iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
WIM ระยะเวลาถือครองสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover) หรืออัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ
ระยะเวลาถือครองสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover) คือ คำที่มักใช้เรียกในงานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน แต่ในบางครั้งเราจะพบคำนี้ในงานด้านการตลาดหรือในงานตลาดหลักทรัพย์ โดยอาจเรียกว่า อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ เป็นการวัด อัตราส่วนระหว่างต้นทุนขายกับมุลค่าสินค้าคงเหลือ แสดงถึงจำนวนครั้งที่สามารถขายสินค้าคงเหลือออกไปได้ในรอบระยะเวลาบัญชี ระยะเวลาถือครองสินค้าคงคลังจะแสดงถึง จำนวนรอบที่องค์กรสามารถหมุนเวียนขายสินค้าออกไปได้ในแต่ละระยะเวลาหนึ่งรอบ ส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลารอบ 1 ปีในการคิดคำนวณ การคำนวณจะใช้แนวคิด คือ
สูตรอัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) = ต้นทุนสินค้าขาย (COGS) / มูลค่าสินค้าคงเหลือเฉลี่ย (Avg. Inventory)
สูตรสินค้าคงเหลือเฉลี่ย (Avg. Inventory) = (สินค้าคงเหลือต้นงวด + สินค้าคงเหลือปลายงวด) / 2
- โดยที่สินค้าคงเหลือเฉลี่ยหากเอามาจาก balance sheet ให้ใช้ค่าเฉลี่ย (ต้นปี+ปลายปีหารสอง) เพราะค่าที่แสดงนั้นเป็นค่าเมื่อสิ้นปีเท่านั้น (สามารถดูได้จากบัญชีงบดุล)
- ถ้าค่าไหนเอามาจาก income statement ให้ใช้ค่านั้นเลย เพราะค่าที่แสดงนั้นเฉลี่ยครอบคลุมทั้งปีอยู่แล้ว
- ค่าเฉลี่ยมักจะใช้เพื่อปรับข้อมูลให้มีความเป็นสถิติมากขึ้น ดีสำหรับการวิเคราะห์งบที่อาจจะมีข้อมูลไม่ลึก แต่ถ้าใช้ข้อมูลในเวลานั้นวิเคราะห์ไม่ใช้ค่าเฉลี่ย จะได้ตัวเลขที่เอามาดูในเชิงลึกอีกทีว่าที่เพิ่มหรือลดเกิดจากอะไรเช่น มีการทำโปรโมชั่นสินค้าขายดี สต๊อคมากเพราะพึ่งจะมีการนำเข้าสินค้าจากเมืองนอกที่ใช้เวลารอยาวนาน หรือเป็นช่วงฤดูกาลที่ต้องสต็อคของไว้เยอะ เป็นต้น
ต้นทุนของสินค้า (Cost of Goods Sold) การบันทึกข้อมูลต้นทุนของสินค้า จะเป็นงานของฝ่ายบัญชี ซึ่งต้องแสดงให้เห็นถึงต้นทุนที่ถูกต้อง เพื่อไปหาส่วนต่างกำไรในการขาย และใช้ในการประเมิณในสินทรัพย์มูลค่าสินค้าคงเหลือ ต้นทุนของสินค้าจะต้องรวมค่าใช้จ่ายที่มีทั้งหมดจนกระทั่งได้มาของสินค้าและพร้อมที่จะขายด้วย มีหลายวิธีเช่น
1. การคิดต้นทุนของสินค้าจาก มูลค่าการซื้อสินค้า + ราคาวัตถุดิบ
2. ค่าใช้จ่ายที่ทำให้ได้มาชึ่งสินค้า เช่น ค่าบริหารจัดการ ค่าขนส่ง ค่าภาษีอากร ค่าเบี้ยประกันสินค้า ซึ่งแล้วแต่เงื่อนไขการในการได้มาซึ่งสินค้า
3. มุลค่าราคาส่่วนลดต่างๆ เช่น ส่วนลดสินค้าจะต้องถูกนำมารวมอยู่ในราคาสินค้า สำหรับส่วนลดเงินสด นั้นควรจะบันทึกแยกเพื่อให้ได้ต้นทุนที่แท้จริง
4. ต้นทุนแปลงสภาพ ให้พร้อมขายหรือเป็นสินค้าสำเร็จรูป
5. อื่นๆ
วิธีการตึราคามูลค่าสินค้าคงเหลือ
1. วิธีราคาทุน เป็นการตีราคาสินค้าตามราคาที่ได้มาหรือที่ซื้อมา
2. วิธีต้นทุนมาตรฐาน ใช้บัญชีมาตรฐาน (Standard cost) กับกิจการที่มีแผนการผลิตล่วงหน้า
3. วิธีการประมาณมูลค่าสินค้าคงเหลือ จากข้อมูลในงบดุลประจำปี
บางครั้งอาจมีการจัดเก็บและคำนวณข้อมูลหลายแบบร่วมกัน แล้วนำมาเปรียบเทียบร่วมกันเพื่อหาข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อใช้งาน เพราะในแต่ละวิธีจะให้มูลค่าการคำนวณที่ต่างกัน ในกรณีที่ต้องการเปรียบเทียบค่าระหว่างองค์กร ควรสอบถามและใช้หน่วยในวิธีประเมินมูลค่าที่เหมือนกัน หากมีความต่างกันควรต้องทำการปรับหน่วยค่าให้ตรงกันก่อนนำมาใช้เปรียบเทียบ
ระยะเวลาถือครองสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover) จะบอกถึง
- หากมีระยะเวลาถือครองสินค้าคงคลัง สูง หมายความว่ากิจการสามารถขายสินค้าได้ดี มีการหมุนเวียนสินค้าและสภาพการหมุนเวียนของเงินดี
- หากมีระยะเวลาถือครองสินค้าคงคลัง ต่ำ หมายความว่ากิจการไม่สามารถขายสินค้าได้ ไม่มีการหมุนเวียนสินค้า และสภาพการหมุนเวียนของเงินไม่ดี
- หากมีระยะเวลาถือครองสินค้าคงคลัง สูงเกินไป บางครั้งก็อาจเป็นข้อเสียได้เนื่องจากจะเกิดปัญหา มีสินค้าคงเหลือในคลังน้อยเกินไป จนอาจมีสินค้าไม่พอขายหรือไม่พอส่งให้ลูกค้า ทำให้อาจต้องสูญเสียลูกค้าไปได้ในอนาคต
- ในช่วงที่กิจการมีโปรโมชั่น ค่าอัตราส่วนการหมุนเวียนของสินค้า จะดูดีมาก แต่เงินกำไรที่ได้อาจจะไม่เพิ่มมากนัก ทำให้นักวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินอาจจะอ่านงบการเงินผิดไปได้
- ค่าระยะเวลาถือครองสินค้าคงคลังจะบอกว่า สินค้าของเรานั้นเป็นที่ต้องการของตลาดมากน้อยเพียงใด หากค่านี้ต่ำแสดงว่าสินค้านั้นขายหรือจำหน่ายออกไปยาก เกิดเป็นสต๊อกสินค้าจำนวนมาก
- ค่าระยะเวลาถือครองสินค้าคคลัง ต่ำ แสดงว่าสินค้านี้ขายหรือจำหน่ายออกไปได้คล่อง สินค้าเป็นที่ต้องการสูง ไม่ต้องสต๊อกสินค้ามากเพื่อยอดขาย
- ค่านี้มีความสำคัญมากเหมือนกันค่ะ กับธุรกิจที่มี margin หรือกำไรน้อย เนื่องจาก สมมุติท่านขายนำ้มันเชื้อเพลิง และต้องการกู้ยืมธนาคาร ค่าอัตราส่วนการหมุนของสินค้า นี้ จะต้องสูง
- สำหรับธุรกิจที่ต้องการกำไรขั้นต้น 20-30 % การพิจารณาถึงรอบการหมุนที่ช่วยส่งเสริมวัตถุประสงค์ดังกล่าว ควรอยู่ที่ 5-6 หรือมากกว่านั้น เพราะแสดงว่าธุรกิจเรา มีความสามารถในการกระจายสินค้าและถ่ายเทสินค้าไปสู่ลูกค้าได้รวดเร็ว เป็นการลดภาระค่าใช้จ่าย ในการถือคลองสินค้าลง
- ควรจะต้องมีการบริหารสินค้าคงคลังที่มีไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
วัสดุคงคลังที่เก็บสำรองเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock)
วัสดุคงคลังเพื่อความปลอดภัย (Safety stock) เป็นวัสดุคงคลังที่ต้องสำรองไว้กันวัสดุหรือสินค้าขาดเมื่อวัสดุหรือสินค้าถูกใช้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ วัสดุคงคลังที่เก็บสำรองไว้ โดยปริมาณของ Safety stock จะมากหรือน้อย จะขึ้นกับความไม่แน่นอนของปริมาณความต้องการ ถ้าปริมาณความต้องการวัสดุหรือสินค้าในแต่ละช่วงเวลา ไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างแน่นอน อาจจำเป็นที่จะต้องเก็บ Safety stock ในปริมาณมากขึ้น
การกำหนดปริมาณ Safety Stock
- ความถูกต้องในการพยากรณ์ (Forecast Accuracy) ถ้าความถูกต้องในการพยากรณ์มากจะช่วยให้ปริมาณ Safety Stock น้อยลง
- เป้าหมายการบริการลูกค้า (Target service Level) ถ้าเราตั้งเป้าหมายในการบริการลูกค้าไว้สูง เราจะต้องเก็บ Safety Stock ในปริมาณมากขึ้น
- ความถี่ในการเติมเต็ม (Replenishment Frequency) ถ้าเราสามารถเติมเต็มวัสดุคงคลังได้บ่อยและรวดเร็ว เราจะสามารถลดปริมาณ Safety Stock ลงได้ เนื่องจากเรามีโอกาสที่จะสั่งวัสดุหรือสินค้ามาเพิ่มได้ถี่ขึ้น
- ระยะเวลานับตั้งแต่ออกใบสั่งซื้อวัตถุดิบจนกระทั่งได้รับวัตถุดิบจากผู้ขายและความแปรปรวนของเวลานำ (Lead time & Its’ variability) ถ้าเวลานำในการเติมเต็มวัสดุคงคลังลดลง เราสามารถลดปริมาณ Safety Stock ลงได้ เนื่องจากเราสามารถสั่งวัสดุหรือสินค้ามาเพิ่มได้โดยใช้เวลาไม่นาน นอกจากนี้ถ้าเวลานามีความแน่นอนหรือมีความแปรปรวนต่า จานวน Safety Stock เราอาจไม่ต้องเก็บ Safety Stock
การกำหนดปริมาณ Safety Stock
ถ้าต้องการเพิ่มระดับการให้บริการในงานคลัง (Service Level) ปริมาณวัสดุคงคลังที่เราจะต้องเก็บก็จะต้องมีเพิ่มมากไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราต้องการเพิ่ม Service Level ให้สูงใกล้ 100 % เราก็จะต้องเพิ่มปริมาณวัสดุคงคลังเป็นจำนวนมาก
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
หน้าที่ของสินค้าคงคลัง (Functions of Inventories) จําแนกออกตามหน้าที่ได้เป็น
- วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบส่งผาน (Transit Inventories) หรือวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังในท่อ (Pipeline Inventory) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่กำงอยู่ในระหว่างการเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
- วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังไว้ป้องกัน (Buffer Inventories) หรืออีกชื่อคือ วัตถุดิบในระดับปลอดภัย (Safety Stock) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่ธุรกิจเก็บไว้เพื่อป้องกันความไม่แน่นอนของปริมาณสินค้าและความต้องการ โดยวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังจะมีระดับใช้เป็นกันชน (Cushion) เพื่อให้การดําเนินงานมีความราบรื่นและต่อเนื่อง โดยป้องกันปัญหาสินค้าขาดมือ (Stock out) และการสั่งซื้อกลับ (Backorder)
- วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบล่วงหน้า (Anticipation Inventories) เป็นวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่จัดเก็บเพื่อป้องกันความเสี่ยงของสถานการณ์ เช่น การขึ้นราคา การนัดหยุดงาน การเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ หรือความผันผวนของสภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินงานมีความคงที่ ไม่ขาดตอน หรือต้องเร่งกำลังการผลิต เช่น ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก และห้างสรรพสินค้า ต่างก็จะพยายามจะเก็บวัสดุหรือวัตถุดิบล่วงหน้าในช่วงเทศกาล เป็นต้น
- วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบคู่ควบ (Decoupling Inventories) เป็นระบบวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลัง ที่ช่วยให้การหมุนเวียนของวัสดุหรือวัตถุดิบและกระบวนการผลิตดําเนินไปอย่างราบรื่นในอัตราคงที่
- วัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบวงจร (Cycle Inventories) หรือวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่สั่งซื้อ (Lot-size Inventory) เป็นปริมาณวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังที่สั่งซื้อในรอบระยะเวลา เพื่อให้ต้นทุนการสั่งซื้อและการจัดเก็บวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังตํ่าที่สุด โดยวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังแบบวงจรเป็นเครื่องมือสําคัญในการบริหารระบบวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังธุรกิจ ในทางปฏิบัติธุรกิจต่าง ๆ คงมิได้แยกเก็บวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังตามหน้าที่อย่างชัดเจนตามที่กล่าวมา และหลายธุรกิจก็ไม่จําเป็นที่จะต้องมีวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังในทุกหน้าที่ แต่เพื่อให้สามารถทําความเข้าใจถึงความแตกต่างของวัสดุหรือวัตถุดิบคงคลังเพื่อใช้ในระบบการ วางแผนจัดการวัสดุหรือวัตถุดิบในเชิงรุก
- การมีวัสดุคงคลังเพื่อเก็บไว้ใช้ในกรณีพิเศษต่าง ๆ (Anticipation Inventory) ที่จะเกิดขึ้นตามแผนการดำเนินงานทั้งกรณีที่คาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นจากปกติ เช่น planned sales promotion programs, seasonal fluctuations และกรณีที่วัสดุหรือสินค้านั้นอาจขาดแคลนชั่วคราว เช่น plant shutdowns
- การมีวัสดุคงคลังเพื่อเก็บไว้สำรอง (Fluctuation Inventory) ในกรณีที่ความต้องการของลูกค้าหรือการจัดส่งวัสดุหรือสินค้าจะ Supplier มีความไม่แน่นอน
- การมีวัสดุคงคลังเนื่องจากกรผลิตหรือสั่งซื้อแบบเต็ม Lot (Lot size Inventory) เพื่อรักษาการผลิตให้มีอัตราคงที่หรือเพื่อให้ได้ส่วนลดปริมาณจากการจัดซื้อจานวนมากต่อครั้ง
- การมีวัสดุคงคลังไว้เพื่อเก็งกำไรในอนาคต (Hedging Inventory)
การจัดการสินค้าคงคลัง มีความสําคัญหลายประการ
1. เพิ่มความสามารถในการทํากำไรของกิจการจากการจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ โดยการจัดให้มีระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสมไม่มากเกินไปจนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาหรือมีต้นทุนจมในสินค้าคงคลังนั้น และไม่มีสินค้าคงคลังน้อยเกินไปจนเกิดการขาดแคลนทําให้สูญเสียโอกาสในการขายหรือสูญเสียลูกค้าไปให้คู่แข่งขัน
2. การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า สินค้าคงคลังของกิจการจะทําให้กิจการสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันที ในเวลาที่ลูกค้าต้องการ สามารถส่งมอบสินค้าได้ตรงเวลา ซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
3. การเพิ่มประสิทธิภาพของการบวนการผลิต โดยสินค้าคงคลังที่เป็นวัตถุดิบจะช่วยให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ในกระบนการผลิตหากมีขั้นตอนหนึ่งหรือ เครื่องจักรใดเครื่องจักรหนึ่งเกิดเสีย การมีสินค้าคงคลังระหว่างการผลิตจะช่วยให้การผลิตไม่ต้องหยุดชะงัก สามารถดําเนินการผลิตได้อยางต่อเนื่องกันไป
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward