้ว่า ILPI เป็นเสมือนเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและเปรียบเทียบ (Benchmarking Tools) ผลการดำเนินงานในมิติของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เชื่อถือได้ และมีต้นทุนที่เหมาะสม
ค่า ILPI จะมีความแม่นยำจนสามารถใช้เป็นตัวแทนและเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบทุกระดับได้เมื่อมีการเก็บข้อมูลผลการประเมินในแต่ละตัวชี้วัดในจำนวนมากพอทำให้การกระจายของค่าตัวอย่างดังกล่าวมีแนวโน้มใกล้เคียงกับการแจกแจงแบบปกติ (Normal Distribution) ตามทฤษฎีแนวโน้มเข้าสู่ศูนย์กลาง (Central Limit Theorem) ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการประเมิน ILPI จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน คือ ทำให้ทราบผลดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ขององค์กร และทำให้ค่า ILPI ของกลุ่มอุตสาหกรรมและของประเทศมีความแม่นยำและมีมาตรฐานสามารถเทียบเคียงในระดับสากลได้หากผู้ประกอบการมี “มาตรฐานโลจิสติกส์” เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานแล้ว ย่อมนำไปสู่หนทางแห่งความเป็นผู้นำทางด้านโลจิสติกส์และในโซ่อุปทานระดับโลก
ที่มา : 59LOF02 Logistics Forum ปีที่ 7 ฉบับที่ 33 มีนาคม - เมษายน 2559
------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward