iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
ข้อมูลที่ "แม่น" การตัดสินใจจะไม่โดน "ยำ"
การตัดสินใจที่ถูกต้องโดยส่วนใหญ่มักจะมีพื้นฐานมาจากการมีข้อมูลที่ดี ตรงกันข้ามในการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้องมักจะมาจากข้อมูลที่ไม่ดีหรือมีความไม่ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งในการบริหารจัดการคลังสินค้าหรือธุรกิจในปัจจุบันที่มีความชับซ้อน ผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้องสำหรับการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ครบถ้วนนั้น จะไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย หากข้อมูลนั้นเก็บมาไม่ดี และยิ่งจะสูญเสียไปกันใหญ่ถ้าไม่รู้เลยว่าข้อมูลนั้นไม่ดีแล้วยังนำมาวิเคราะห์อีก บางบริษัทไม่มีข้อมูลเพื่อการตัดสินใจเลย บางบริษัทมีข้อมูลแต่ยังเก็บรวบรวมไม่ถูกต้อง หรือบางบริษัทมีข้อมูลเยอะแยะแต่ไม่นำมาวิเคราะห์ตามกระบวนการที่ควรจะเป็น
การตัดสินใจที่ถูกต้องจะต้องวิเคราะห์บนพื้นฐานกำหนดของข้อมูลที่ดี ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ก็จะนำไปสู่การตัดสินใจ มาตรการปฏิบัติในการกำหนดมาตรการที่ตรงประเด็นปัญหาและมีความมั่นใจในการนำไปปฏิบัติจริง พร้อมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติด้วยว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่การจัดการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจด้านการจัดการคลังสินค้านั้น ควรได้รับการวางแผนและออกแบบที่ดีโดยใช้แนวคิดของการเชื่อมโยงกระบวนการทำงานหลักๆ คือ การรับ การจัดเก็บ การรักษา และการจ่ายในกระบวนการหากต้องการรู้ว่ามีผลการทำงาน ดี หรือไม่ดี จะมีรูปแบบการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ
ในการออกแบบการบันทึกข้อมูลที่ดีตั้งแต่ต้นจะทำให้เรารู้ถึงรายการของข้อมูลที่ต้องการเก็บความลึกของข้อมูลและมอบหมายให้คนที่เกี่ยวข้องได้ เมื่อได้ข้อมูลที่ดีแล้วจะสามารถขยายผลไปถึงประสิทธิภาพในการวางแผน การสื่อสาร และกระบวนการจัดการข้อมูลตลอดกระบวนการ ในขอบเขตงานการบันทึกข้อมูลในกิจกรรมนั้นต้องกระทำในแบบทันที ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ซึ่งต้องทำการบันทึกทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนสถานที่ Location หรือเปลี่ยนสถานะของ Inventory ความสามารถในการบันทึกข้อมูลแบบทันที ทำให้เกิดระบบข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมั่นใจในการตัดสินใจ ระบบฐานข้อมูลจะช่วยให้เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นหรือต้องการเปรียบเทียบข้อมูลในอดีต หรือดึงข้อมูลในอดีตมาวิเคราะห์แนวโน้มแล้วกำหนดเป็นแผนงานก็สามารถทำได้ เมื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้องแล้วการประมวลผลก็สามารถดำเนินการได้การสั่งการและ Action ในจุดที่ต้องการปรับปรุงพัฒนาต่อ นอกจากนี้ยังต้องการความมีวินัยและความรู้ความเข้าใจในการบันทึกข้อมูลของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรต้องมีระบบการพัฒนาบุคลากรที่อยู่ในระดับปฏิบัติงานเหล่านี้ให้สามารถดำเนินการเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
----------------------------------------------------------
ที่มา กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIP)
Agile and Responsive Supply Chain Strategies on a Global Level / ความคล่องตัวและสามารถตอบสนอง ในยุทธศาสตร์ซัพพลายเชนในระดับโลก
ความคล่องตัวและสามารถตอบสนอง ในยุทธศาสตร์ซัพพลายเชนในระดับโลก (Agile and Responsive Supply Chain Strategies on a Global Level) ปัจจุบันในตลาดการค้าโลกองค์กรส่วนใหญ่จะต้องพบกับความท้าทายที่เกิดขึ้น จากการแข่งขันด้านการค้าที่รุนแรงไร้ขอบเขตพรมแดน การค้าขายในระดับระหว่างประเทศมีมากขึ้น คู่แข่งไม่ได้มีเพียงในประเทศของตนเหมือนเดิม แต่กับมีคู่แข่งที่มาจากทั่วทั้งโลก ผู้ทำธุรกิจจึงควรจะต้องปรับปรุงตัวเองให้สามารถทำการตอบสนองต่อความต้องการของ ลูกค้าที่มีความผันผวนมากขึ้น มีความต้องการและคาดหวังในสินค้าและบริการในระดับที่เพิ่มสูงขึ้นไม่มีขีดจำกัด และยังมีปัญหาวัฏจักรของผลิตภัณฑ์สินค้าและเทคโนโลยีที่มีเวลาสั้นลง จำเป็นที่ผู้ผลิตต้องคิดแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เมื่อนำมารวมกับแนวคิดการสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นในสินค้าบริการ การมุ่งแข่งขันในการผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำลง
จากการก้าวสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น สินค้ามีราคาที่ลดลง นักธุรกิจยุคใหม่จึงจำเป็นต้องคิดว่า จะทำอย่างไรจึงจะสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีในตลาดได้ดีพอ วิธีที่สำคัญอีกอันที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้คือ การกำหนดกลยุทธในการบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain Strategies) เน้นให้มีขนาดเล็ก มีความคล่องตัว ปรับเปลี่ยนรูปแบบได้เสมอ แต่ต้องสามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ดีพอ และมีมาตรฐานในระดับสากลในโลก
บริษัทชั้นนำของโลก ส่วนใหญ่จะเน้นการสร้างโซ่อุปทานของตน ให้ตอบสนองการทำงานและรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดที่มีมักมีอย่างกะทันหันรวดเร็วและอย่างคาดไม่ถึง ปัจจุบันบริษัทส่วนใหญ่จะไม่มียุทธศาสตร์ในด้านนี้ จึงมักจะต้องรับมือกับการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงโดยจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น หลายบริษัทพบว่าหากสามารถทำให้ธุรกิจของตนเองมีมตารฐานมีขนาดเล็กไม่ซับซ้อน มีความคล่องตัวแต่ต้น จะช่วยตอบสนองการรับมือปัญหาที่เกิดจากเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าปกติทั่วไป
ความว่องไวและการตอบสนอง (Agile and Responsive) มีพื้นฐานมาจากระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น (Flexible Manufacturing Systems, FMS) โดยเน้นการผลิตที่ให้ความสำคัญในการปรับเปลี่ยนหรือความยืดหยุ่นในการผลิต ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงงานอย่างรวดเร็วได้ตลอดเวลา และมุ่งให้มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์หรือปริมาณได้ดีมากขึ้น
ความว่องไว (Agile) หมายถึง การปรับเปลี่ยนขนาดให้มีความคล่องตัว กระชับสามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย ในบางครั้งมีการนำไปใช้สับสนกับคำว่า การลดส่วนที่ไม่จำเป็นหรือที่เรามักเรียกกันว่าลีน (lean) ซึ่งในสองคำนี้แม้จะเน้นการลดเหมือนกัน แต่จะมีบางเรื่องที่แตกต่างกัน (lean) ดังนั้นบางครั้งการที่บริษัทดำเนินงานในเรื่องลีนจะทำให้มีการลดส่วนที่ไม่จำเป็นในการผลิตลดได้ เกิดความสามารถในการผลิตที่ดี แต่ก็ยังไม่ได้แปลว่าบริษัทนั้นมีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนองค์กรได้ในเรื่องอื่น เพราะหากสังเกตดูจะพบว่าลีนนั้นยังมีปัญหาในบางเรื่องเช่น ลีนต้องมีการวางแผนในการผลิตและการจัดส่งของที่ต้องกำหนดกันไว้เป็นระยะยาว การผลิตจะต้องเกิดจากการคาดการณ์ว่าลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้า สามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์มาตรฐานที่ต้องมีการผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่ตอบสนองความต้องการผู้ผลิตยุคใหม่ ที่ต้องตอบสนองความต้องการลูกค้าที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ลูกค้ามีความต้องการในส่วนประกอบต่างๆ มากมายเพิ่มขึ้น เกิดเป็นปัจจัยที่มีความผันแปรและความไม่แน่นอนสูงเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน
การลดส่วนที่ไม่จำเป็น (lean) หมายถึง การทำอะไรให้ได้ผลงานที่มากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรให้น้อยลง ในการทำธุรกิจมักพบใช้ในแนวทางการผลิตแบบทันเวลา (Just in Time, JIT) มีการใช้มานานเวลากว่า 30 ปีมาแล้ว
การตอบสนอง (Responsive) หมายถึง ความสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า ที่ต้องเน้นให้มีความรวจเร็ว ตอบโจทย์ที่ลูกค้าต้องการได้ดีมีประสิทธิภาพ โดยใช้ค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุด จึงปรับความว่องไวในการตอบสนองตลอดโซ่อุปทานต้นแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เน้นการขจัดอุปสรรคที่จะทำให้การตอบสนองไม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นด้านองค์กรหรือด้านเทคนิค
อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นตัวอย่างที่พยายามใช้แนวคิดดังกล่าว มาใช้ในการปรับองค์กรของตนให้มีความคล่องตัวเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้มีขบวนการที่เล็กลงกระทัดรัด มีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนการทำงาน การลดระยะเวลาเริ่มตั้งแต่ในขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีระยะเวลาสั้นลง อออกเป็นผลิตภัณท์ใหม่ได้เร็วขึ้น การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างซัพพลายเออร์และมีการแลกเปลี่ยนการทำงานเพื่อพัฒนาการผลิตร่วมกัน ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีความหลากหลายได้ดีขึ้น โดยยังลดความซับซ้อนในการผลิตลงไปด้วย การหาความซ้ำซ้อนในการออกแบบ ทำให้เริ่มมีการใช้ชิ้นส่วนที่มีมาตรฐานมากขึ้น อาจมีการปรับการทำงานบางส่วนบ้างตามความต้องการของลูกค้า วิธีนี้จะช่วยการลดความซับซ้อนในการผลิตและการจัดการสินค้าคงคลังโดยรวมทำให้ประหยัดได้มาก
----------------------------------------
ความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศใน Supply Chain ต่อทางรอดทางธุรกิจ
นางสาวนันท์ บุญยฉัตร
วิศวกรโลหการชำนาญการ กองโลจิสติกส์
จากสถานการณ์การระบาดของมัลแวร์คอมพิวเตอร์เรียกค่าไถ่ Wanna Cry ตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2560 โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ดังกล่าวจะไม่สามารถเปิดใช้งานข้อมูลใดๆได้เลย เว้นแต่ยอมจ่ายเงินสกุลดิจิทัลเสมือนจริง “บิตคอยน์” (Bit coin) เพื่อให้ได้รับรหัสมาปลดล็อก จนปั่นป่วนไปทั่วโลก ทำให้ประเทศไทยตื่นตัว ทั้งหน่วยราชการและเอกชน เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางด้านไอที โดยเฉพาะปัจจุบันที่อุตสาหกรรมไทยมุ่งเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร จึงทำให้ผู้ประกอบการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินการทางธุรกิจเพื่อเชื่อมโยง กระบวนการผลิต และการทำธุรกรรมต่างๆ ใน Supply Chain มากขึ้น เช่น การใช้ระบบ ERP ในกระบวนการทำงานขององค์กร และการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบอิเล็คทรอนิกส์ เป็นต้น ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยคุกคามทางด้าน IT ซึ่งเครื่องมือหนึ่งในการลดความเสี่ยง คือ การนำระบบการจัดการมาตรฐาน ISO 22301 และมาตรฐาน ISO 27001 มาประยุกต์ใช้ในองค์กร
มาตรฐาน ISO 22301 (มาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ) เป็นมาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามต่างๆ ที่มีต่อธุรกิจ โดยองค์กรจะมีการวิเคราะห์และการจัดการความเสี่ยงขององค์กรอย่างเป็นระบบ และมีการจัดทำแผนฉุกเฉินทางธุรกิจกรณีที่เกิดภัยคุกคาม หรือแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan : BCP) ซึ่ง BCP คือ ขั้นตอนการดำเนินการที่จะให้กิจการสามารถให้บริการหรือผลิต และส่งสินค้าให้ลูกค้าได้แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่เกิดภัยคุมคามที่ไม่สามารถคาดหมายได้ก่อนล่วงหน้าหรือไม่เคยเกิดขึ้นกับกิจการมาก่อน เช่น ภัยธรรมชาติ (เช่น แผ่นดินไหว
สึนามิ) การโจมตีของผู้ก่อนการร้าย หรือเกิดการแพร่กระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ส่วนมาตรฐาน ISO 27001 (มาตรฐานระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ) เป็นมาตรฐานที่สำคัญที่ช่วยให้องค์กรมีความสามารถในการบริหารจัดการสารสนเทศขององค์กรให้มีความมั่นคงปลอดภัยอย่างเป็นระบบ พร้อมในการใช้งาน โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการบริหารความเสี่ยงทาง IT และมีการจัดทำแผนการกอบกู้ระบบ (Disaster Recovery Plan : DRP) เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามต่างๆ ซึ่งแผน DRP เป็นขั้นตอนการดำเนินการในการกู้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในกรณีที่ระบบล่ม (System Down) ที่มาจากภัยคุมคาม โดยในรายละเอียดของแผนจะกล่าวถึงแผนโต้ตอบภาวะฉุกเฉิน (Emergency Response Procedure) กระบวนการสำรองข้อมูล (Extended Backup Operation) และการกู้คืนอุปกรณ์ที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ (Restoring Computing Facilities)
จะเห็นได้ว่าแผน DRP เป็นส่วนหนึ่งของแผน BCP โดยแผน DRP จะเน้นด้าน IT เป็นหลัก ในขณะที่แผนBCP จะกล่าวถึงภาพรวมการดำเนินงานขององค์กรทั้งหมดจากความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันนี้องค์กรจึงควรจัดทำแผน BCP และ DRP ร่วมกันเสมอเพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อธุรกิจในปัจจุบันเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในยุคดิจิตอล ถ้าเกิดการหยุดชะงักก็จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการต่างๆ และส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของธุรกิจได้ ซึ่งการจัดทำแผนอาจแตกต่างกันในแต่ละประเภทและขนาดของกิจการ แต่ในบางธุรกิจระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนสำคัญในการนำข้อมูลในฐานข้อมูลกลับมาทำการเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดการใช้งานในธุรกิจได้ ดังนั้น ต้องเน้นการประสานและเชื่อมโยงกันของแผน BCP กับแผน DRP เพื่อกอบกู้ระบบงานหลักของธุรกิจให้กลับมาอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานตามปกติ
ตัวอย่างกลยุทธ์ในการจัดทำแผน DRP คือ การจัดเตรียม DR-Site หรือ Disaster Recovery Site เป็น แนวทางในการกู้คืนระบบที่มีความสำคัญ ซึ่งเกิดจากภัยพิบัติต่างๆ อันเป็นเหตุให้ระบบ Data Center หลักหยุดให้บริการ จึงจำเป็นต้องใช้ Site สำรองในการทำงานแทนโดยมีทางเลือกในการดำเนินการสำหรับ DR-Site ดังนี้
- Hot Sites คือ การสร้างระบบสำรองที่เหมือนกับระบบหลัก โดยจะพร้อมทำงานแทนระบบหลักได้ทันที
- Warm Sites คือ คล้ายกับ Hot site แต่มีการใช้งานเพียงบางแอปพลิเคชั่นเท่านั้น หรือเป็นระบบสำรองที่สามารถทำงานได้เมื่อมีการอัพเดทข้อมูลที่ได้จากการทำสำรองข้อมูล
- Cold Sites คือ พื้นที่สำรองที่มีเพียงบริการพื้นฐานที่พร้อมใช้งานสำหรับการดำเนินการ โดยมีทรัพยากรที่จำกัด
ดังนั้น เมื่อองค์กรได้เลือกกลยุทธ์แล้ว ก็มากำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนการดำเนินการตามกลยุทธ์ที่ได้เลือกเพื่อรองรับภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นต่อไป
ที่มา http://www.logistics.go.th/en/news-article/bol-article/9616-60lof43-supply-chain
ความสัมพันธ์การวัดผลประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน (Performance SCOR Model) แบ่งออกตามกลุ่มที่สนใจ 2 เป้าหมาย มีตัวชี้วัดหลัก 5 ด้าน และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์อีก 10 ตัว โดยประกอบด้วย
- เป้าหมาย ในการวัดผลประสิทธิภาพของโซ่อุปทานในเชิงกลยุทธ์มี 2 เป้าหมายคือ
1 กลุ่มลูกค้
2 กลุ่มลูกค้
- ตัวชี้วัดหลัก (Attribute) กำหนดไว้ 5 ด้าน ดังนี้
1 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านความน่าเชื่อถือ (Supply Chain Reliability: RL) เป็นความสามารถในด้านการส่งมอบผลิตภัณฑ์/บริการที่ ถูกต้อง ถูกสถานที่ ถูกตัวผู้รับ ทันเวลา ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม สภาพบรรจุภัณฑ์เรียบร้อย ปริมาณครบถ้วน ตลอดจนเอกสารการส่งมอบที่เกี่ยวข้องถูกต้องสมบูรณ์ โดยวัดผลจากการเติมเต็มคำสั่งซื้อที่สมบูรณ์
2 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านการตอบสนอง (Supply Chain Responsiveness: RS) เป็นระยะเวลา ความรวดเร็วในจัดหา จัดเตรียมสินค้าและบริการให้กับลูกค้าโดยวัดผลจากรอบเวลาของกิจกรรมในการเติมเต็มคำสั่งซื้อ
3 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านความยืดหยุ่น (Supply Chain Agility or Flexibility: AG) เป็นความสามารถรองรับต่อความผันแปรของความต้องการตลาด ทั้งการเพิ่ม หรือการลดปริมาณความต้องการภายในเวลาอันสั้นเป็นผลการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุม เช่น ภัยธรรมชาติ ผู้ร่วมธุรกิจยกเลิกถอนตัวจากธุรกิจ เป็นต้น โดยวัดผลจากการปรับตัว และความยืดหยุ่นของซัพพลายเชนต้นน้ำและปลายน้ำ
4 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านต้นทุน (Supply Chain Cost: CO) เป็นต้นทุนการดำเนินการของระบบโซ่อุปทานวัดผลจากต้นทุนรวมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ
5 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านการจัดการสินทรัพย์ (Supply Chain Asset Management : AM) แสดงถึงประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลของการบริหารสินทรัพย์ขององค์กรเพื่อให้บริการกับลูกค้าวัดผลจาก รอบเวลาในการหมุนเวียนเงินสด อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพยถาวร และเงินลงทุน
- ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ มีทั้หมด 10 ตัวชี้วัดคือ
1. สมรรถนะในการจัดส่ง สามารถวัดได้ในรูปแบบของวันและเวลาที่จัดส่งจริง เปรียบเทียบกับ วันที่กำหนดถึงลูกค้า
2. สมรรถนะในการเติมเต็มคำสั่งซื้อ เป็นตัวชี้วัดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสมรรถนะของการจัดส่ง ซึ่งเวลานำของการเติมเต็มคำสั่งซื้อจะนับจากวันเวลาเฉลี่ยของวันเวลาที่คำสั่งซื้อเกิดขึ้นจนถึงวันและเวลาที่ลูกค้าได้รับสินค้าครบตามคำสั่งซื้อในมุมมองของลูกค้านั้นลูกค้าไม่
3. ตัววัดสมรรถนะการเติมเต็มคำสั่งซื้อสมบูรณ์ มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสมรรถนะการจัดส่งเช่นกันแต่เป็นเกณฑ์การ
วัดที่เข้มข้นกล่าวคือ เป็นตัววัดซึ่งจะวัดการส่งเสริมและผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง ตรงตามเวลา สถานที่ และในจำนวนครบถ้วนตามคำสั่งซื้อ
4. ตัววัดสมรรถนะการตอบสนองของโซ่อุปทาน ความหมายของโซ่อุปทานที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
โซ่อุปทานจะต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภายในเวลารวดเร็ว เพื่อให้แน่ใจถึงความสามารถในการแข่งขัน
5. ตัววัดสมรรถนะการความยืดหยุ่นของการผลิต วัดการตอบสนองของโซ่อุปทานเกี่ยวกับความยืดหยุ่นในกระบวนการ
ผลิต แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ ความยืดหยุ่นต่อความต้องการลดหรือเพิ่มการผลิตในเวลาหนึ่งๆ
6. ตัววัดสมรรถนะต้นทุนการจัดการโซ่อุปทาน เนื่องจากต้นทุนการจัดการโซ่อุปทานต่อรายได้ทั้งหมดขององค์กรถ้าสามารถควบคุมได้ดีจะมีผลต่อความสามารถในการทำกำไรขององค์กรนั้นๆ ตัววัดสมรรถนะนี้จึงมีความสำคัญต่อการบริหารโซ่อุปทานและองค์กรในเชิงกลยุทธ์
7. ตัววัดสมรรถนะรอบเวลาของวงจรปิดเงินสด เวลาที่ใช้โดยเฉลี่ยของเงินที่ใช้ในการสั่งซื้อวัตถุดิบจนกระทั่งเงินนั้นไหลกลับมาสู่บริษัทในรูปของรายได้ ตัวชี้วัดรอบเวลาของวงจรเงินสด ประกอบด้วยผลรวมของ 3 องค์ประกอบ คือ จำนวนวันของสินค้าคง คลังบวกจำนวนวันของการขาย ลบด้วยคาบเวลาของการจ่ายเงินสำหรับค่าวัตถุดิบ
8. ตัววัดสมรรถนะจำนวนวันของสินค้าคงคลัง ตัวชี้วัดที่ใช้วัดว่าจำนวนสินค้าคงคลังถูกผลิตขึ้นมาหรือซื้อเข้ามาแล้วสามารถขายไปให้กับลูกค้าได้เร็วเพียงไรการเพิ่มของจำนวนวันของสินค้าคงคลังชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลัง ซึ่งรวมถึงการขายที่ช้าลงและ/หรือคาบเวลาการผลิตที่ยาวนานขึ้น
9. ตัววัดสมรรถนะจำนวนรอบของสินทรัพย์ ตัวชี้วัดของกิจกรรมทางด้านการเงิน หมายถึงจำนวนรายได้หารด้วยจำนวนทรัพย์สินทั้งหมดจำนวนรอบของสินทรัพย์จะเป็นตัววัดประสิทธิผลของบริษัทในการดำเนินงานต่อสินทรัพย์ทั้งหมด
10.
-----------------------------------------------
ความสัมพันธ์ของใบประกาศ APICS ในแต่ละระดับ (APICS Certification Relationship) APICS ก่อตั้งขึ้นในปี 1957 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นเลิศในด้านการจัดการการดำเนินงานแก่บุคคลและองค์กร ผ่านการศึกษาและการฝึกอบรมที่มีศักยภาพเหนือกว่า และได้การรับรองในระดับสากล รวมไปถึงทรัพยากรและมืออาชีพในด้านอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก
APICS ได้ให้การรับรองประกาศนียบัตรวิชาชีพหลักได้แก่
- APICS Certified Production and Inventory Management (CPIM)
- APICS Certified Supply Chain Professional (CSCP)
- Certified in Logistics, Transportation, and Distribution (CLTD)
APICS เป็นสมาคมวิชาชีพด้านการจัดการซัพพลายเชนชั้นนำระดับโลก ที่ได้ทำการวิจัยและศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และนำมาทำการปรับปรุงการเรียนรู้ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติจริงที่ทันสมัยเข้ากับสภาวะในปัจจุบันและรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต อีกทั้งมีประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ครอบคลุมความรู้ความเข้าใจในซัพพลายเชนแบบ end- to-end ที่เป็นเลิศ และปรับปรุงต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ
APICS และเมื่อไม่นานมานี้ APICS ยังได้รวมกับ Supply Chain Council ทำให้วันนี้องค์ความรู้ที่สำคัญในการจัดการซัพพลายเชนที่เรียกว่า Supply Chain Operation Reference (SCOR) ก็อยู่ภายใต้ APICS เช่นกัน ปัจจุบันองค์กรที่ใช้ SCOR Framework จึงส่งเสริมให้บุคลากรสอบ SCOR-P
จะเห็นได้ว่าวันนี้ APICS ได้พัฒนาองค์ความรู้ซัพพลายเชนแบบ end- to-end วันนี้ APICS มีสมาชิกทั่วโลกมากกว่า 45,000 คน ในกว่า 100 ประเทศ APICS มุ่งมั่นจะสนับสนุนนักโลจิสติกส์ทั่วโลกให้มีศักยภาพในการทำธุรกิจ ที่ความสามารถผลักดันการเติบโตขององค์กร และการเข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วโลกมีจำนวนผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ดังนี้ CPIM มากกว่า 104,000 คน CSCP มากกว่า 20,000 คน และ SCOR-P มากกว่า 700 คน
-----------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward