iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
วัสดุที่มีความจำเป็นต้องเก็บเป็นวัสดุคงคลัง (Stock Criteria)
Stock Criteria Matrix คือการวิเคราะห์เพื่อวางแผนการจัดเก็บสินค้าวัสดุที่มีความจำเป็นต้องเก็บเป็นวัสดุคงคลัง โดยจัดทำในรูปแบบตาราง ซึงสามารถใช้ตัวแปรมาทำการวิเคราะห์เพื่อจัดกลุ่มในการบริหารจัดการต่อไป ในรูปจะเป็นการวิเคราะห์จาก 2 มิติคือ ความสำคัญในการผลิตหรือใช้ กับระยะเวลาในการจัดหามาเติมเต็ม
บางแห่งอาจมีการกำหนดแนวทางในการจัดเก็บ โดยมีการนำเอาปัจจัยด้านอื่น มาร่วมในการพิจารณาเพิ่มได้อีกเช่น ราคามูลค่า ความถี่ในการใช้ อัตราการสูญหาย หรือปัจจัยอื่น ตามสถาณการณ์หรือนโยบายขององค์กร
วัสดุที่มีความจำเป็นต้องเก
ตารางวัสดุที่มีความจำเป็นต้องเก
1. การวิเคราะห์ทางด้านความส
- วัสดุสำคัญ (Vital, V) คือ วัสดุที่มีความสำคัญในการผลิตมาก หากขาดวัสดุดังกล่าวจะส่งผลให้อุปกรณ์หยุดทำงาน และมีผลสืบเนื่องทันทีมีผลให้กระบวนการผลิตการดำเนินธุรกิจหยุดชะงัก และในที่นี้ร่วมถึงวัสดุที่ที่ต้องได้รับการจัดเก็บตามข้อกำหนดทางกฎหมาย.
- วัสดุจำเป็น (Essential, E) คือ วัสดุที่มีความสำคัญปานกลาง หากวัสดุอะไหล่ชิ้นนี้เสียหายจะส่งผลกระทบต่อการผลิตเช่น จำนวนผลงานที่ผลิตออกมาจะต่ำกว่าที่ควรจะเป็น, คุณภาพงานที่ได้อาจต่ำลง, อาจต้องแก้ไขหรือทำซ้ำ หรืออาจทำให้เกิดผลสืบเนื่องทำให้กระบวนการผลิตและการดำเนินธุรกิจเป็นไปได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ.
- วัสดุสนับสนุน (Desirable, D) คือ วัสดุสำหรับใช้งานทั่วไป การขาดวัสดุในกลุ่มนี้อาจจะไม่ส่งผลใดๆ ต่อกระบวนการผลิตหรือการดำเนินธุรกิจมากนัก
2. การวิเคราะห์ทางด้านความถ
- วัสดุที่มีการหมุนเวียนเร็ว (Fast Moving, F) วัสดุที่มีความต้องการใช้งานในระดับความถี่ในรอบที่เร็ว มีการใช้งานบ่อย
- วัสดุที่มีการหมุนเวียนช้า (Slow Moving, S) วัสดุที่มีความต้องการใช้งานในช่วงเวลาที่มากกว่า มีความถี่การใช้น้อยแต่ก็ยังมีการใช้งานบ้าง
- วัสดุที่ไม่มีการหมุนเวียน (Non Moving, N) วัสดุที่ไม่ค่อยมีความต้องการใช้งานในช่วงเวลาที่มาก บางครั้งอาจแทบไม่ได้มีการนำมาใช้เลย
3. การวิเคราะห์ทางด้านราคา (HML Analysis) จะเป็นการคัดแยกประเภทของวัสดุตามราคา โดยในส่วนของระดับราคานั้นจะมีความแตกต่างกันในแต่ละบริษัทขึ้นอยู่กับ นโยบายของฝ่ายบริหารกำหนด, อาจใช้ที่มาข้อมูลราคาจากฝ่ายจัดซื้อ หรือการตรวจสอบราคา โดยมีเกณฑ์การพิจารณาคือ
- วัสดุราคาแพง (High, H) พัสดุที่มีราคาสูง.
- วัสดุราคาปานกลาง (Medium, M) พัสดุที่มีราคาในระหว่างปานกลาง
- วัสดุราคาถูก (Low, L) พัสดุที่มีราคาต่ำ
4. การวิเคราะห์ทางด้านระยะเวลาใ
- วัสดุขาดแคลน (Scarce, S) เป็นวัสดุที่มีระยะเวลาการรอคอยสินค้าที่นาน
- วัสดุหายาก (Difficult, D) เป็นวัสดุที่หายาก และมีระยะเวลาการรอคอยสินค้านาน
- วัสดุหาง่าย (Easily Available, E) เป็นวัสดุที่หาง่ายมีทั่วไป มีระยะเวลาการรอคอยสินค้าไม่นาน
จากตัวอย่างอาจพบว่าในการจั
------------------------------------------
วัสดุที่มีความจำเป็นต้องเก
Stock Criteria Matrix คือการวิเคราะห์เพื่อวางแผน
บางแห่งอาจมีการกำหนดแนวทาง
----------------------------------------------------------
วิวัฒนาการในงานด้านโลจิสติกส์ (Evolution of Logistics) จากประวัติของโลจิสติกส์ มีหลายแนวคิด วันนี้แอดมินไปเจอภาพวิวัฒนาการโลจิสติกส์ เลยนำ
* โลจิสติกส์ (logistics) เป็นระบบการจัดการการส่งสิน
* โลจิสติกส์ (logistics) มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า logistique ที่มีรากศัพท์คำว่า โลเชร์ (loger) ที่หมายถึงการเก็บ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการขน
* โลจิสติกส์ ได้พัฒนาจากการรวมกันของหน่
- ด้านวัสดุสินค้า ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ในสาขาที่เกี
- ด้านการเงินได้แก่ สาขาบัญชีการเงินและสาขาบริ
- ด้านข้อมูลสารสนเทศได้แก่ สาขาคอมพิวเตอร์ และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่ง จะศึกษาในส่วนของการบริหารจ
------------------------------------------------------------------
เวลาสูญเปล่า 2 ประเภทที่แฝงอยู่ในเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
เวลาสูญเปล่า หรือ เวลารอคอย หนึ่งในความสูญเสียในกระบวนการผลิต (Wastes) ที่ไม่มีการบริหารการผลิตภายใต้แนวคิด Lean หรือ Just in time เช่นเครื่องจักรรอวัสดุ รอซ่อม หรือ พนักงานรอวัสดุ อุปกรณ์ คำสั่งผลิต และมีความสูญเสียเกิดขึ้นรูปของ ต้นทุนสูญเปล่า เสียโอกาสในการผลิตสินค้า เกิดปัญหาเรื่องขวัญกำลังใจระหว่างพนักงาน
1. เวลาสูญเปล่าที่เกิดจากการละวางมือจากการปฏิบัติงาน ได้แก่ เวลาที่ไม่เกิดการปฏิบัติงานเพื่อทำกิจธุระ, เวลาที่ใช้ในการสอบถามผู้อื่นในสิ่งที่ไม่เข้าใจ หรือเวลาที่ผู้ถูกถามใช้ในการตอบคำถาม เป็นต้น
2. เวลาสูญเปล่าที่เกิดจากความเร็ว (Speed) ในการปฏิบัติงานช้า คือ ส่วนต่างที่เกิดจาก “เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานนั้น ๆ ในกรณีที่มีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด” กับ “เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานที่แท้จริงของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน”
ที่มา
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward