iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
สินค้าคงคลังหรือสินค้าคงเหลือ (Inventory)
สินค้าคงคลังหรือสินค้าคงเหลือ (Inventory) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจการผลิตและธุรกิจซื้อมาขายไปเป็นอย่างมาก เพื่อให้ธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นในการผลิตสินค้าที่ไม่ขาดตอน ธุรกิจก็ต้องสต๊อกวัตถุดิบ เพื่อใช้ในการผลิตและยังต้องเก็บสต๊อกสินค้าสำเร็จรูปไว้เผื่อขายด้วย วัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเหล่านี้เรารวมเรียกว่าสินค้าคงคลังหรือสินค้าคงเหลือนั่นเอง กิจการที่มีสต๊อกจำนวนมากก็เป็นปัญหาทั้งสถานที่เก็บและยังเป็นปัญหาที่ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนจำนวนมากอีกด้วย การบริหารสินค้าคงคลังให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องบริหารจัดการให้ดีเพื่อให้มีสินค้าขายและมีต้นทุนการเงินที่ต่ำไปด้วย
รายการหลักๆ ของสินค้าคงเหลือแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. วัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลือง และบรรจุภัณฑ์
2. งานระหว่างทำ (งานผลิตที่ยังไม่เสร็จ อยู่ระหว่างการผลิต)
3. สินค้าสำเร็จรูป (เก็บไว้เพื่อขาย)
4. อะไหล่และวัสดุสำหรับการซ่อมบำรุง
กิจการที่เพิ่งเปิดใหม่มักไม่ค่อยได้สนใจที่จะบริหารสินค้าคงเหลือที่เกิดขึ้นแต่เมื่อดำเนินธุรกิจไปแล้วเกิน 3 ปี ก็จะมีสต๊อกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆกว่าจะรู้สึกตัวก็มีต้นทุนในสต๊อกมากมาย เพราะต้นทุนที่เกิดจากการสต๊อกสินค้าจะประกอบไปด้วย ดอกเบี้ย สถานที่เก็บรักษา (ค่าเช่า) สินค้าล้าสมัย สินค้าเสื่อมสภาพหรือหมดอายุไป หากเจ้าของกิจการมีสต๊อกสินค้ามากเท่าใดก็ยิ่งต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนมากเท่านั้น
เรามักจะได้ยินคำพูดนี้จากผู้ประกอบการบ่อยๆว่าทำไมขายดีแต่ไม่เห็นมีเงินเหลือเลย ส่วนใหญ่ก็เพราะเงินที่กำไรจะไปจมอยู่ที่สินค้าคงเหลือนั่นเอง มีผู้ประกอบการรายหนึ่งที่ผลิตเครื่องหนังส่งออกไปต่างประเทศ กิจการมียอดขายประมาณปีละ 80 ล้านบาท เจ้าของกิจการมีความสงสัยอย่างมากว่าขายก็ดี ราคาขายก็มีกำไร แต่ทำไมไม่มีเงินทุนหมุนเวียนเหลือเลย ต้องนำเงินส่วนตัวมาช่วยในการหมุนเวียนอยู่เสมอ เมื่อทาง BSC ได้เข้าไปให้คำปรึกษาและเยี่ยมชมโรงงานก็ได้ไปเห็นคลังสินค้าที่เต็มไปด้วยวัตถุดิบที่เป็นทั้งหนังแท้และหนังเทียม รวมทั้งยังไปพบสต๊อกกล่องกระดาษที่เป็นบรรจุภัณฑ์จำนวนมาก เก็บไว้เต็มโกดังที่เก็บ เมื่อมาดูจำนวนยอดเงินของสินค้าคงคลังพบว่ามีสต๊อกสินค้าคงคลังสูงถึง 50 ล้านบาท เมื่อมาสำรวจวัตถุดิบที่เป็นหนังพบว่ามีหนังที่เสื่อมสภาพและหมดอายุไปเกินครึ่งของสต๊อก ซึ่งแสดงว่าเงินที่ได้กำไรมาก็อยู่ในสินค้าคงคลังเหล่านี้เองและกิจการก็มีการเก็บสต๊อกนานเกิน 6 เดือน หากเจ้าของกิจการไม่มีเงินส่วนตัวมาช่วยในการลงทุนและจำเป็นต้องไปกู้เงินมา ใข้ก็ยิ่งทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้และอาจทำให้ประสบปัญหาขาดทุนได้จากสินค้าคงเหลือที่หมดอายุเหล่านี้
การบริหารสินค้าคงเหลือให้เหมาะสมกับกิจการได้ มีแนวทางการจัดการดังนี้
กำหนดปริมาณสินค้าคงคลังที่เหมาะสมกับกิจการ (กำหนด Safety stock) ด้วยการจดบันทึกสินค้าเข้า-ออก ในคลัง โดยรวบรวมการเบิกจ่ายในอดีต ดูยอดขาย เพื่อให้มีสต๊อกเพียงพอตรงตามความต้องการของผู้บริโภคทั้งในด้านแบบ สี และขนาด โดยเก็บข้อมูลว่ารายการสินค้าใดขายดี สินค้าใดขายไม่ดี วัตถุดิบประเภทใดควรสั่งซื้อเพิ่ม หรือสินค้าสำเร็จรูปประเภทใดควรลดราคาล้างสต็อก หรือควรตัดสต็อก เพราะเสื่อมคุณภาพและล้าสมัยแล้ว
มีการวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบที่ดี โดยหาค่าปริมาณการสั่งซื้อที่มีต้นทุนต่ำที่สุด โดยหาค่าEconomic Order Quantity หรือเรียกสั้นๆว่า EOQ เป็นวิธีที่แพร่หลายและใช้กันมานานเพราะเป็นการคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่ทำให้ประหยัดทั้งต้นทุนในการสั่งซื้อ และต้นทุนในการเก็บรักษา และบอกถึงปริมาณที่ควรสั่งซื้อจำนวนเท่าใดจึงจะประหยัดที่สุด
หาจุดสั่งซื้อ (reorder point) คือจุดที่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบหรือสินค้าใหม่ และเป็นจุดที่ใช้เตือนสำหรับการสั่งซื้อในรอบถัดไป = ระยะเวลาของ lead time (วัน) X จำนวนสินค้าต่อวัน+ ปริมาณสต๊อกที่กันไว้เผื่อ (safety stock)
เจรจาต่อรองขอส่วนลดเมื่อซื้อปริมาณวัตถุดิบจำนวนมาก ผู้ประกอบการที่ใช้วัตถุดิบใดอย่างสม่ำเสมอและทราบปริมาณการใช้ที่แน่นอน ควรเจรจากับผู้ขายโดยตกลงเป็นตัวเลขของปริมาณการใช้วัตถุดิบนี้ทั้งปี แต่ให้ผู้ขายทยอยส่งของให้ทุกเดือนโดยทำสัญญาเป็นรายปีเพื่อได้ส่วนลดมากขึ้น กรณีแบบนี้ธุรกิจขนาดเล็กมักไม่กล้าเจรจา ทาง BSC เคยแนะนำผู้ขายกาแฟสดรายหนึ่งที่มีสาขาหลายแห่ง ได้แนะนำให้ไปเจรจาและทำสัญญาซื้อนมสด นมข้นหวานเป็นรายปี ผู้ประกอบการรายนี้ได้ไปเจรจาและได้ส่วนลดมากกว่าเดิมถึงร้อยละ 5 ของราคาเดิมทำให้มีกำไรมากขึ้น
บริหารจัดการสินค้าคงคลังไม่ให้มี Dead stock เพื่อให้วัตถุดิบไม่เสื่อมสภาพและล้าสมัย
มีการตรวจนับสินค้าคงคลังอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยควรตรวจทุกรายการปีละ 1 ครั้งและสุ่มตรวจบางรายการทุกเดือนเพื่อให้ทราบว่าสินค้าคงคลังที่บันทึกในบัญชีไว้ตรงกับสินค้าคงคลังที่เก็บไว้ในโกดังหรือไม่ และเพื่อป้องกันการรั่วไหลหรือฉ้อโกงจากพนักงานของกิจการด้วย นอกจากนั้นการตรวจนับจะช่วยให้พนักงานที่ดูแลต้องเอาใจใส่ในการเก็บรักษาด้วย
จัดสถานที่เหมาะสมในการเก็บสินค้าคงคลัง
มีเอกสารการเบิกจ่ายสินค้าคงคลัง เพื่อควบคุมการซื้อและเบิกจ่ายสินค้าคงคลังได้โดยออกแบบให้มีช่องอนุมัติให้เบิกสินค้าคงเหลือได้เพื่อควบคุมการรั่วไหล
นำระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมสต๊อก ในกรณีที่เป็นธุรกิจขนาดกลางซึ่งมียอดขายสูง มีการผลิตสินค้าหลายแบบ และมีรายการที่เป็นวัตถุดิบจำนวนมาก เพื่อใช้ควบคุมและนำมาบริหารงานให้ดีขึ้น
ที่มา https://www.dip.go.th/th/category/2020-05-23-10-39-13/2020-05-23-11-48-43
ห่วงโซ่คุณค่าในการตลาด (Value Chain)
การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Analysis)
Michael E. Porter ได้เสนอแนะแนวคิดเกี่ยวกับ การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Analysis, Michael E. Porter, 1985) ว่าความสามารถในการแข่งขันขององค์กร จะเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมภายในองค์กรเอง การจัดการกิจกรรมที่ดีจะสามารถช่วยลดต้นทุนให้แก่องค์กร เพื่อใช้กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำในด้านราคา (Cost Leadership) หรือช่วยในการสร้างความแตกต่างในสินค้าและบริการ (Differentiation) จึงควรจะต้องทำการวิเคราะห์ถึงกิจกรรมหาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรม เพื่อศึกษาหาความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กร
ห่วงโซ่คุณค่าในการตลาด (Value Chain) เป็นแนวคิดการทำความเข้าใจถ
1. กิจกรรมหลัก (Primary Activities) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกั
1.1 Inbound Logistics (การขนส่งขาเข้า) เป็นการจัดหาและนำวัตถุดิบปัจจัยการผลิตเข้าสู่กิจกรรมการผลิต การจัดเก็บรักษา และการจัดการในการจัดการเกี่ยวกับวัสดุ การคลังสินค้า ระบบการควบคุมสินค้าคงเหลือ กำหนดตารางการเคลื่อนย้าย และการรับคืน
1.2 Operations (การปฏิบัติการ) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการ
1.3 Outbound Logistics (การขนส่งขาออก) เป็นการจัดส่งผลิตภัณฑ์สุดท้ายหรือสินค้าสำเร็จรูปออกสู่ตลาด
1.4 Marketing and Sales (การตลาดและการขาย) เป็นกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการตลาดและการขายสินค้า ประกอบด้วย ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Product Mix), การตั้งราคา (Pricing), การส่งเสริมการตลาด (Promotions) และช่องทางจัดจำหน่าย (Channel of Distributions) โดยมุ่งที่ส่วนของตลาด
1.5 Services (การบริการ) การให้บริการลูกค้า ถือว่าเป็นกิจกรรมสร้างคุณค่าของธุรกิจ ความจำเป็นในการบริการ โดยพยายามให้การบริการที่เหนือกว่าแก่ลูกค้าซึ่งเป็นจุดแข็งขององค์กร
2. กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities) เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริม
2.1 Firm Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร) ประกอบด้วยกิจกรรม เช่น การเงิน การบัญชี กฎหมาย รัฐบาล ระบบสารสนเทศ และการจัดการทั่วไป กิจกรรมเหล่านี้สนับสนุนเครือข่ายในการสร้างคุณค่า และเป็นจุดเริ่มต้นที่มีกันในทุกระดับภายในองค์กร ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกิจกรรมโครงสร้างพื้นฐานจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
2.2 Human Resource Management (การบริหารทรัพยากรมนุษย์) ประกอบด้วยกิจกรรม การสรรหา คัดเลือก ฝึกอบรม พัฒนา และกำหนดค่าตอบแทนทุกระดับของพนักงาน อิทธิพลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีในทุกกิจกรรม ผู้บริหารส่วนใหญ่รู้สึกเป็นภาระในการจัดหาบริการให้พนักงานทั้งขณะทำงานและเมื่อเกษียณแล้ว แม้ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงานเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างคุณค่าและลดต้นทุนการรักษาพนักงาน จะต้องมีการตอบสนองที่รวดเร็วโดยเพิ่มประสิทธิภาพคุณภาพผลผลิตและความพึงพอใจในงานของพนักงาน
2.3 Technology Development (การพัฒนาเทคโนโลยี) กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเท
2.4 Procurement (การจัดการทรัพยากร) หมายถึงหน้าที่ในการจัดหาเพื่อใช้ในการผลิต การสร้างคุณค่าในธุรกิจประกอบด้วยวัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลือง และปัจจัยการผลิตอื่นๆ ซึ่งใช้ในกระบวนการผลิต ตลอดจนอุปสงค์ เครื่องจักร อาคาร ฯลฯ
จากรูปจะเห็นว่า กิจกรรมหลักจะทำงานประสานงานกันได้ดีจน
----------------------------------------
sc องค์ประกอบการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพ ในการจัดการกระบวนการจัดซื้อขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นมีองค์ประกอบสำคัญที่ควรพิจารณา ดังนี้
- ผู้บริหารให้ความสนับสนุนโดยกำหนดนโยบายการจัดซื้อที่ชัดเจน ตลอดจนการให้ความสำคัญต่อฝ่ายจัดซื้อว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญหน่วยงานหนึ่งขององค์กรในการดำเนินธุรกิจ
- สนับสนุนให้มีการพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ การเพิ่มพูนทักษะและความชำนาญให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดซื้อเป็นอย่างดี ตลอดจนการจัดหาบุคลากรในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ
- วางรูปแบบกระบวนการจัดซื้อที่เป็นระบบ มีการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน การจัดทำคู่มือและรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดซื้อที่เข้าใจง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนและลดขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการจัดซื้อเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและคล่องตัว
- ส่งเสริมให้มีการรักษาจรรยาบรรณการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด และศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรค จุดอ่อนในการจัดซื้อเพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น
- ทำการสำรวจแหล่งวัตถุดิบหรือสินค้าใหม่ ๆ อยู่เสมอ มีการจัดทำฐานข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการจัดซื้ออยู่ตลอดเวลา
- มีการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดซื้ออย่างสม่ำเสมอ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ส่งเสริมการทำงานร่วมกันในลักษณะทีมงาน
- จัดให้มีการสัมมนาและฝึกอบรม การให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการจัดซื้อในรูปแบบใหม่ให้กับพนักงานภายในหน่วยงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อ ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือการจัดซื้อ
- เสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานจัดซื้อกับหน่วยงานภายนอกองค์กร ที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ โดยยึดหลักผลประโยชน์และความร่วมมือระหว่างกัน
--------------------------------------------------------
องค์ประกอบของ การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
องค์ประกอบของ การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
องค์ประกอบของโซ่อุปทานคือ ระบบของกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำงานประสานกันโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ - จัดหา การผลิต การเคลื่อนย้าย การขนส่ง การจัดเก็บ การจัดจำหน่ายการขาย รวมถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสนับสนุนกระบวนการต่างๆ ให้สามารถดำเนินการประสานกันได้อย่างคล่องตัว
องค์ประกอบของโซ่อุปทานประกอบด้วย
- Upstream Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่กระบวนการของผู้ผลิต ประกอบด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดหาโดยมีผู้เกี่ยวข้องหลัก คือ ซัพพลายเออร์ (Supplier)
- Internal Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานภายในของกระบวนการผลิต ประกอบด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยน Input ให้เป็นผลิตภัณฑ์และบริการ Output โดยมีผู้เกี่ยวข้องหลัก คือผู้ผลิต (Manufacturer)
- Downstream Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่กระบวนการของลูกค้าประกอบด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดส่ง ขนส่ง สินค้าไปสู่มือผู้บริโภค
การไหลเวียนในระบบโซ่อุปทาน
ในระบบของโซ่อุปทานจะเกิดการไหลเวียนในกระบวนการของธุรกิจ ประกอบด้วย 4 ระบบหลักที่สำคัญ ดังนี้
- วัตถุดิบ (Raw Material) จาก Suppliers ผ่านกระบวนการผลิตต่างๆ จนอาจกลายเป็นวัตถุดิบใหม่หรือสินค้าและบริการ ส่งถึงมือลูกค้า ซึ่งจะเป็นลักษณะของการไหลของผลิตภัณฑ์ (Product Flow)
- ชิ้นส่วนต่าง ๆ ไหลเวียนกลับไปยัง Supplier เช่น การนำส่วนประกอบบางอย่างกลับมาใช้ใหม่ (Reverse Product Flow) เป็นต้น
- เงิน (Cash) กระบวนการไหลจากลูกค้าผ่านกระบวนการต่างๆ โดยเงินบางส่วนถูกหักไว้เป็นค่าดำเนินการของบริษัท จนถึง Supplier ซึ่งเรียกว่า Cash Flow
- สารสนเทศ (Information) จะกระจายอยู่ในทุก ๆ กระบวนการ ทั้งนี้ระบบสารสนเทศมีส่วนสำคัญที่ทำให้สามารถมองเห็น (Visibility) ภาพรวมของระบบได้ทั้งหมดซึ่งจะเรียกว่า Information Flow
------------------------------------------------------------------
sc องค์ประกอบของโซ่อุปทาน (Supply Chain Components)
sc องค์ประกอบของโซ่อุปทาน (Supply Chain Components) คือ ระบบของกระบวนการต่าง ๆ ที่ทำงานประสานกันโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ - จัดหา การผลิต การเคลื่อนย้าย การขนส่ง การจัดเก็บ การจัดจำหน่ายการขาย รวมถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสนับสนุนกระบวนการต่างๆ ให้สามารถดำเนินการประสานกันได้อย่างคล่องตัว
รูปกระบวนการโซ่อุปทาน
องค์ประกอบของโซ่อุปทานประกอบด้วย
- Upstream Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่กระบวนการของผู้ผลิต ประกอบด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดหาโดยมีผู้เกี่ยวข้องหลักคือ ซัพพลายเออร์ (Supplier)
- Internal Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานภายในของกระบวนการผลิต ประกอบด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยน Input ให้เป็นผลิตภัณฑ์และบริการ Output โดยมีผู้เกี่ยวข้องหลัก คือผู้ผลิต (Manufacturer)
- Downstream Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่กระบวนการของลูกค้าประกอบด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดส่ง ขนส่ง สินค้าไปสู่มือผู้บริโภค
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward